KTC - ซื้อ

KTC - ซื้อ

การปรับลดสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯหนุนกำไรกิจการ

ประเด็นการลงทุน

เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ KTC ขึ้น 10% สำหรับปี 2560 มาอยู่ที่ 2.75 พันล้านบาทและ 9% สำหรับปี 2561 มาอยู่ที่ 3.0 พันล้านบาท การปรับกำไรเพิ่มเป็นผลมาจาก การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯเชิงผ่อนคลายมากขึ้นหลังจากที่ KTC สามารถเพิ่มอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นไปแตะที่ 528% ในปลายเดือนมิ.ย.ด้วยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมต่ำที่ 1.57% ส่งผลให้เราปรับสมมติฐานการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯสำหรับปี 2560 และ 2561 ลงจาก4.3 พันล้านบาทมาอยู่ที่ 4 พันลานบาทสำหรับทั้ง 2 ปีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสุทธิของ KTC ในปลายเดือนมิ.ย.อยู่ที่เพียง 5.1 เท่า ต่ำกว่าอัตราส่วนเงื่อนไขของเพดานเจ้าหนี้ของบริษัทที่ 10 เท่า ดังนั้นบริษัทอาจขยายธุรกิจไปได้อีกหลายปีโดยไม่ต้องเพิ่มทุน การปรับเพิ่มประมาณการกำไรส่งผลให้เราปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2560 ขึ้น 14% มา
อยู่ที่ 139 บาท อ้างอิงจากค่า PER ที่ 13 เท่า เราปรับเพิ่มคำแนะนำการลงทุนจาก ถือ เป็น ซื้อ

สินเชื่ออาจโตน้อยในไตรมาส4/60 เนื่องจากกฎเกณฑ์ใหม่ของธปท.

ณสิ้นเดือน มิ.ย. สินเชื่อรวมของ KTC อยู่ที่ 6.7 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น10%YoY เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทคาดซึ่งหนุนโดยแคมเปญทางการตลาดเชิงรุก ทว่าในเดือนพ.ค. ธปท.ออกกฎเกณฑ์ใหม่โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ย. ในการกำ หนดควบคุมการปล่อยสินเชื่อใหม่สำ หรับผู้สมัครที่มีเงินเดือนตำกว่า 3 หมื่นได้ไม่เกิน 1.5 เท่าของเงินเดือน และ ไม่เกิน 3 เท่า สำหรับผู้สมัครที่มีรายได้ระหว่าง 3-5 หมื่นต่อเดือน โดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะกดดันโอกาสในการขยายฐานสินเชื่อ KTC ในไตรมาส4/60 และในปีหน้า
แต่สมมติฐานการเติบโตของสินเชื่อยังคงอยู่ที่ 8.5% สำหรับปีนี้และ 6.5% สำหรับปีหน้า ทั้งนี้กฎเกณฑ์ใหม่จะไม่มีผลกับลูกค้าเดิม ดังนั้นเราคาดว่าการสมัครบัตรเครดิตใหม่ และ/หรือสินเชื่อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก

ปรับลดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯในปี 2560-2561 ...

ในปลายเดือนมิ.ย. KTC ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของ KTC อยู่ที่ 528% ของสินเชิ่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่เหลือของปีและในปี 2561 เนื่องจากกิจการมีแผนในการปรับนโยบายการสำรองค่าเผื่อฯ ให้อยู่ในระดับตามความสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง จากนโยบายเดิมที่8.5% ของสินเชื่อรวม ดังนั้น KTC อาจปรับลดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ ตั้งแต่ช่วงครี่งหลังปี 2560 ดังนั้นเราได้ปรับลดประมาณการการตั้งสำรองฯ สุทธิลงจาก 4.3 พันล้านบาท สำหรับทั้งปี 2560 และ 2561 มาอยู่ที่ 4 พันล้านบาท/ปี ในทั้งสองปีดังกล่าว การตั้งสำรองฯ ที่ลดลงน่าจะสามารถลดผลกระทบจากนโยบายใหม่ของ ธปท. ที่ปรับลดเพดานการชาร์จอัตราดอกเบี้ยลงจาก 20% มาอยู่ที่ 18% (มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ย.) ได้บ้าง

ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดอาจสูงในครึ่งปีหลัง

เราคาด KTC จะใช้เงินประมาณ 1.2-1.3 พันล้านบาทสำหรับทำการตลาด(ผู้บริหารกล่าว) สูงขึ้นจาก 1.1 พันล้านบาทในปีที่แล้ว โดยจะใช้เงินเหล่านี้ในการกระตุ้นสินเชื่อให้เติบโต และเพิ่มปริมาณการจับจ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายครึ่งหลังปี 2560 (ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดอยู่ที่ 417 ล้านบาทในครึ่งแรกของปี 2560 ลดลง 22% YoY) เราคาดอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ 48.5% ในปี 2560 ลดลงจาก 50.4% ในปีที่แล้ว เนื่องจากพอร์ตสินเชื่อบริษัทเติบโตค่อนข้างดีในครึ่งปีแรก แต่หากการบริโภคในครึ่งปี
หลังชะลอตัว KTC อาจจำเป็นต้องมีงบสำหรับทำการตลาดเพิ่มขึ้น