วันเบาหวานโลก ตระหนักรู้รับมือเบาหวาน

วันเบาหวานโลก ตระหนักรู้รับมือเบาหวาน

สมาพันธ์เบาหวานโลกคาดการณ์ว่าในปี 2583 จะมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 642 ล้านรายทั่วโลก และในประเทศไทยจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านราย แต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 200 คน หรือ 8 คนต่อชั่วโมง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยที่มาของการจัดกิจกรรมวันเบาหวานโลก ประจำปี 2560 สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคเบาหวานในปัจจุบันมีผู้ป่วยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานโลกคาดการณ์ว่าในปี 2583 จะมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 642 ล้านรายทั่วโลก และในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านราย โดยในแต่ละวันจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 200 คน หรือ 8 รายต่อชั่วโมง และมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีชีวิตอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ


              โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีความสำคัญระดับโลก ซึ่งนานาชาติต่างให้ความสำคัญในการดูแล รณรงค์ เพื่อลดความชุกของการเกิดโรคเบาหวาน โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ระบุให้การหยุดการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวานเป็นเป้าหมายหนึ่งในเก้าเป้าหมายของการดูแลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งประเทศไทยก็ให้ความสำคัญเช่นกัน โดยได้บรรจุให้โรคเบาหวานอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทยสุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ.2554-2563 และรวมไปถึง UNDP หรือโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทย โดยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน


  โรคเบาหวาน เป็นโรคที่สำคัญการได้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อช่วยกันดูแลให้ความรู้ ส่งเสริม ป้องกันและ ลดอัตราความชุก ของโรค ในประชานชนทั่วไป ร่วมถึงส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ใช้ยาได้อย่างเหมาะสม และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะช่วยลด หรือชะลอภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อน ถือเป็นเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น นั้นจึงเป็นที่มาของการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชน ในลักษณะทำงานร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อสนับสนุนการจัดงานกิจกรรมวันเบาหวานโลก โดยปี 2560  สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) และองค์การอนามัยโลก กำหนด ประเด็นในการรณรงค์ภายใต้แนวคิด Women and Diabetes – Our right to a healthy future ประเทศไทยได้กำหนดวันจัดงานขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2560 ณ สวนวชิรเบญจทัศและสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ


  นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานของกรมฯ มุ่งพัฒนานวัตกรรม มาตรการ มาตรฐาน และเฝ้าระวัง ปัองกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ พัฒนาบทบาท ดำเนินด้านนโยบาย และยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรค การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน การบริการจัดการองค์กรแนวใหม่ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงฯ ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานในอนาคตได้ อีกทั้ง การดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลจากการเป็นโรคเบาหวาน ก็จะช่วยลดความชุกของโรคเบาหวาน นับเป็นเป้าหมายหนึ่งของกรมฯ ในปีนี้และต่อไป โดยตั้งเป้าในปี 2568 ความชุกของโรคเบาหวาน และโรคอ้วนจะไม่ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการทำงานประสานร่วมมือกันในหลายภาคส่วน โดยหนึ่งในความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คือ การร่วมกันจัดงานกิจกรรมวันเบาหวานโลกในปี 2560 โดยมีเจ้าภาพร่วมประกอบด้วย กรมควบคุมโรค สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และสถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก 

             การจัดงานรณรงค์วันเบาหวานโลกเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน มีความตระหนักในการป้องกันโรคเบาหวาน  สำหรับในปี 2560 จัดงานภายใต้คำขวัญ "เบาหวานและผู้หญิง...ป้องกันวันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันหน้า" จากข้อมูลพบว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 9 ของผู้หญิงทั่วโลก และติดอันดับ 2 ของการเสียชีวิตของผู้หญิงในประเทศไทย สำหรับประชาชนคนไทยโดยเฉพาะผู้หญิงให้หันกลับมาดูแลรักษาสุขภาพมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ในงานประกอบไปด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ วิ่ง mini marathon เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายลดเสี่ยงการเกิดเบาหวาน และกิจกรรมเสวนาบนเวที กับผู้หญิงใน  4 ในช่วงอายุ เพื่อให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความเห็นในการดูแลสุขภาพของผู้หญิงกับวัยหวาน ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการรณรงค์วันเบาหวานโลกปีนี้ จะมีขึ้นที่ ณ สวนวชิระเบญทัศ หรือสวนรถไฟ           

                    ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมงานได้รับโดยตรง คือ ความสนุกสนาน ความบันเทิงในกิจกรรมสันทนาการในงาน หลักๆ ได้เดินออกกำลังกาย เดินเพื่อสุขภาพ การได้รับความรู้ ได้จัดการตัวเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานให้ความตระหนักถึงความสำคัญ และป้องกันโรคเบาหวานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป