จุฬาฯ ค้นพบ 'แมงมุมฝาปิดโบราณ' ชนิดใหม่ของโลก

จุฬาฯ ค้นพบ 'แมงมุมฝาปิดโบราณ' ชนิดใหม่ของโลก

จุฬาฯ ค้นพบ "แมงมุมฝาปิดโบราณ" ชนิดใหม่ของโลก ถือกำเนิดมากกว่า 300 ล้านปีก่อนยุคไดโนเสาร์

คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ค้นพบ "แมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์" ชนิดใหม่ของโลกและแมงมุมชนิดนนี้มีการถือกำเนิดมากกกว่า 300 ล้านปีก่อนไดโนเสาร์แมงมุมฝาปิดโบราณชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้ถูกค้นพบโดยนายวรัตถ์ ศิวายพรามหณ์ นิสิตปริญญาโท และ ดร.นัฐพจน์ วาฤทธิ์อาจารย์ประจำคณะวิชาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

20170920114837930

โดยแมงมุมฝาปิดโบราณชนิดใหม่ ถูกค้บพบได้เฉพาะในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่มีระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไปซึ่งจะทำรังอยู่บนพื้นที่มีลักษณะเป็นหน้าผาดินที่มีความชันสูงแมงมุมชนิดนี้ก็จะทำการขุดดินลึกลงไปประมาณ 10-20 เซนติเมตรแล้วจะชักใยบุผนังโพรงด้านในเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงค์ชีวิตอยู่พร้อมไปกับการล่าเหยื่อเพื่อนำมาเป็นอาหาร

20170920114839778

ดร.นัฐพจน์ บอกว่า แมงมุมฝาปิดโบราณที่ค้นพบมีประมาณไม่เกิน 200 ตัว และค้นพบได้เฉพาะที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแม่วงก์ได้เป็นอย่างดีโดยแมงมุมโบราณชนิดนี้เป็นชนิดที่ 97 ของโลก และเป็นชนิดที่ 33 ที่ถูกค้นพบในประเทศไทย

สาเหตุที่แมงมุมฝาปิดโบราณแมงวงก์มีอายุมาอย่างนานกว่า 300 ล้านปี นั้นมาจากหลักฐานด้านบรรพชีวินวิทยา และเชื่อว่าเนื่องจากแมงมุมดังกล่าวอาศัยอยู่ในโพรงทำให้ไม่ถูกสัตว์อื่น หรือสภาพแวดล้อมรบกวนมากนักหลังจากนี้ คณะผู้วิจัยเตรียมเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรักษาผืนป่าแม่วงก์ให้อุดมสมบูรณ์เพื่อไม่ให้แมงมุมฝาปิดโบราณชนิดนี้ต้องสูญพันธุ์ไปเหมือนกับสัตว์อื่นๆ