ดาวรุ่งแห่งยุค ‘อีเว้นท์ ป็อป’

ดาวรุ่งแห่งยุค ‘อีเว้นท์ ป็อป’

เป็นสตาร์ทอัพที่ผู้ก่อตั้งบอกว่ามาไกลเหนือความคาดหมายจากหมุดไมล์ที่วางไว้ สำหรับเป็นสตาร์ทอัพที่ผู้ก่อตั้งบอกว่ามาไกลเหนือความคาดหมายจากหมุดไมล์ที่วางไว้ สำหรับอีเว้นท์ ป็อป (Event Pop)

ล่าสุดมีโครงการอินเว้นท์ (InVent) ภายใต้บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มาร่วมลงทุนในระดับซีรี่ส์เอ เป็นมูลค่า 1.6 ล้าน
เหรียญ นอกจากนี้ยังมีการร่วมลงทุนจากบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล (Beacon Venture Capital) กองทุนวีซีของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ด้วย


“ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์” ซีอีโอ และ “เมษวรา นาคสุข” ซีโอโอ เล่าว่า อีเว้นท์ ป็อป ก่อตั้งขึ้นเมื่อสองปีที่ผ่านมาโดยฝีมือของเขาและเพื่อน
ๆเพียงแค่ 5 คนเท่านั้น แต่เวลานี้ทีมงานเพิ่มขึ้นเป็น 30 คนแล้ว

ประการสำคัญทีมผู้ก่อตั้งซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งคีย์ซัคเซส ก็ยังอยู่ครบทั้ง 5 คน


ถามว่ามีเคล็ดลับทำงานด้วยกันอย่างไร พวกเขาบอกว่า ต่างคนต่างรู้หน้าที่ตัวเอง ทุ่มเทช่วยกันทำงาน คุยกันให้เยอะ ๆ และต้องเอาความ
ต้องการลูกค้าเป็นหลัก ทำให้ยังเหนียวแน่นกอดคอกันทำธุรกิจด้วยกันมาจนถึงวันนี้


ในหมายเหตุที่ว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นอาจไม่เกินความคาดหมายของ “อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์” ผู้ก่อตั้งบริษัท เถ้าแก่น้อย ที่มองว่าไอเดีย
ธุรกิจนี้มีความน่าสนใจและตกลงใจสวมบทเป็น Angle Investor เพื่อให้การสนับสนุนเงินทุนในช่วงเริ่มต้น


ปัจจุบัน อีเว้นท์ ป็อป ก็คือ ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มจัดการงานอีเว้นท์ (End-to-End Event Management Platform) โดยใช้เทคโนโลยีการจัดการที่ครบวงจรตั้งแต่การขายบัตรออนไลน์การดูแลบริหารการตลาด การลงทะเบียนเข้างาน รวมถึงระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management)ที่ช่วยให้ผู้จัดงานสามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานได้อย่างต่อเนื่องตรงกลุ่มเป้าหมาย


จากจุดสตาร์ทที่ผู้ก่อตั้งมองเห็นปัญหาในเรื่องการลงทะเบียน เวลาที่มีการจัดอีเว้นท์หรือกิจกรรมต่าง ๆ แต่พอเปิดบริการได้เพียง 2 ปี อีเว้นท์
ป็อป กลับได้รับความไว้วางใจจากผู้จัดงานมาใช้บริการแพลตฟอร์มมากกว่า 3 พันอีเว้นท์ รวมถึงงานเทศกาล, คอนเสิร์ต, กีฬา, ธุรกิจ และ
งานสัมมนาต่างๆ


“ที่ผ่านมาเราได้รับความร่วมมือจากฝั่งของผู้จัดงาน ทำให้เราเข้าใจความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น มีการทำความร่วมมือกับหน่วยงาน
ต่างๆรวมไปถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีต่างๆ ให้มีความทันสมัยครบครันตอบสนองความต้องการของผู้จัดงานได้อย่างลงตัว อีกทั้งเรายังมี
เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการทำมาร์เก็ตติ้งรวมไปถึงการให้บริการหลังงานอีเว้นท์สิ้นสุดลง โดยนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ให้ตอบ
โจทย์ความต้องการของผู้เข้าร่วมงาน ทั้งส่วนออนไลน์และออฟไลน์”


ซึ่งจากการเปิดตัว “Spark” ระบบจ่ายเงินแบบไม่ใช้เงินสดของอีเว้นท์ ป็อบ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้มีการทดลองใช้กับผู้เข้า
ร่วมงานกว่า 4 หมื่นคน ระหว่างการจัดงานระบบสามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ


ในปีนี้ อีเว้นท์ ป็อปมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ 3 ด้าน ได้แก่ งานเทศกาลและงานบันเทิง งานในส่วนของธุรกิจ และงานในส่วนด้าน
กีฬาซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำการตลาดออนไลน์ โดยใช้ข้อมูลความสนใจ พฤติกรรมการจ่าย
เงินหรือความคิดเห็นหลังจากการเข้าร่วมงานของผู้เข้าร่วมงานมาวิเคราะห์ข้อมูล


พวกเขาบอกว่า ในความเป็นจริงก็คือ อีเว้นท์ ป็อปทำรายได้ตั้งแต่แรก ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากตลาดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นอานิสงส์จากเทรนด์ที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศไทยติดอันดับต้น ๆที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาท่องเที่ยว กระทั่งงานเทศกาล งานประชุมระดับอินเตอร์ได้เข้ามาจัดในประเทศไทยมากขึ้น และมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานที่เพิ่มมากขึ้น


นอกจากนี้ยังมีเทรนด์ที่พฤติกรรมคนไทยซึ่งหันมาใช้โทรศัพท์มือถือในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและบริการในโลกออนไลน์


กระทั่งทำให้คำว่า “ซื้อบัตร” อาจกลายเป็นอะไรที่ล้าสมัย เพราะคนในสังคมออนไลน์จะใช้คำว่า “กดบัตร”


“ยุคนี้อำนาจอยู่ในมือผู้บริโภค เขากดเลือกซื้อหรือใช้บริการทุกอย่างได้บนมือถือได้เลย”


ถามเรื่องความกังวลในเรื่องของการแข่งขันว่ามีหรือไม่ พวกเขามองว่ายังไม่เห็นคู่แข่งตรงๆในตลาด เนื่องจากอีเว้นท์ ป็อปเป็นแพลตฟอร์ม
มีความครบวงจร ไม่ได้แยกชิ้นธุรกิจแล้วทำทีละส่วน ๆเหมือนกับรายอื่น ๆ


หากว่ามีคนคิดจะแข่งหรือก้อบปี้ก็คงทำได้แต่ก็ยาก ต้องใช้เวลา เพราะจะไม่รู้ครบทุกอย่าง ซึ่งว่าด้วยเทคโนโลยี ประสบการณ์ในธุรกิจ รวมถึงการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆที่ผ่านมา


นอกจากนี้ ในการจัดงานแต่ละครั้ง พวกเขาจะจัดตั้งวอร์รูม (War Room) เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ให้สามารถตอบ
โจทย์และแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที


ในอนาคตอันใกล้ อีเว้นท์ ป็อป ให้ความสนใจใน 4 เรื่องหลักๆ คือ หนึ่ง การรวมรวมโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เครื่องมือต่างๆ หรือบริการต่างๆ ที่
สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อีกทั้งยังต้องออโตเมชั่นให้บริการหรือแก้ไขได้แบบทันที เรียลไทม์ สอง
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และระหว่างลูกค้ากับลูกค้าด้วยกันเอง สาม จะขยับจากธุรกิจขายบัตรไปทำโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ผู้จัดการงาน
อื่นๆ มากยิ่งขึ้น สุดท้าย จะมองหาความร่วมมือกับพันธมิตรเพิ่มมากขึ้น


และทิ้งท้ายว่าการได้รับเงินลงทุนครั้งนี้จะนำพา อีเว้นท์ ป็อป ให้ก้าวไปถึงจุดของการเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มช่วยจัดการงานอีเวนท์อย่างครบ
วงจรที่ดีที่สุดในประเทศไทย

โอกาสธุรกิจแห่งอนาคต

“คิมห์ สิริทวีชัย” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริหารการลงทุนบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเหตุผลในการลงทุน
กับอีเว้นท์ ป็อป ที่นับเป็นบริษัทที่ 12 ในระดับซีรี่ส์ เอว่า ธุรกิจการจัดงานอีเว้นท์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและกลุ่มธุรกิจที่น่า
จับตามองแต่ในปัจจุบันผู้ใช้บริการจองบัตรเกิดปัญหาความยุ่งยากจากระบบที่ไม่เสถียร ล่มได้ง่ายเวลามีการจองเข้ามาพร้อมๆกันในจำนวน
มาก


ซึ่งบริการของอีเว้นท์ ป็อป น่าจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ซื้อบัตรเข้างานด้วยการพัฒนาระบบการขายบัตรที่
ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย รวมทั้งมีระบบสรุปรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าร่วมงานให้กับผู้จัดงานอีกด้วย


อีเว้นท์ ป็อป ยังมีการใช้ระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมงานและยังมีการพัฒนากลุ่มธุรกิจใหม่ที่มี
ศักยภาพซึ่งจะเป็นการต่อยอดจากกลุ่มธุรกิจเดิมที่มีความแข็งแกร่งอยู่แล้วให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้จัดงานและมีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น


นอกจากนี้ ยังเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับรางวัล National Award ในหมวด Rising Star จากงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ (Startup Thailand 2017) โดยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจได้อย่างน่าสนใจ