Daily Market Outlook (21 ก.ค.60)

Daily Market Outlook (21 ก.ค.60)

สัญญาณเศรษฐกิจโลกฟื้นชัดเจนขึ้น

คาดหุ้นไทยเดินหน้าได้วันนี้จากสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น คือ การที่ ECB จะเริ่มพิจารณาลดทอนมาตรการกระตุ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ หลังจากธนาคารกลางหลักหลายแห่งส่งสัญาณไปก่อนหน้าอย่างไรก็ตามนักลงทุนยังไม่ค่อยสบายใจนักกับการที่ประธานาธิบดี Trump ไม่สามารถออกกฎหมายปฏิรูปสาธารณสุขได้ กฎหมายดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้วนำมาใช้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ Trump จึงทำให้ไม่สามารถเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามที่หาเสียงไว้ ปัจจัยภายในประเทศเป็นบวก ส่งออกโต 11.7% ในเดือนมิ.ย.หลังจากโต 12.7% ในเดือน พ.ค. การนำเข้าที่โต 13.7% ในเดือน มิ.ย.เป็นหลักประกันว่าการส่งออกในเดือนต่อๆไปจะยังคงแข็งแกร่ง ธนาคารขนาดใหญ่เริ่มสินเชื่อเดินในเดือน มิ.ย.สอดคล้องมุมมองของเราว่าสินเชื่อจะเร่งตัวในครึ่งปีหลัง

หุ้นเด่นวันนี้ BCP(ราคาปิด 34.00 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมาย 40.00 บาท)

เราเลือก BCP เป็น Pick of the day จากการที่ธุรกิจโรงกลั่นได้รับผลบวกจากค่าการกลั่นรีบาวด์กลับ ตั้งแต่ พ.ค.60 ทำให้คาดว่า BCP จะสามารถรักษาฐานกำไรสุทธิได้ดีต่อเนื่องทั้งในไตรมาส 2/60 และ 3/60 นอกจากนี้ธุรกิจยังกระจายตัวดีมีทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ค้าปลีก และโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ BCP ยังเข้าลงทุน 16.4% ใน Lithium Americas Corp. หรือ LAC ซึ่งเป็น บจ.ในแคนาดา เป็นเงินลงทุน 114 ล้านบาท และลงทุน 50% ในเหมืองลิเธียมที่ประเทศอาร์เจนตินาและประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมูลค่าการลงทุน 1,200 ล้านบาท ราคาลิเทียมปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ เนื่องจากถูกนำไปใช้สำหรับการผลิตแบตเตอรี่สำรองเก็บไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ นอกจากนี้ BCP ถือหุ้น 70.30% ใน BCPG ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่นตามสัญญารวม 324 เมกะวัตต์ อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2560 และปี 2561 เท่ากับ 16% และ 7% ตามลำดับ เราคาดปันผลตอบแทนปีละ 1.80 บาท สูงถึง 5.3% ต่อปี โดยเราคาดว่าจะประกาศปันผลระหว่างกาล ในเดือน ส.ค. เท่ากับ 0.80-1.0 บาท คิดเป็นผบตอบแทนรอบนี้ 2.3%-2.9% ปัจจุบัน PER ยังต่ำเพียง 8.4 เท่า PEG เท่ากับ 0.52 เท่ายังนับว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสม เราให้ราคาเป้าหมาย 40 บาท ยังมี Upside อีก 17% Price Pattern ของ BCP ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily & Monthly Buy Signal รอเพียงการกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่เท่านั้นก็จะทำให้ Price Pattern ของ BCP เข้าสู่แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) อย่างเต็มตัว โดยหาก Price Pattern ของ BCP สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ (วันนี้) ได้เหนือ 34.25 บาทเป็นอย่างน้อย ก็จะทำให้ Price Pattern ของ BCP กลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ BCP มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ 34.25 บาท ซึ่งหาก Price Pattern ของ BCP สามารถ Break ด้วยการปิดตลาดเหนือ 34.25 บาทได้สำเร็จ ก็จะมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ 36.50 บาท ทั้งนี้ BCP มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 32.50 บาท (Resistance: 34.25, 34.75, 35.00; Support: 33.75, 33.50, 33.00)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• ส่งออกเดือนมิ.ย. ขยายตัว 11.7% YoYอยู่ที่ 2.03 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแม้ว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หนุนโดยความต้องการสินค้าแข็งแกร่งจากตลาดที่สำคัญๆ ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 13.7% YoYอยู่ที่ 1.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ รส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 7.8% YoYอยู่ที่ 1.14 แสนล้านดอลลาร์ และนำเข้าเพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 1.07 แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 6.97 พันล้านดอลลาร์ (บางกอกโพสต์)

