ไบโอพลาส อินโนเวชัน กระตุ้น‘เจนวาย’รักโลก

ไบโอพลาส อินโนเวชัน  กระตุ้น‘เจนวาย’รักโลก

ผ้ากันเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร เฝือกเทียมจากเทคโนโลยีสามมิติ ถุงยืดอายุผลไม้ แม้จะมีประโยชน์ใช้สอยต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม แต่มีต้นกำเนิดเดียวกันคือ ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ

ผ้ากันเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร เฝือกเทียมจากเทคโนโลยีสามมิติ ถุงยืดอายุผลไม้ แม้จะมีประโยชน์ใช้สอยต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม แต่มีต้นกำเนิดเดียวกันคือ ผลิตจากพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลาย ผลงานสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนการเป็นฮับไบโอพลาสผ้ากันเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร เฝือกเทียมจากเทคโนโลยีสามมิติ ถุงยืดอายุผลไม้ แม้จะมีประโยชน์ใช้สอยต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม

แต่มีต้นกำเนิดเดียวกันคือ ผลิตจากพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลาย ผลงานสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนการเป็นฮับไบโอพลาส  “ไบโอพลาสติก อินโนเวชัน คอนเทสต์ 2017” เวทีค้นหาไอเดียเพิ่มมูลค่าพลาสติกชีวภาพภายใต้แนวคิดการใช้งานในวิถีชีวิตคนยุคใหม่ อีกทั้งเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โครงการความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ กับ บริษัท คอร์เบี้ยน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตกรดแลคติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ

ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าที่คิด

ทีมชนะเลิศซึ่งรับเงินรางวัล 1 แสนบาท คือ มหาวิทยาลัยศิลปากรนำเสนอผลงานผ้ากันเปื้อนย่อยสลายได้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะจากข้อมูลพบว่าคนงานต้องล้างผ้ากันเปื้อน 4 ครั้งต่อวัน และใช้ 3 วันต้องเปลี่ยนใหม่ จึงนำเสนอผลงานผ้ากันเปื้อนย่อยสลายได้จากพลาสติกพีแอลเอซึ่งผลิตจากน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลกลูโคส สามารถใช้แล้วทิ้ง จึงช่วยประหยัดน้ำ ส่วนพลาสติกที่ทิ้งไปสามารถย่อยสลายหรือนำไปหมักเป็นปุ๋ย

ส่วนเฝือกเทียมย่อยสลายได้จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ใช้เทคโนโลยีสแกนเนอร์ 3 มิติสแกนอวัยวะเฉพาะบุคคล เช่น นิ้วมือ เท้า จากนั้นส่งไฟล์ให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติพิมพ์ชิ้นงานที่ต้องการได้ทันทีโดยใช้พลาสติกพีแอลเอ ไม่ต้องเสียเวลาเข้าโรงงาน หรือถุงยืดอายุการสุกของผลไม้จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วยปกป้องผลไม้ ทำให้รสชาติดีขึ้นและกลบฝังดินให้ย่อยสลายได้“ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลล้วนแต่มีความเป็นไปได้สูงในการต่อยอด เพราะสามารถใช้งานได้จริง

เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนอกจากจะได้รับเงินรางวัลแล้ว ยังได้โอกาสการทำธุรกิจจากนักลงทุนที่สนใจ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์” หทัยกานต์ มนัสปิยะ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการยอมรับจากผู้บริโภค ฉะนั้น การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เห็นประโยชย์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกนอกจากเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังต้องอธิบายให้เข้าใจว่า แม้ราคาจะแพงกว่าพลาสติกทั่วไปแต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ การช่วยแก้ปัญหาขยะและมลพิษ หากคิดแบบครบวงจรการใช้พีแอลเอจะคุ้มค่ามากกว่า

รองรับตลาดในอนาคต

บริษัท คอร์เบี้ยน (ประเทศไทย) จำกัด เป็นโรงงานพลาสติกชีวภาพพีแอลเอ (ไบโอพลาสติก) แห่งแรกในไทยและเอเชีย มีกำลังการผลิต 7.5 หมื่นตันต่อปี ณ นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จ.ระยอง งบลงทุนประมาณ 3,500 ล้านบาทกัลย์ เฉลิมเกียรติกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ-พลาสติกชีวภาพ กล่าวว่า นักลงุทนมองเห็นโอกาสการขยายตัวของพลาสติกชีวภาพในตลาดยุโรปและเอเชีย อีกทั้งผู้บริโภคไทยเริ่มสนใจมากขึ้นแม้ว่าราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป และยังได้รับสนับสนุนด้านการลงทุนจากภาครัฐ คาดว่าอีก 4-5 ปี ความต้องการจะสูงถึง 10,000 ตันต่อปี

ผลผลิตระยะแรกจะเน้นส่งออกไปตลาดหลัก อาทิ สหภาพยุโรป จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ที่มีความต้องการสูงซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลในแต่ละประเทศมีมาตรการส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพ ส่วนประเทศไทยมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านพืชวัตถุดิบอย่างอ้อยที่มีผลผลิตต่อเนื่องทั้งปี บริษัทจึงตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย เนื่องจากเล็งเห็นความคุ้มค่าด้านการลงทุน การใช้วัตถุดิบและแรงงาน โดยมีวัตถุดิบที่ใช้คือน้ำตาลจากอ้อย

“หากไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะครอบคลุมธุรกิจอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่มีมูลค่ามากกว่า เช่น เครื่องสำอาง ยารักษาโรค สารอาหารเพื่อสุขภาพ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร” กัลย์ กล่าวดังนั้น โครงการไบโอพลาสติก อินโนเวชัน คอนเทสต์ 2017 จึงเป็นหนึ่งในความพยายามของทุกภาคส่วนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป