KTC - ซื้อ

KTC - ซื้อ

สินเชื่อโตแข็งแกร่ง ต้นทุนระยะยาวลด

ประเด็นการลงทุน

เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ KTC ขึ้น 5% สำหรับปี 2560 มาอยู่ที่ 3.45 พันล้านบาท การปรับกำไรเพิ่มเป็นผลมาจาก นโยบายที่เปลี่ยนแปลงจากซึ่งเดิมมุ่งเน้นคุณภาพสินเชื่อเป็นการให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางอิเลคโทนนิคเช่นมือถือกอปรกับทำแคมเปญการตลาดที่มากขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นการบริโภคคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวในปีหน้าส่งผลให้เราปรับสมมติฐานการปล่อยสินเชื่อสำหรับปี 2561 เพิ่มขึ้นจาก6.5% เป็น 10% (การเติบโตของสินเชื่อและคาดการณ์กำไรปี 2560 ยังคงเดิม) การปรับเพิ่มประมาณการกำไรส่งผลให้เราปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 ขึ้น 14% มาอยู่ที่ 183 บาท อ้างอิงจากค่า PBV ที่ 3.2 เท่า(ROE อยู่ที่ 23.5% Ke 10.75% และ การเติบโตของกลุ่ม 5%) เราจึง คงคำแนะนำ ซื้อ

สินเชื่อโตดี แม้ว่าธปท.จะออกกฎเกณฑ์ใหม่

ณ สิ้นเดือน ก.ย. สินเชื่อรวมของ KTC อยู่ที่ 6.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น10% YoY เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทคาดซึ่งหนุนโดยแคมเปญทางการตลาดเชิงรุก ทาง KTC หันมาให้ความสำคัญแก่การสมัครบัตรเครดิตใหม่ และสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน เพื่อลดความเสี่ยงตามกฏเกณใหม่ของ ธปท. ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ในการกำหนดควบคุมการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับผู้สมัครที่มี เงินเดือนตำกว่า 5 หมื่นบาท เรายังคงสมมติฐานการเติบโตของสินเชื่อปี 2560 ที่ 8.5%หากแต่ปรับเพิ่มสมมติฐานปี 2561 จากเดิม 6.5% อีก 10% (เท่ากับที่เป้าหมายของบริษัท) จากแคมเปญทางการตลาดเชิงรุกและการบริโภคที่แข็งแกร่งขึ้นปี 2561

มีอัพไซด์การปรับลดสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯในปี 2561 ...

ในปลายเดือนก.ย. KTC ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของ KTC อยู่ที่565% ของสินเชิ่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งทำให้กิจการสามารถปรับลดการสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯในช่วงไตรมาส 4/60 ถึงปี 2561 โดยบริษัทมองว่า ต่อไปการตั้งสำรองฯจะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เกิดขึ้นจริงหรือคิดเป็นการตั้งสำรองหนี้ฯ 8% ของสินเชื่อ (ตัวเลขสถิติที่เกิดขึ้นจริง) อย่างไรก็ตามเรายังคงประมาณการตั้งสำรองสุทธิของเราที่ 4 พันล้านบาท สำหรับปี 2560 และ 2561 การตั้งสำรองฯ ที่ลดลงกว่าที่เราคาดการณ์ส่งผลให้เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561 สัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม 1.5% ณ ก.ย. ต่ำกว่าเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2560 ที่ 1.7% กอปรกับเรามองว่าการบริหารสินทรัพย์คุณภาพที่ดี

มีอัพไซด์ลดค่าใช้จ่ายผ่านระบบแอปพลิเคชั่นบนอินเตอร์เนต/มือถือ

KTC ได้มีการปรับปรุงระบบอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือซึ่งมุ่งเน้นไปยังการหาลูกค้ารายใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตลาดและการจัดกิจกรรมการตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ค่าการตลาดปรับตัวลดลงเป็น 600 ล้านบาทในปีหน้า ซึ่งจากเดิมมีงบประมาณอยู่ที่ 1.2-1.3 พันล้านบาทโดยจะใช้เงินงบประมาณที่ประหยัดได้นี้ในการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ผ่านโปรแกรม (KTC reward) หรือกระตุ้นสินเชื่อให้เติบโต ปัจจุบันเราคาดอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ 48.4% ในปี 2560 และ 49.0% ในปี 2560หากแต่ถ้างบประมาณการตลาดในปี 2561 ลดลง เราคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรของเราผ่านต้นทุนต่อรายดืที่ลดลงกว่าคาด