เสนอ10แผนปฏิรูปยุติธรรมไทย ปปช.เช็คคืบหน้าคดีได้

เสนอ10แผนปฏิรูปยุติธรรมไทย ปปช.เช็คคืบหน้าคดีได้

คกก.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เสนอ10แผนปฏิรูป เน้นลดความเหลื่อมล้ำ ปปช.เช็คความคืบหน้าคดีได้ เชื่อถ้าทำได้ใน5ปี กระบวนการยุติธรรมไทยทัดเทียมโลกแน่นอน

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม จัดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อทำแผนปฏิรูป โดยนายอัชพร จารุจินดา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมาบุคลากรด้านกระบวนการยุติธรรมมีไม่พอ อีกทั้งการดำเนินงานก็ล่าช้า รวมถึงปัญหาที่ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ค่อยสะดวก หรือเกิดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินการ นำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมไทย โดยตลอดเวลาที่ผ่านมามีความพยายามปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมตลอด แต่ก็มีอุปสรรคไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ บางครั้งก็เกิความขัดแย้งระหว่างองค์กรยุติธรรม แต่วันนี้รัฐธรรมนญ 60 ได้กำหนดให้ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องปฏิรูปด้วย

นายอัชพร กล่าวต่อไปว่า ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาคณะกรรมการฯได้รวบรวมความเห็น และจัดทำแผน แผนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมมี 10 แผน แผนที่ 1 คือกำหนดให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ต้องมีระยะเวลา ในการดำเนินงาน แต่ละขั้นตอน และสร้างระบบให้ประชาชนสามารถตรวจสอบความคืบหน้าของคดีได้ แผนที่ 2 คือสร้างกลไกช่วยเหลือประชาชน ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยสะดวก เช่น ให้หน่วยงานในกระบวนยุติธรรมต้องแจ้งสิทธิตามกฎหมายให้ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยทราบ เป็นต้น รวมถึงปฏิรูปกระบวนการวิธิพิจารณาความแพ่งเพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม แผนปฏิรูปที่ 3 การสร้างกลไกให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการปรับปรุงโทษปรับในคดีอาญา โดยให้นำระบบโทษปรับตามความสามารถของผู้กระทำผิด เพื่อลดข้อกล่าวว่าคนรวยจ่ายเงินแล้วจบคดีได้

นายอัชพรกล่าวอีกว่า แผนที่ 4 คือการสร้างกลไกการบังคับตามกฎหมาย เพื่อสร้างความปลอดภัยและความเป็นธรรมในสังคม อย่างการกำหนดนโยบาย การใช้กฎหมายยาเสพติดให้เห็นชัด รวมถึงกำหนดให้การลด การกระทำความผิดซ้ำ เป็นหนึ่งในเป้าหมายในการดำเนินงาน เป็นต้น แผนที่ 5 คือการปรับปรุงระบบการสอบสวนให้มีการตรวจสอบถ่วงดุล ระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม แผนที่ 6 กำหนกระยะเวลาในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวนทุกฝ่ายให้ชักเจน แผนที่ 7 สร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา

นายอัชพร กล่าวต่ออีกว่าแผนที่ 8 ปฏิรูประบบนิติวิทยาศาสตร์ เช่นการ ทำให้มีกฎหมายบริหารจัดการระบิบนิติวิทยาศาสตร์ และการึกอบรมความสามารถของพนักงานสอบสวน ให้มีความรู้ด้านนี้เบื้องต้ เพื่อการรักษาสถานที่เกิดเหตุ หรือสามารถเก็บหลักฐานได้ทันทีหากมีความจำเป็น แผนปฏิรูปที่ 9 เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ให้มุ่งอำนาวยความสะดวกให้ประชาชนโดยเร็ว และแผนที่ 10 คือการพัฒนาศักยภาพของกระบวนการยุติธรรมไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
“แผนปฏิรูปดังกล่าวเป็นเพียงหลักเบื้องต้นเท่านั้น ผมเชื่อว่าใน 5 ปีข้างหน้าถ้าสำเร็จทุกแผน กระบวนการยุติธรรมไทย จะทัดเทียมมาตราฐานสากล และมีศักยภาพแข่งขันกับนานาชาติได้ ซึ่งเรากำลังรับฟังความคิดเห็น โดยจะส่งต่อให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง (ปยป.) พิจารณากันอีกรอบในกรอบเวลา 30 วัน ก่อนจะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบต่อไป” ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม กล่าว