เที่ยวสะดุดตา : ภูทอกจังหวัดบึงกาฬ

เที่ยวสะดุดตา : ภูทอกจังหวัดบึงกาฬ

เที่ยวสะดุดตา : ภูทอกจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย

เมื่อพูดถึงบึงกาฬ สิ่งที่ต้องมาให้ได้ก็คือ ภูทอก หรือ วัดเจติยาคิรีวิหาร ที่ตั้งเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จ.บึงกาฬ โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญ และนักท่องเที่ยวทั่วไป สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดชม

20170917053753163

จุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้ และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้าง บรรไดเวียนไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีจาก ชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้เดินแบบ ตรงทอดยาวจนถึงจุดสูงสุดของ ยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 เป็นต้นไปนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม แบบสะพานเวียน รอบเขาซึ่งจะได้เห็น มุมมองที่แตกต่างไปเรื่อย ๆ บันไดที่ทอดขึ้น สู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำ สัตบุรุษ ให้พ้นโลกแห่งโลกียะ สู่โลกแห่ง โลกุตระหรือโลกแห่ง การหลุดพ้นด้วย ความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว ขึ้นในวันที่ 10 -16 เมษายน ของทุกปี

20170917053755216

บันไดภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยก สองทาง ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือ เป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า "ดงชมพู" ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซ ส่วนบนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชีรอบชั้นมีระยะทาง ประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ

20170917060139816

ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง ถือว่าเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด จะมีศาลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูป กุฏิพระ และเป็นที่เก็บสังขารของพระอาจารย์ จวน ดูแล้วร่มเย็นมาก เหมาะสำหรับการนั่งสวดมนต์ปฏิบัติธรรมสำหรับนักแสวงบุญ ตามทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายจุด เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี มีที่ให้นั่งพักระหว่างทางเดิน เป็นระยะ ถ้าเดินมาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหารที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกและ น่าอัศจรรย์ที่สุดคล้าย ๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า คือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา ตั้งอยู่อย่าง ได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะ เห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่าง ชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา

20170917054256034

ชั้นที่ 6 จะเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมาทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดก็จะมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ในช่วงฤดูหนาวจะ มีทะเลหมอก ลอยอยู่รอบ ๆ ยอดเขา ทำให้เหมือนอยู่บนสวรรค์ จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริม หน้าผา สูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาคสัมผัส กับหิน และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ

20170917053752888

ชั้นที่ 7 จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะ เกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก แถมยังมีป้ายบอกให้ "ระวังงู" ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่มากบนยอดภูแห่งนี้ด้วย ควรใช้อีกทาง หนึ่งซึ่งเป็น ทางอ้อมต้อง เดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม่ทึบธรรมดา มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

20170917053755935