“คนแก่ช่วยคนแก่” สละเบี้ยยังชีพช่วยคนจน 3.5 ล้านคน

“คนแก่ช่วยคนแก่” สละเบี้ยยังชีพช่วยคนจน 3.5 ล้านคน

เงินหลักร้อย หรือหลักพันสำหรับบางคนอาจไม่มีความหมาย แต่สำหรับบางคน ช่วยต่อลมหายใจได้ในแต่ละวัน อย่างที่ผู้สูงอายุที่อยู่ในเกณฑ์ยากจน 3.5 ล้านคน ที่รอคอยเงินที่รัฐให้ความหวังว่าจะได้เพิ่มขึ้นอีกในแต่ละเดือน

         ก่อนสิ้นปี 2560 นี้ รัฐบาลเตรียมเ6ปิดให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะแจ้งสละสิทธิ์ไม่รับเบี้ยยังชีพ และให้รัฐนำงบที่เหลือส่งเข้ากองทุนผู้สูงอายุ รวมกับ 2% ของรายได้จากภาษีเหล้า บุหรี่ เพื่อนำไปช่วยผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มยากจน 3.5 ล้านคนเพิ่มเติม นอกเหนือจากเบี้ยยังชีพที่ได้รับอยู่แล้วในแต่ละเดือน
         รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีประมาณ 10.3 ล้านคน แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะดี ปานกลางประมาณ 6.8 ล้านคน และผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 2,644 บาทต่อเดือนมีจำนวน 3.5 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ แต่ลูกหลานส่งเงินให้ใช้จ่ายแต่ละเดือน
         ในจำนวน 10.3 ล้านคนนี้ มี 8.1 ล้านคน ที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ คนละ 600-1,000 บาทต่อเดือน โดยรัฐบาลใช้งบประมาณปีนี้ 64,770 ล้านบาท ซึ่งจำนวน 8.1 ล้านคนนี้ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 3.5 ล้านคนที่ยากจนดังกล่าว รัฐบาลจึงหามาตรการเพิ่มเงินให้กลุ่มนี้ คาดว่าจะได้รับเงินเพิ่มช่วงต้นปีหน้า  ที่มาของเงินที่จะให้ความช่วยเหลือเพิ่มนี้ ยังต้องรอขั้นตอนการออกกฎหมาย หลังจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2560 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ที่กำหนดให้กองทุนผู้สูงอายุสามารถนำเงิน 2% ของรายได้จากภาษีสุรา และยาสูบ จากกรมสรรพสามิต หรือไม่เกิน 4,000 ล้านบาท มาสมทบในกองทุนผู้สูงอายุ                                                                                                                                 นอกจากนี้ยังมีเงินที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีฐานะสละสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพมาสมทบในกองทุนด้วยเช่นกัน ขณะนี้กฎหมายฉบับนี้ อยู่ระหว่างตรวจ ร่าง โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนส่งกลับครม.เพื่อส่งต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขณะเดียวกันระหว่างนี้กระทรวงการมหาดไทย กระทรวงการคลัง เตรียมแผนรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เพื่อเปิดให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี มาลงทะเบียนสละสิทธิ์ไม่รับเบี้ยยังชีพ หากสละสิทธิ์กันมาก ก็จะทำให้มีเงินในกองทุนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

ชรา 3
          มีการประเมินว่า หากมีผู้สละสิทธิ์ 100,000 คน จะมีเงินเข้ากองทุน 800 ล้านบาท ถ้าสละสิทธิ์ 300,000 คน มีเงินเข้ากองทุน 2,400 ล้านบาท สละสิทธิ์ 500,000 คน มีเงินเข้ากองทุน 4,000 ล้านบาท และสละสิทธิ์ 1 ล้านคน มีเงินเข้ากองทุน 8,000 ล้านบาท โดยแต่ละปีจะเปิดให้ผู้สละสิทธิ์ แจ้งความประสงค์สละสิทธิ์หรือแจ้งยกเลิกสละสิทธิ์ และกลับมารับเบี้ยยังชีพได้เช่นเดิม

ชรา4
           สำหรับกรณีที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่ปัจจุบันให้เบี้ยตามอายุ คือ อายุ 60-69 ปีรับเดือนละ 600 บาท อายุ 70-79 ปี รับเดือนละ 700 บาท อายุ 80-89 ปี รับเดือนละ 800 บาท และ อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเดือนละ 1,000 บาท มีคำยืนยันจากแหล่งข่าวกระทรวงการคลัง ว่า ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีแผนการให้เพิ่ม แต่จะให้เพิ่มกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน 3.5 ล้านคนดังกล่าวเท่านั้น