ชาวบ้านลุกฮือ! ถือป้ายประท้วงปิดโรงงานปล่อยน้ำเสีย

ชาวบ้านลุกฮือ! ถือป้ายประท้วงปิดโรงงานปล่อยน้ำเสีย

ชาวบ้านกว่า 200 หลังคาลุกฮือ ถือป้ายประท้วงปิดโรงงานปล่อยน้ำเสีย ล่าสุดโรงงานยอมจ่ายชดเชยครัวเรือนละ 1 หมื่น

จากกรณีฝนตกหนักหลายในพื้นที่ ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ทำให้เกิดน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ที่บ้านสระบัวกล่ำ หมู่ 7 และหมู่ 15 ต.หนองมะค่าโมง พบว่า มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 หลังคาเรือน ถนนเข้าหมู่บ้านถูกน้ำท่วมเป็นบางช่วง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากมีน้ำเสียจากบ่อบำบัดน้ำเสียของ แห่งหนึ่งไหลลงสู่ลำห้วยกระเสียว ส่งผลให้น้ำในลำห้วยมีสีโค้ก ส่งกลิ่นเหม็น ชาวบ้านเกิดความหวาดผวาเนื่องจากกลัวจะเกิดอันตรายจากสารเคมี ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 4 ต.ค. 2560 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี มีชาวบ้านจากหมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 บ้านดงอู่ทอง และบ้านสระบัวก่ำ กว่า 200 คน ชุมนุมถือป้ายประท้วง เรื่องคัดค้านการเปิดโรงงาน แห่งหนึ่งที่ผลิตเอทานอลในพื้นที่อำเภอด่านช้าง สร้างผลกระทบ ให้กับชาวบ้านเนื่องจาก มีน้ำเสียจากบ่อบำบัด ไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้าน และพืชผลทางการเกษตร เสียหายจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเดินมาประท้วงเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้โรงงานช่วยเหลือชดเชยหรือให้ปิดโรงงาน โดยมีนายจองชัย เที่ยงธรรม อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี นายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายก อบจ.สุพรรณบุรี มาให้กำลังใจ พร้อมรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยมีผู้แทนผู้บริหารของโรงงานมาร่วมฟัง ในครั้งนี้ด้วย

ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการให้โรงงานปิดตัว เนื่องจากมีผลกระทบมานายหลายปี น้ำเสียมีผลต่อร่างกายทั้งผื่นคันอยู่กันลำบากน้ำกินน้ำใช้ไม่มี ประกอบกับพืชสวนไร่นาดินเสียหายจำนวนมาก ล่าสุดทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งให้โรงงานหยุดกิจการชั่วคราว 45 วัน แต่ชาวบ้านยังกังวลเนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมายังมีน้ำเสียไหลทะลักมาอีก เข้าท่วมหมู่บ้านเสียหายอีกนับร้อยหลังคาเรือน ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านต้องการให้โรงงานปิดตัว ถ้าไม่มีความชัดเจนในการแก้ไข ซึ่งทางโรงงาน รับปากว่าจะจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นให้จำนวน 600 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 10,000 บาท

ด้านนายจองชัย เที่ยงธรรม กล่าวว่าตนมาครั้งนี้มาในฐานะตัวแทนชาวบ้าน ที่ไดรับความเดือดร้อนตนต้องเข้ามาช่วย ในเรื่องของเยียวยาถือว่าเป็นหน้าที่ของโรงงานอยู่แล้วที่จะต้องทำ แต่ในการแก้ไขระยะยาวในช่วง 45 วัน ที่ถูกระงับสั่งหยุดเพื่อดำเนินการ ถ้ายังไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ชาวบ้านจะให้ตนเป็นตัวแทนพาไปแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายกับศาลปกครองต่อไป