อัลตร้าซาวด์ช้างป่า พบไขสันหลังที่เอวอักเสบ

อัลตร้าซาวด์ช้างป่า พบไขสันหลังที่เอวอักเสบ

ทีมสัตวแพทย์ แถลงผลอัลตร้าซาวด์ช้างป่า พบเลือดออก และมีน้ำเหลืองบริเวณไขสันหลังที่เอว ต้องเร่งให้ยาลดปวดและลดการอักเสบ เดินหน้าวางแผนการรักษาอย่างมีความหวัง

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่20ต.ค.2560 ทางทีมสัตวแพทย์ได้นำเอาอุปกรณ์ทางการแพทย์เคลื่อนย้ายเข้ามาบริเวณคอกธรรมชาติ บริเวณปางแม่วัง ภายในสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยนำเอาผ้าชุบน้ำมาเช็คทำความสะอาด และทาเจลบริเวณด้านหลังของช้าง ก่อนที่จะนำเอาเครื่องอัลตร้าซาวด์ขนาดเล็ก เพื่อค้นหาจุดเสียหาย กระดูก กล้ามเนื่อ และของเหลว โดยระหว่างที่ทางทีมสัตวแพทย์ดำเนินการนั้น ช้างป่ามีอาการต่อต้าน และก้มตัวส่วนหน้าลงพื้นหลายครั้ง แต่หลังจากนั้นก็สามารถดำเนินการต่อได้
ต่อมาเมื่อเวลา17.30น. ทางทีมสัตวแพทย์ที่บูรณาการทำงานร่วมกัน จากสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ และกรมอุทยานแห่งขาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้แถลงสรุปอาการ และแนวทางการรักษาช้างป่าร่วมกัน

น.สพ.ทวีโภค อังควานิช นายสัตวแพทย์ สถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง กล่าวว่า ขณะนี้ได้นำช้างป่า มารักษาบริเวณพื้นที่ของสถาบันคชบาลแห่งชาติ และเนื่องจากเป็นช้างป่าจึงต้องเลือกพื้นที่ที่มีพื้นดินที่มีความเงียบและไกลจากผู้คน ซึ่งในช่วงแรกจะใช้พื้นที่บริเวณปางแม่วังนี้ไปก่อนจนช้างจะดีขึ้น ในบางส่วนเช่น การกินการนอนได้ระยะหนึ่งแล้วจากนั้นจะขยับขยายการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ที่สะดวกต่อการรักษา
"อยากให้ช้างตัวนี้สุขภาพดีขึ้นครั้งแรกที่เห็นหลงรักเขามีความหล่อมากเป็นช้างที่ตัวใหญ่ที่สุดที่มีในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อยากให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไป


ด้านผศ.น.สพ.ดร.วีรพงศ์ ตั้งจิตเจริญ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทำการลองตรวจระบบประสาท เช็คการรับรู้ความรู้สึกและการทำงานของขาหลัง มีแนวโน้มค่อนข้างสูงบริเวณที่ได้รับการกระทบคือ ไขสันหลัง และกระดูกสันหลังอยู่ที่บริเวณของเอว และผลจากที่ระบุตำแหน่งเบื้องต้นได้แล้วองแต่ช้างตัวใหญ่มากไม่สามารถทำการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ได้ จึงต้องใช้วิธีใช้อัลตร้าซาวด์แทนเพื่อตรวจหาร่องรอยของโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นและพบว่า ไขสันหลังและกระดูกสันหลัง มีลักษณะเป็น น้ำน่าจะเป็นเลือดที่ออก หรือมีน้ำเหลือง จึงยืนยันการวินิจฉัยในเบื้องต้นไปก่อน ซึ่งในการรักษาหลังจากที่ช้างได้ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้แล้วมีอาการดีขึ้น อาจจะย้ายไปในส่วนที่ใกล้กับโรงพยาบาลช้าง เพื่อสามารถที่จะทำการดูแลได้อย่างใกล้ชิด


สำหรับแผนการรักษาในระยะเบื้องต้นจะดูอาการและให้ยาลดอาการอักเสบและให้ยาแก้ปวด โดยจะทำการรักษาตามอาการไม่ให้ช้างมีอาการทรุดลง และให้สารน้ำทางกระแสโลหิต


ในส่วนของไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บก็จะมีเลือดออกมีอาการอักเสบ จะก่อให้เกิดการทำลายไขสันหลังมากขึ้น เป็นที่สิ่งที่กังวลว่าจะทำอย่างไรที่จะควบคุมและลดการอักเสบในบริเวณนั้นให้ดีที่สุดและเร็วที่สุด และโอกาสที่จะกลับมาเดินได้หรือไม่นั้น ต้องใช้เวลาในการสังเกตอาการอย่างน้อย 5 วัน

ตอนนี้ ในส่วนของการรักษาคิดว่าทุกหมอทุกท่านเต็มที่ขอบคุณกำลังใจจากทุกคนตราบใดที่ช้างยังหายใจอยู่ก็ต้อง Never Give Up

รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า
เคสนี้จะแตกต่างจากช้างทั่วไป ตอนนี้เขายังไม่ยอมรับเรา ถ้าเรารบกวนเขามากๆ เนื่องจากเป็นช้างป่า จะกระทบต่อการรักษาได้ ต้องดูพฤติกรรมวันต่อวัน มันต่างกันระหว่าง ช้างเลี้ยงช้างป่า ส่วนสัตวแพทย์และคนที่เข้ามาดูแล ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่โดยตรงอยู่ตรงนั้นอย่าเดินผ่านหน้าช้าง ตอนนี้ยังมีความเครียดอยู่หาดเขาใช้งวงจับได้ก็จะเกิดอันตรายจึงอยากจะขอเตือนไว้ก่อน
นายสุรศักดิ์อนุเมธางกูรหัวหน้าฝ่ายสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ในส่วนของ ในส่วนของกรมอุทยานฯได้ส่งทีมสัตวแพทย์ เข้ามาทำงานร่วมกับทางออป.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ งทั้งหมดแบบบูรณาการ โดยมุ่งหวังที่จะรักษาชีวิตสัตว์เป็นอันดับแรก