ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศ วิจิตรงานศิลป์ ลึกล้ำความหมาย

ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศ วิจิตรงานศิลป์ ลึกล้ำความหมาย

(ภาพชุด) ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศ วิจิตรงานศิลป์ ลึกล้ำความหมาย

ภาพเขียนจิตรกรรมที่ใช้ประกอบพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นความงดงามที่เหล่าศิลปินได้ถ่ายทอดเรื่องราวพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 9 ผ่านภาพจิตกรรมเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในผลงานชิ้นเอกปิดทองคำเปลวสีทอง คงหนีไม่พ้น “ฉากบังเพลิง”

23517733_10155898040202855_5494635198918815149_n


เมื่อเข้าชมภายในนิทรรศการพระเมรุมาศ ให้ลองสังเกตตรงบุษบกองค์ประธาน จะมีเครื่องกั้นทางขึ้นลงพระเมรุมาศ ทั้ง 4 ทิศล้อมรอบพระจิตกาธาน เพื่อใช้บังลมและไม่ให้เห็นการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งภาพจิตรกรรมแต่ละฉากบังเพลิงมีความแตกต่างกัน ภายใต้คติความเชื่อตามหลักเทวนิยมที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพ ซึ่งอวตารมาจากพระนารายณ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “พระนารายณ์อวตาร 9 ปาง” โดยปางที่ 9 คือ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงประทับอยู่ในพระบรมโกศ พร้อมกลุ่มเทวดาหรือเทพชุมนุม ที่สื่อว่าเหล่าเทวดามารับเสด็จในสู่สวรรคาลัย และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 24 โครงการใน 4 หมวดหลัก

23380200_10155898040322855_8097352736124058870_n


เมื่อไล่ฉากบังเพลิงตามทิศ เริ่มจากทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศแรกเมื่อเข้าชมนิทรรศการ จะมีรายละเอียดดังนี้
ทิศเหนือ : ปางที่ 1 มัสยาอวตาร (ปลากรายทอง), ปางที่ 2 กูรมาวตาร (เต่า) และ โครงการพระราชดำริหมวดน้ำ 6 โครงการ (ฝนหลวง, ฝายต้นน้ำ อ.ดอยสะเก็ด, อ่างเก็บน้ำเขาเต่า, เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, กังหันน้ำชัยพัฒนา, เครื่องกลเติมอากาศ บำบัดน้ำเสีย)

23319396_10155898040397855_2857964202065776123_n

ทิศตะวันออก : ปางที่ 3 วราหาวตาร (หมูป่า), ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร (นรสิงห์) และ โครงการพระราชดำริหมวดดิน 6 โครงการ (ดินกรวด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้, ดินเค็ม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน, ดินทราย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนและโครงการหุบกะพง-ดอนห้วยขุน, ดินดานลูกรัง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย, ดินพรุ และ ดินเปรี้ยว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง)
ทิศใต้ : ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร (พราหมณ์ปรศุราม หรือ ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ), ปางที่ 7 รามาวตาร (พระรามในรามเกียรติ์) และ โครงการพระราชดำริหมวดไฟ 6 โครงการ (สบู่ดำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน), โรงงานผลิตไบโอดีเซล ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง, เชื้อเพลิงอัดแท่น-แกลบอัดแท่น และ ก๊าซชีวภาพ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา, พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้, กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าที่ประตูน้ำคลองลัดโพธิ์

23456346_10155898040507855_273458529074161481_o


ทิศตะวันตก : ปางที่ 8 กฤษณาวตาร (พระกฤษณะ), ปางที่ 10 กัลกยาวตาร (มนุษย์ขี่ม้าขาว) และ โครงการพระราชดำริหมวดลม 6 โครงการ (กังหันลม โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ-โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน-โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา, กังหันลมสูบน้ำ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลมตะลุมพุก, บางกระเจ้า อ.พระประแดง ปอดของกรุงเทพฯ


สำหรับด้านหลังของฉากบังเพลิงที่เรามองไม่เห็นจะเหมือนกันทุกด้าน โดยด้านบนมีพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” พร้อมดอกดาวเรืองสีเหลืองแทรกกลาง รอบข้างเป็นอุบะดอดมณฑาทิพย์ที่เชื่อว่าเป็นดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ ด้านข้างเป็นพุ่มต้นมณฑาทิพย์ทอง ด้านล่างเป็นดอกไม้มงคล
ภาพจิตรกรรมฉากบังเพลิงรอบพระเมรุมาศของรัชกาลที่ 9 ถือเป็นหนึ่งในศิลปะที่มีความงดงาม และสะท้อนเรื่องราวคติความเชื่อของพระมหากษัตริย์ไทยและพระอัจฉริยภาพผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแก่ปวงชนชาวไทยตลอดการครองราชย์