Daily Market Outlook (22 ก.ย.60)

Daily Market Outlook (22 ก.ย.60)

คาด SET มีแนวโน้มแกว่งตัวและมีโอกาสปรับลงได้

ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้ม Sideways และมีโอกาสปรับลงได้ เนื่องจากนักลงทุนอยู่ระหว่างการปรับพอร์ตหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ระบุว่าอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่สามในปีนี้ ราคาน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง 14 เซนต์ ปิดที่ 50.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ก่อนการประชุม OPEC ในเรื่องการปรับลดการผลิต ข่าวในประเทศส่วนใหญ่ออกมาในเชิงบวก ยอดส่งออกเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 13.2% YoYซึ่งเพิ่มขึ้น 6 เดือนติดต่อกัน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับตัวขึ้นสู่แดนบวกเนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออกที่ดีขึ้น

 

Pick of the day: TU (Bt20.20; BUY; AWS 17TP Bt25.00)

เรายังคงชอบ TU ด้วยความสำเร็จในการซื้อธุรกิจเพื่อเพิ่มผลกำไรในอนาคต การควบคุมต้นทุนการขายและการบริหารรวมถึงการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีอัตรากำไรสูงเพื่อรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้นในภาวะที่มีการแข่งขันมากขึ้น เราคาดว่าผลประกอบการในไตรมาส 3/2560 ของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้น YoYจากเข้าสู่ช่วง High Season และอัตรากำไรของธุรกิจแซลมอนและกุ้งจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจแซลมอนคาดจะฟื้นตัวดีขึ้นจากการทยอยปรับราคาขายมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน  เราคาดว่ากำไรสุทธิปี 2560 ของ TU จะอยู่ที่ 6.1 พันล้านบาท (1.27 บาทต่อหุ้น)+11.8% YoY และคาดว่ากำไรในปี 2561 จะอยู่ที่ 6.5 พันล้านบาท (1.37 บาทต่อหุ้น) +7.3% YoY  เรายังชอบ TU จากความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ โดยที่ครั้งล่าสุดเป็นการเข้าซื้อกิจการของ Red Lobster ในเดือนพ.ย. 2559 ซึ่งมีเงื่อนไขที่ดีจากการถือหุ้นและพันธบัตร  เราเชื่อว่า TU ยังสามารถสร้างกำไรได้ในธุรกิจอาหารจากการเข้าซื้อกิจการ  เราแนะนำ “ซื้อ” และให้ราคาเป้าหมายที่ 25.00 บาทอิงจากค่า PER เฉลี่ยย้อนหลังของอุตสาหกรรมอาหารที่ 20 เท่า  Price Pattern ของ TU แม้ว่าจะมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) จากการเกิด Monthly Sell Signal แต่ Price Pattern ของ TU เริ่มมีความแข็งแกร่งระยะสั้นจากการเกิด Daily Buy Signal และหาก Price Pattern ของ TU สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ได้เหนือ 20.20 บาท ก็จะทำให้ Price Pattern ของ TU กลับมาเกิดความแข็งแกร่งระยะกลางจากการกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่เพิ่มเข้ามา เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ TU มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ 20.70 บาท ทั้งนี้ TU มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 19.50 บาท (แนวต้าน: 20.30, 20.50, 20.60; แนวรับ: 20.10, 20.00, 19.80)      

 

ปัจจัยสำคัญ                                                                                                       

ประเด็นในประเทศ:

·         ยอดส่งออกเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 13.2% YoYซึ่งเพิ่มขึ้น 6 เดือนติดต่อกันขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 14.9% YoYส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.09 พันล้านเหรียญสหรัฐฯขณะที่การส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 8.9% YoYและการนำเข้าเพิ่มขึ้น 15.4% YoYส่งผลให้เกินดุลทางการค้าที่ 8.9 พันล้านเหรียญฯ โดยนางอภิรดีตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ามีแนวโน้มว่าการส่งออกของไทยในปี 2560 จะเกินเป้าที่รัฐตั้งไว้7% (บางกอกโพสต์)

·         ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับเข้าสู่แดนบวกจากการสำรวจของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (Fetco) พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในภาวะกระทิงที่ 124.13 เพิ่มขึ้นจากระดับที่ประเมินไว้ที่ 104.01 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมและการส่งออกรวมถึงการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ (ไทยโพสต์)

·         ธนาคารออมสินเตรียมช่วยเหลือผู้ขายอาหารข้างทาง ธนาคารออมสินตั้งเป้าหมายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมูลค่าหนึ่งหมื่นล้านบาทให้กับกลุ่มคนค้าขายอาหารข้างทางซึ่งผู้เข้าร่วมแต่ละรายมีสิทธิ์กู้เงินได้ถึง 3 ล้านบาท (ไทยโพสต์)

ต่างประเทศ:

  • เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐแบนราบลง หุ้นร่วงเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐแบนราบลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งและตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงเมื่อวันพฤหัสเนื่องจากนักลงทุนเปลี่ยนมุมมองรับสัญญาณจากเฟดที่อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สามในปีนี้ (รอยเตอร์)
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าหลังนักลงทุนซึมซับผลการประชุมเฟดแล้ว ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินหลักเมื่อวันพฤหัส ถอยจากระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์เนื่องจากการเก็งกำไรที่ได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งสัญญาณของเฟดว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ลดลง (รอยเตอร์)

สหรัฐ

  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐลดลง แต่พายุเฮอริเคนยังมีผลกระทบต่อข้อมูลดังกล่าว จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงผิดคาดในสัปดาห์ก่อน แต่แนวโน้มตลาดแรงงานในระยะสั้นยังได้รับแรงกดดันจากผลกระทบต่อเนื่องจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์และเออร์มา (รอยเตอร์)
  • ทรัมป์ออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่เพื่อกดดันเกาหลีเหนือ ประธานาธิบดีสหรัฐโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่เมื่อวันพฤหัสซึ่งเป็นการเปิดโอกาสมากขึ้นในการขึ้นบัญชีดำบุคคลและบริษัทที่ทำธุรกิจกับเกาหลีเหนือ เพื่อบีบบังคับให้เกาหลีเหนือยุติการทดลองอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ  (รอยเตอร์)

ยุโรป:

  • หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นวานนี้ นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคารหลังจากเฟดส่งสัญญาณว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ธ.ค. และกล่าวว่าจะเริ่มปรับลดงบดุลในเดือน ต.ค. (รอยเตอร์)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวขึ้นมากกว่าคาดในเดือน ก.ย. รายงานโดยคณะกรรมาธิการยุโรปวานนี้ (รอยเตอร์)

เอเชีย:

  • Nikkei ปรับฐานสุงสุดในรอบ 2 ปีโดยค่าเงินเยนอ่อนลงหลังการตัดสินใจของ Fedดัชนีเฉลี่ยนิเคอิทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ตลาดโตเกียวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาช่วยให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่เฟดส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ (Bloomberg)
  • ธนาคารกลางของญี่ปุ่นยังเป็นไปตามคาดโดยในคณะกรรมการบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการคงนโยบายในลักษณะเดิม ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงนโยบายการเงินในลักษณะเดิมในวันพุธที่ผ่านมา และกล่าวว่าขอให้ตลาดเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะไปถึงเป้า 2% ได้ (รอยเตอร์)
  • S&P ปรับลดเรตติ้งจีนลง เนื่องจากหนี้ที่สูงขึ้นส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและความเสี่ยงในตลาดการเงิน S&P Global Ratings ปรับลดเรตติ้งของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของจีนในวันพฤหัสที่ผ่านมา ซึ่ง ณ เวลานี้นั้นใกล้จะถึงการประชุมใหญ่ของจีนในอีกไม่ถึง 1 เดือน โดยสิ่งนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากหนี้สินที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)

สินค้าโภคภัณฑ์:

  • ราคาทองคำปิดต่ำกว่า 1,300 เหรียญเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายนหลังเฟดบอกเป็นนัยเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยราคาทองคำปรับตัวลดลงในวันพฤหัสบดีซึ่งอยู่ต่ำกว่า 1,300 เหรียญเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายนหลังจากที่เฟดบอกเป็นนัยว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม(บลูมเบิร์ก)
  • ราคาน้ำมันอยู่ใกล้ระดับ 50 เหรียญเนื่องจากนักค้ากังวลสัญญาณต่าง ๆจากโอเปกราคาน้ำมันอยู่ใกล้ระดับ 50 เหรียญต่อบาร์เรลท่ามกลางสัญญาณที่ขัดแย้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโอเปคว่าจะมีการขยายขีดจำกัดของปริมาณการผลิตหรือไม่ในตารางการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยราคานํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสลดลง 8 เซนต์มาอยู่ที่ 61 เหรียญ / bblขณะที่เบรนท์ลดลง 3 เซนต์ปิดที่ 56.26 เหรียญต่อบาร์เรล(บลูมเบิร์ก)