เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา มัจจุราช เหนือท้องน้ำฮาลาบาลา

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา มัจจุราช เหนือท้องน้ำฮาลาบาลา

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา มัจจุราช เหนือท้องน้ำฮาลาบาลา อีกดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า

ทะเลสาบฮาลาบาลาอันกว้างใหญ่ที่รายล้อมไปด้วยขุนเขาสลับซับซ้อนเหนือเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ที่นี่คือศูนย์รวมความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อนที่ยังคงความหลากหลายทางชีวภาพที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

21765656_10155757626327855_449742057042830484_o

นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยดำรงเผ่าพันธุ์ของสัตว์ป่าหายากนานาชนิดแล้ว ยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญที่สุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเปรียบเสมือนครัวกลางน้ำขนาดยักษ์ที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์ที่อาศัยผืนน้ำแห่งนี้เป็นพื้นที่เสาะหาอาหาร

21752101_10155757626717855_651908431236635478_n

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา ( Grey-headed Fish Eagle)ก็เช่นกันซึ่งเป็นนกประจำถิ่นชอบหากินตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ แม้ข้อมูลทางด้านวิชาการจะบ่งบอกว่าเป็นนกชนิดหนึ่งที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ก็สามารถพบเห็นได้กลางทะเลสาบฮาลาบาลาแห่งนี้ เพราะความอุดมสมบูรณ์ของอาหารคือ ปลา ที่มีอยู่อย่างชุกชุม โดยเหยี่ยวชนิดนี้จะเกาะจับกิ่งไม้ตายนึ่งกลางผืนน้ำเพื่อหอสังเกตุการณ์ ด้วยสายตาอันคมกริบผสานเข้ากับร่างกายที่ทรงพลังและกรงเล็บอันแหลมคมแข็งแกร่งโฉบจับเหยื่ออันโอชะที่โผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำให้เห็นเพียงรำไรไปกินได้ไม่ยากเย็นนัก

21558692_10155757627867855_932334986660795091_n


มันจึงเปรียบเสมือนมัจจุราชกลางผืนน้ำที่มีความสง่างามและน่าเกรงขาม ถึงแม้จะจับสัตว์อื่นเป็นอาหารแต่นั่นคือวงจรชีวิตที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้แล้ว เช่นเดียวกับมนุษย์แม้จะเป็นสัตว์กินพืชแต่ต้องมีโปรตีนเป็นอาหารหลักเช่นกัน ทะเลสาบฮาลาบาลากลางผืนป่าชายแดนใต้แห่งนี้จึงไม่ว่างเว้นจากผู้ล่าและผู้ถูกล่า และยังคงให้เห็นไปชั่วนาตาปีตราบใดที่ผืนป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์และเคารพกฎกติกาของป่า ตราบนั้นป่าฮาลาบาลา คือโจทย์ที่ต้องค้นหาคำตอบไม่รู้จักจบสิ้น

21557946_10155757627697855_7449202259629006185_n

21617651_10155757627872855_6697540815985856919_n