TISCO - ซื้อ

TISCO - ซื้อ

คาดกำไรเติบโตดีต่อเนื่อง

ประเด็นการลงทุน

เราคาดการณ์ TISCO จะประกาศการเติบโตกำไรปี 2561 หลังจากเข้าซื้อสินเชื่อรายย่อยของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) (SCBT) จำนวน 36 พันล้านบาท ในไตรมาส 4/60 นอกจากนี้บริษัทยังสามารถปรับลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมเหลือเพียงแค่ 2.34% ณ สิ้นเดือน ก.ย. ในขณะที่สัดส่วนการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญในปัจจุบันสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 186% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และทำให้ความตั้งใจในการเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวในปี 2561-2562 ลดลง ทั้งนี้ เราได้ปรับลดคาดการณ์การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญลง 6% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 3.3 พันล้านบาทและลดลง 6% ในปี 2562 อยู่ที่ 3.4พันล้านบาท ผลดังกล่าวทำให้ เราปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรของเราขึ้น3% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท และ 4% ในปี 2562 มาอยู่ที่ 7.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ เรายังปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 อีก 8.5% มาอยู่ที่ 96 บาท อ้างอิงจาก PBV ที่ 1.99 เท่า โดยเรายังคงคำแนะนำ ซื้อ

สินเชื่อกลับมาโตมากจากการซื้อสินเชื่อ SCBT ไตรมาส 4/60 และปีหน้า

ใน 9 เดือนแรกสินเชื่อ TISCO ลดลง 5% YTD ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย ปี 2560 เราคาดว่าการติบโตของสินเชื่อจะฟื้นตัวในไตรมาส 4/60 หนุนโดยการ
ซื้อพอร์ตสินเชื่อรายย่อย SCBT มูลค่า 36 พันล้านบาท (ลูกค้าประมาณ 200,000 ราย) เราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมของ TISCO และการปล่อยสินเชื่อจะเติบโตในปีหน้าเนื่องจากการขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเราคาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ที่ 12% ในปี 2560 และ 3% ในปี 2561 แต่เราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะขยายตัว 9% ในปีนี้และ 19% ในปีหน้า ถ้าหากการเติบโตของสินเชื่อมากกว่าที่เราคาดในปี 2561 เราคาดว่าแนวโน้มประมาณการกำไรในปี 2561 จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ปรับลดสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯส่งผลให้กำไรปรับตัวสูงขึ้น

หลังจากการตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญสะสมสูงถึง 186% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และธนาคารสามารถลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เหลือ 2.34% ของ
สินเชื่อรวม ทำให้กิจการ ปรับนโยบายการตั้งสำ รองใหม่ให้อยู่เพียงแค่ 1.1% ของสินเชื่อปีนี้ และปีหน้า ดังนั้นเราปรับการตั้งสำรองค่าเผื่อฯลดลง 6% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 3.3 พันล้านบาท และอีก 6% ในปี 2562 มาอยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท (คิดเป็น 1.3% ของสินเชื่อโดยรวมทั้งในปี 2561 และ 2562 จากเดิมที่เราคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4%) ทั้งนี้หากบริษัทตั้งค่าสำรองเพื่อหนี้สูญอยู่ที่ 1.1% จริงแทนที่จะเป็น 1.3% เรามองว่ายังมีอัพไซด์ต่อประมาณการกำไรของเราปี 2561 และ 2562

เงินทุนที่แข็งแกร่งและมี ROE สูงสุดในระบบ

สัดส่วนเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของ TISCO ( CAR ) อยู่ที่ 20.5% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มธนาคาร ซึ่งมากเพียงพอที่จะซื้อสินเชื่อ 36 พันล้านบาท โดยไม่ต้องเพิ่มเงินทุน หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินปันผล เราคาดว่ CAR จะลดลงที่ 18.5% (สูงกว่า 9.75% ที่กำหนดโดยธนาคารกลาง) หลังจากการเข้าซื้อ
พอร์ตสินเชื่อของ SCBT นอกจากนี้เราคาดว่าเงินปันผลธนาคารจะอยู่ที่ 4.3% ในปี 2560 และ 4.5% ในปี 2561 TISCO คาดว่า ROE จะอยู่ประมาณ
19-20% ในปีนี้และปีหน้า (สังเกตว่า ROE กิจการอยู่ที่ 19% ใน 9M17) เพิ่มขึ้นจาก 16% ในปี 2559 การที่กิจการมี ROE เพิ่มนอกเหนือจาการตั้ง
สำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ลดลงตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น แล้วยังมาจากที่กิจการเน้นการขยายฐานสินเชื่อที่มีผลตอบแทนสูงเช่น สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ และสินเชื่อเช่าซื้อรถมือสอง และสินเชื่อรถแลกเงินเป็นต้น