แนะรัฐสร้างโรงงานอัดก้อนยาง แก้ปัญหาตลาดกลางไม่มีโกดังเก็บ

แนะรัฐสร้างโรงงานอัดก้อนยาง แก้ปัญหาตลาดกลางไม่มีโกดังเก็บ

เกษตรกร-พ่อค้ายางพารา แนะรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างโรงอัดก้อนยาง แก้ปัญหาไม่มีโกดังเก็บ เผยสาเหตุที่ทำให้ราคาตกต่ำ

(31ตุลาคม 2560) บริเวณตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา มีชาวสวนยางและพ่อค้ารับซื้อยาง นำยางพารามาขายเป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา ไม่มีที่จะเก็บยาง จนต้องนำผ้ายางคลุมไว้ด้านนอกอาคาร และบางส่วนต้องตากแดด ตากฝน สร้างความเสียหายให้กับยางและสร้างความเดือดร้อนกับชาวสวนยาง ซึ่งสาเหตุมาจากบริษัทที่ร่วมทุนกับ การยางแห่งประเทศไทย(กยท.)มาประมูลต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดทำให้ยางล้นตลาด

นายอาคม ฉิลยะพงศ์ พ่อค้ารับซื้อยางจาก อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า ตอนนี้ที่ตลาดกลางยางจังหวัดยะลามีปัญหา คือต้องนำยางมาตากแดด ตากฝน เนื่องจากยางขายไม่ได้จึงอยากจะให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากราคายางมีปัญหาคือเรื่องราคาอยากจะให้รัฐบาลช่วยเป็นงวดๆคือ ในงวดหนึ่งรัฐบาลสามารถช่วยเหลือได้ตลอดในราคาที่เท่าไร นิ่งที่เท่าไร ให้นิ่งที่ราคานั้นตลอดชาวบ้านก็พอใจแล้ว ยางที่ตั้งอยู่ด้านนอกก็ประมาณ 2 แสนกว่ากิโลกรัม มาตั้งไว้ 5-6 วันแล้ว ต้องตากแดด ตากฝน ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ให้เจ้าของยางมาตรวจว่ายางที่ตากอยู่ด้านนอกว่ายางขึ้นราหรือไม่ ถ้ายางขึ้นราก็จะไม่ผ่าน ยางที่ไม่ขึ้นราก็ขึ้นทะเบียนได้เลย

ส่วนยางที่ขึ้นราก็ถูกแยกเป็นยางชั้น ราคาก็จะตกต่ำอีกทำให้เกิดปัญหาอีก ปกติจะนำยางมาชั้นสามทั้งหมด ราคาวันศุกร์อยู่ที่ 47 บาท ต่อกิโลกรัม ซื้อน้ำยางจากเกษตรกรราคา 48 บาท ทำให้ขาดทุน แต่ขอให้ขายยางง่ายๆก็พอ ตอนนี้ขายได้ก็ขาย จึงฝากรัฐบาลช่วยเรื่องราคา ให้นิ่งอยู่ที่ ราคา 50 บาท ต่อกิโลกรัม ก็พอใจแล้ว ตอนนี้ราคาตกลงมา 3 บาท จาก 50 บาท ตกเหลือ 47 บาท ถ้าเป็นราคาตามร้านรับซื้อยางก็จะไม่ถึง

ดนายนันตชาติ จัยห้าว ประธานเครือข่ายชาวสวนยาง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าตอนนี้ประสบปัญหาราคายางตกต่ำมาก ตกต่ำกว่าต้นทุนที่ผลิตมาก ต้นทุนยางประมาณ 62 บาท แต่มาขายได้แค่ ราคา45-46 บาท ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน ตนทำโรงรมก็ขาดทุน ในเมื่อราคายางต่ำ ก็ต้องซื้อต่ำ แต่พอซื้อราคาต่ำชาวสวนก็ได้ราคาต่ำ วันนี้มาขายยาง ตลาดกลางยะลาเพราะมีบริษัทร่วมทุนของ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)เข้ามารับซื้อในขณะที่ตลาดกลางอื่นๆ มีบริษัทร่วมทุนเข้าไปรับน้อย บริษัทร่วมทุนเข้ามาซื้อแตกต่างจากตลาดทั่วไปคือราคาสูงกว่า ตนออยู่ จ.นราศรีธรรมราช นำยางมาขายที่ จ.ยะลา ค่ารถ ค่าเดินทาง คิดแล้วแล้วก็ยังคุ้มค่า นอกจากนั้นที่สำคัญตอนนี้ตลาดกลางที่อื่นมียางล้น ไม่มีที่วาง ตลาดไม่สามารถรับซื้อได้ เลยหันมาขายที่ยะลาเพราะยางน้อยกว่า ราคาก็มีบริษัทร่วมทุนเข้ามาประมูลบ่อย

นายนันตชาติ ยังเผยว่า ยางที่ตนนำมาขายเป็นทั้งสหกรณ์ กลุ่มรัฐวิสาหกิจ กลุ่มเอกชน ใน อ.ท่าศาลา อ.สิชล อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ประมาณ 20 กว่าสหกรณ์ รวมกลุ่มกันมา สองเที่ยวแรกไม่มีปัญหาขายได้ปกติ แต่มาสองเที่ยงหลัง เที่ยวละ 60 ตัน 2 คันรถเทลเลอร์ แต่พอมาเที่ยวที่สามที่สี่ตลาดกลางยางยะลาก็ล้นอีก แต่ทางตลาดกลางจังหวัดยะลาก็รับฝากไว้ ที่ผ่านมามีบริษัทมาประมูลแล้ว แต่ประมูลราคาต่ำกว่าราคากลางที่กำหนด ทำให้ไม่สามารถระบายยางได้ ก็ต้องรอเพื่อบริษัทเข้ามาประมูล ตนคิดว่าถ้าแก้ปัญหาระยะยาวที่พูดกันมานาก็คือให้นำมาใช้ในประเทศให้มากที่สุดอย่าหวังพึ่งส่งตลาดต่างประเทศ ที่สามารถทำได้คือนำมาทำถนนลาดยางที่ใช้น้ำยางทำตั้งหลายเปอร์เซ็นต์ แต่ทำไมรัฐบาลทำไม่ได้ ทำไม่ได้อย่างจริงจัง ควรจะเสนอให้รัฐบาลทำโรงอัดก้อนเก็บไว้ให้แต่ละสหกรณ์ทำ รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณสหกรณ์ที่มีความมั่นคงสร้างโรงอัดยางก้อนและสร้างโกดังเก็บเพราะเก็บได้หลายปีทำสต๊อกของการยางเอง แต่รัฐบาลต้องมาสนับสนุนงบประมาณค่าเครื่องจักร ค่าอุปกรณ์ คล้ายกับที่รัฐส่งเสริมโรงรม จะทำให้ยางหายไปจากตลาด บริษัทก็มีความต้องการยาง อาจจะทำให้ราคายางดีขึ้นได้ เพราะหนทางอื่นที่แก้มาไม่เคยได้ผล​