ย้อนรอยแก๊ง'นายพล'อุ้มนักธุรกิจจีนรีดเงิน 20 ล้าน

ย้อนรอยแก๊ง'นายพล'อุ้มนักธุรกิจจีนรีดเงิน 20 ล้าน

อะไรเกิดขึ้นกับสังคมไทย...เมื่อทหาร ตำรวจ กลายเป็นผู้ร้ายมากขึ้นใช้ยศและตำแหน่งก่อเหตุข่มขู่ผู้บริสุทธิ์ คำถามคือ..แล้วประชาชนจะพึ่งใคร

การจับตัวนายสุรชัย เหล่าย่าง นักธุรกิจชาวจีนเจ้าของบริษัทท่องเที่ยว คันตาร์ กรุ๊ป ไทยแลนด์ จำกัด ไม่ได้เป็นกรณีแรกที่คนมีสีเข้าไปเกี่ยวข้อง...เพราะถ้ายังจำกันได้คดีอุ้มสาวทอมแล้วนำไปฆ่าฝั่งดินในรีสอร์ท ร้างแห่งหนึ่งที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นคดีดังเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้ ก็พบว่ามีนายตำรวจใหญ่ เป็นคนบงการจ้างวานฆ่า และมีข้าราชการทั้งกำนัน และ อดีตตำรวจ –ทหาร ที่ร่วมขบวนการอุ้มฆ่าด้วย ได้ค่าจ้าง 2แสนบาท ด้วยปมชู้สาวจนสำไปสู่การฆาตรกรรม

สำหรับคดีอุ้มลักพาตัวนายสุรชัย นักธุรกิจชาวจีน แม้คดีต่างกันกับอุ๊มฆ่า แต่ที่เหมือนกันคือ เจ้าหน้ารัฐ ที่เป็นคนมีสี เป็นการบงการ ซึ่งคดีนี้คนมีสีข่มขู่กล่าวหาทำเอกสารทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชนปลอมเพื่อเรียกเงิน 20ล้านบาท แลกกับการปล่อยตัว โดยในคดีนี้มีผู้ร่วมขบวนการมากกว่า 10คน มีตั้งแต่ระดับนายพลและนายทหาร รวมถึงยศนายพันตำรวจ เกี่ยวข้อง นอกนั้นก้เป็นกลุ่มพลเรือน ที่ร่วมมือโดยอ้างตัวเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบสังกัด 191 และกองปราบปราม

โดยกลุ่มคนร้าย 9 คน ไปที่บริษัท คันต้า กรุ๊ป ไทยแลนด์ และจับตัวนายสุรชัย จากนั้นกลุ่มคนร้ายก็พาขึ้นรถ เพื่อไปพบ พล.ต.จรูญ อำภา ทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ที่โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ดอนเมือง โดยมี นายโก๊ะ เต็ก ชวน ชาวสิงคโปร์ เป็นคนขับรถ และเป็นล่ามภาษาจีนไปในตัว มีชายใส่เครื่องแบบทหารนั่งประกบ

เมื่อที่ถึงหมาย...พล.ต.จรูญ ข่มขู่ให้นายสุรชัย จ่ายเงิน 20ล้านบาท ด้วยสาเหตุทำเอกสารทะเบียนราษฎ และบัตรประชาชนปลอม แต่นายสุรชัย ขอเจรจาต่อรองเงินค่าไถ่จนเหลือ 2 ล้านบาท โดย 1 ล้านแรกจ่ายเงินให้นายโอภาส ศรียา 1 ในกลุ่มคนร้ายที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.ถนนวิภาวดีรังสิต หลังจากได้รับการปล่อยตัวแล้ว วันที่ 17 ก.ค. ผู้เสียหาย ก็โอนเงินส่วนที่เหลืออีก 1 ล้านบาทเข้าบัญชีนายโอภาส ศรียา อีกครั้ง

การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องมาจากทางญาติได้เข้าไปร้องทุกข์ต่อ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง จึงได้สั่งการให้สายตรวจพิเศษ 191 สืบสวนและติดตามจับกุมคนร้าย

หลังรวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวน สน.โคกคราม ขออนุมัติศาลออกหมายจับทั้งหมด 10 คน โดยมีพล.ต.จรูญ อำภา สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย,พ.ต.ต.ณัฐกฤษต์ ยุทยา สว.(สอบสวน) กก.5 บก.ปอศ. ส่วนอีก 8 รายเป็นทหารและพลเรือน

พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบก.สปพ. บอกว่า ต้นสังกัดของกลุ่มคนร้ายที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ได้มีคำสั่งให้ออกจากราชการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทั้งทางวินัยและทางอาญากับกลุ่มผู้ก่อเหตุ

ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม บอกว่า คดีอุ้มนักธุรกิจเรียกค่าไถ่เป็นเรื่องของบุคคล ไม่เกี่ยวกับกองทัพ หรือ คสช. ซึ่งความผิดเข้าข่ายคดีอาญา และมีโทษที่จะต้องออกจากราชการ โดยจะต้องเน้นย้ำไม่ให้ทหารเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย แต่ไม่ว่าใครทำผิด หรือจะเป็นนายพลก็ต้องถูกลงโทษ

พร้อมยืนยันว่า ทางกองทัพไม่มีการให้ความช่วยเหลือ หากผิดให้ดำเนินการเต็มที่ตามกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการทางคดีอาญาจะมีความผิดร้ายแรงกว่าวินัยทหาร เพราะจะไปอุ้มใครนั้นไม่สามารถทำได้