• รัฐเตรียมช่วยคลายความกังวลเงินบาทแข็งค่า โดยเฉพาะกลุ่ม SME ผ่านการจัดการมาตรการเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทเหล่านี้เข้าถึงเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ก.การคลังมองว่าผลกระทบเรื่องเงินบาทแข็งค่ายังไม่ใช่ประเด็นสำคัญเนื่องจากผู้ส่งออกรายใหญ่ส่วนใหญ่ได้เตรียมการไว้แล้ว (บางกอกโพสต์)

• ธปท.ยังไม่กังวลเรื่องหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น แต่จะเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ถึงแม้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ธปท.กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวในวงกว้าง (ไทยโพสต์) ความเห็น: เราคาดระดับหนี้เสียจะค่อยๆ ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากจะมีช่วงระยะเวลาล่าช้าจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว (lag effect)

ต่างประเทศ:

• ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีเทียบกับเงินยูโรเมื่อวันพฤหัส หลังนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เผยว่า ECB จะหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวงเงินในการซื้อพันธบัตรในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงต่ำสุดในระหว่างวันที่ 94.090 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบปี (Reuters)

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปิดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อวันพฤหัส ขณะที่การซื้อพันธบัตรผูกติดกับข้อผูกพันของ ECB เกี่ยวกับภาวะเงินผ่อนคลาย (easy money) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวลง 0.2 bps อยู่ที่ 2.266% (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อวันพฤหัส โดยดัชนีหลัก ๆ ใกล้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากฤดูการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/60 ทวีความร้อนแรง หุ้นกลุ่มค้าปลีกได้ฉุดดัชนีดาวโจนส์และ S&P500 เนื่องจากมีหุ้นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่มีผลการดำเนินงานตกต่ำลง ในขณะที่ดัชนีแนสแดคปิดบวก (Reuters)

• จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงมากกว่าที่คาดในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน บ่งชี้ว่าการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จำนวนผู้ที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 15,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 233,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 245,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวอยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 300,000 รายคิดต่อกัน 124 สัปดาห์แล้ว ซึ่งเป็นระยะเวลานานที่สุดนับแต่ปี ค.ศ. 1970 (Reuters)

ยุโรป:

• หุ้นยุโรปร่วงเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้นตามการประชุม ECB ทำให้ถ่วงน้ำหนักกลุ่มส่งออก ระหว่างที่ผลการดำเงินที่น่าผิดหวังของบางบริษัทที่ประกาศออกมาฉุดตลาดเช่นกัน (Reuters)

• ECB คงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในระหว่างการประชุมวานนี้ แต่ประธาน Mario Draghiกล่าวว่าผู้กำหนดนโยบายอาจมีการหารือเรื่องการลดการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ แม้ Draghiยังไม่ได้กำหนดเวลาในการหารือดังกล่าวที่ชัดเจน แต่นักลงทุนคาดว่าการพูดคุยนี้อาจก่อให้เกิดการลดนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในปีหน้าได้ (Reuters)

เอเชีย:

• BOJ มีมติคงนโยบายการเงินเมื่อวันพฤหัส แต่เลื่อนเวลาในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ออกไป หนุนความเห็นว่าBOJ จะดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นทางการเงินช้ากว่าธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ ด้วยการส่งออกและการบริโภคของภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง เป็นที่คาดว่า BOJ จะมีมุมมองเศรษฐกิจที่สดใสกว่าในเดือนมิ.ย. (Reuters)

• ดัชนีหลัก ๆ ของตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันเมื่อวันพฤหัส นำโดยหุ้นบลูชิปและแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน โดยตลาดปรับตัวขึ้นจากการคาดการณ์ผลประกอบการครึ่งปีแรกของบริษัทจดทะเบียนจะออกมาสดใส (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• น้ำมันปรับตัวลงเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากความกังวลเรื่องปริมาณน้ำมันที่ล้นเกินจะกดดันราคา แม้ราคาเบรนท์จะวิ่งเหนือ 50 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.ในช่วงแรกของการซื้อขายก็ตาม ราคาเบรนท์ปิดที่ 49.30 ดอลลาร์ โดยลดลง 40 เซนต์ (-0.8%) ราคาน้ำมันสหรัฐลดลง 33 เซนต์ อยู่ที่ 46.79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (Reuters)

• ทองทิศทางผสมผสานเมื่อวานนี้ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 2 ปีสวนทางค่าเงินยูโร ราคาทองคำตลาดจรเพิ่มขึ้น 0.1% อยู่ที่ 1,241.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม ราคาทองล่วงหน้าลดลง 0.1% อยู่ที่ 1,240.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (Reuters)