ยิปซีแห่งพงไพร นกเงือกกรามช้างปากเรีย @ป่าฮาลาบาลา

ยิปซีแห่งพงไพร นกเงือกกรามช้างปากเรีย @ป่าฮาลาบาลา

กลับมาแล้ว ยิปซีแห่งพงไพร นกเงือกกรามช้างปากเรียบ @ป่าฮาลาบาลา

ขุนเขาน้อยใหญ่และสายน้ำที่ไหลสลับซับซ้อนบนผืนป่า "ฮาลา บาลา" อ.เบตง จ.ยะลา นับเป็นป่าฝนเขตร้อนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งเชื่อมต่อกับทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ที่นี่เป็นเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสัตว์ป่านานาชนิดทั้งที่พบเห็นได้โดยทั่วไปและหายากใกล้สูญพันธุ์

640_aejbgb5ajah5kdaahh6ec

นอกจากสัตว์ประจำถิ่นที่พบเห็นได้ไม่ยากนัก แม้บางครั้งจะไม่ปรากฏตัวตนให้เห็นเด่นชัด แต่จากรอยเท้าและร่องรอยการหาอาหารยังคงเป็นหลักฐานให้พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด นั่นคือสิ่งที่ดำรงอยู่เป็นปกติบนผืนป่าแห่งนี้ ไม่ต่างกับนกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill)แม้จะถูกจัดให้เป็นนกเงือก 1 ใน 10 สายพันธุ์ที่พบเห็นกันอยู่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ความจริงแล้วนกเงือกกรามช้างปากเรียบ เป็น "นกอพยพ" ที่รอนแรมมาจากแหล่งกำเนิดกลางผืนป่าตะวันตกของประเทศ เป็นระยะทางกว่า 1,500 กิโลเมตร มายังจุดนัดพบเพื่อรวมฝูงกันที่นี่ในระหว่างเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายนทุกปี ครั้งละ 1,000-2,000 ตัว

640_bg6djag5jfaidh5ki9b6g

แม้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นคู่กับป่าฮาลาบาลามานานแสนนาน แต่มนุษย์เพิ่งรู้เมื่อไม่กี่ปีนี้เองว่าเขาเป็นผู้มาเยือน หลังจากนักวิจัยโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Thailand Hornbill Project)ได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณ GPSที่ตัวนกทำให้สามารถทราบเส้นทางการโบยบิน ด้วยเหตุผลเพราะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ และอาจจะเป็นการเดินทางไกลที่ท้าท้ายพิสูจน์ความแข็งแกร่งของสมาชิกรุ่นใหม่ เพื่อจับคู่กลับไปยังถิ่นกำเนิดเพื่อขยายเผ่าพันธุ์ ก่อนจะหวนกลับมาในรอบปีต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น หากผืนป่าแห่งนี้ยังคงความอุดมสมบูรณ์

640_dj5db696dgc55bb76bb6f

ปัจจุบันการรวมฝูงของนกเงือกกรามช้างปากเรียบ ได้กลายเป็นมหัศจรรย์ของผืนป่าใต้สุดผืนแผ่นดินไทยเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและผู้ชื่นชมธรรมชาติ แม้การเดินทางจะยากลำบากต้องฝ่าฟันอุปสรรคกลางป่าเขายากเย็นแสนเข็ญเพียงใดก็ตาม ขอเพียงแค่ได้สัมผัสด้วยตาตนเองสักครั้งในชีวิต

640_e6c8gkcdj96f6gab5dbdf_1

สิ่งนี้ทำให้ผู้ทำหน้าที่พิทักษ์เฝ้าผืนป่า ฮาลา บาลา หรือป่าพระนามาภิไธย ส่วนที่ 2 ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ค่ายพญาลิไท โดยกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445เบตง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ ต้องทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างถิ่น เนื่องจากผลพวงจากกระแสการล่องเรือท่องทะเลสาบฮาลาบาลาเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา จึงได้เสริมกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และที่สำคัญได้มีทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจร่วม ( MOU)กับ โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างเป็นทางการ เพื่อที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้เข้ามามีบทบาทร่วมทางภาคสนามในขอบเขตของการศึกษา วิจัย สำรวจ และสร้างแปลงเพาะพันธุ์แปลงไม้กลางผืนป่าเพิ่มเติมเพื่อเป็นแหล่งอาหารของนกเงือก

640_a5ai5e5d68bekd9eg76j6

ส่วนการเดินทางเข้ามาในพื้นที่ป่าชั้นในของนักท่องเที่ยวและบุคคลภายนอก จะต้องได้รับอนุญาติจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยตรง โดยตำรวจตระเวนชายแดนที่445 ที่ตั้งฐานปฏิบัติการณ์อยู่ในพื้นที่จะเป็นผู้คัดกรองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งนอกเหนือจากจัดชุดลาดตระเวนป้องกันและรักษาความสงบเป็นหน้าที่หลักแล้ว ยังต้องสร้างงานมวลชนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับชาวบ้านในละแวกนั้น เพราะเขาจะคอยเป็นหูเป็นตาให้คอยระวังคนแปลกหน้าหรือนักล่าสัตว์ป่าที่จะแฝงตัวเข้ามา หรือแม้แต่ชนเผ่าพื้นเมือง "โอรังอัสรี" ก็ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เนื่องจากพวกเขามีความรู้สึกรักและหวงแหนผืนป่าซึ่งเปรียบเสมือนบ้านที่อยู่อาศัยตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ

640_bh69b8i7e9bh8icak7887

จากความเปราะบางของพื้นที่โดยเฉพาะต้นน้ำชั้นในซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในป่าดงดิบ ยังคงเป็นป่าปิด เพราะเป็นทั้งแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะนกเงือกกรามช้างปากเรียบซึ่งเป็นนกเงือกอพยพเพียงสายพันธุ์เดียวที่เราก็สามารถมองเห็นได้ในขณะบินรวมกันเป็นฝูงย่อยฝูงละประมาณ 10-20 ตัวหรือมากกว่านั้น แค่ช่วงเวลาเช้าและเย็น นอกจากจะทราบแหล่งที่นกเหล่านี้รวมฝูงนอนตามต้นไม้ใหญ่ในแต่ละวันซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่คนทั่วไปจะดั้นด้นไปถึง แต่ถ้าหากมันถูกคุกคามจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แม้แต่เสียงปืนเพียงนัดเดียว นั่นเป็นที่เหนือความคาดหมายมาว่าพวกจะกลับมาให้ชื่นชมได้อีกหรือไม่ ในปีต่อๆไป

640_gfechk7a9gjajb6jka8ad

และนี้คือพันธกิจที่ต้องร่วมสร้าง ทั้งภาครัฐและประชาชน เพื่อให้ นกเงือกกรามช้างปากเรียบ หรือยิปซีแห่งพงไพร ได้เป็นอัตลักษณ์ผืนป่าสองแผ่นดินไทย-มาเลย์แห่งนี้ไปอีกนานเท่านาน

640_ibgjfhdeefddba8khhbj6

640_eja8ibi7he9f7f6giaa7c