DTAC - ซื้อ

DTAC - ซื้อ

รายได้บริการเติบโต YoY เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2/57

ประเด็นการลงทุน

เรามองเห็นสองปัจจัยบวกจากผลประกอบการไตรมาส 2/60 ซึ่งได้แก่ รายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) เติบโต YoY เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2/57 เป็นต้นมา และผลขาดทุนจากธุรกิจขายเครื่องที่ลดลงจากการลดเงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์ เราประเมินว่าหุ้น DTAC ไม่ใช่เป็นหุ้นปันผลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมองว่าไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใดจากการที่ DTAC ไม่
จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแต่เก็บเงินสดสำรองไว้สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ในปีหน้า เราคาดในประมาณการว่าจะไม่มีเงินปันผลระหว่างกาล ในช่วงปี 2560-62 DTAC ถือว่าเป็นหุ้นที่เราเลือกสำหรับการลงทุนเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มสื่อสาร เนื่องจากผลประกอบการหลักที่พลิกฟื้นอย่างชัดเจน ปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นในระยะสั้น ได้แก่ การเซ็นสัญญาคลื่นความถี่
2.3 กิกะเฮิร์ซกับทีโอทีอย่างเป็นทางการซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/60 และปัจจัยบวกในระยะยาวได้แก่ การเปิดประมูลคลื่นความถี่ของกสทช.ในปี 2561 ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหุ้น DTAC เนื่องจากราคาชนะประมูลสุดท้ายมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าราคาประมูลของสองคลื่นความถี่ของกสทช.ในครั้งก่อนหน้า และราคาหุ้น ณ ปัจจุบันซึ่งถือว่าถูกมาก โดย
อัตราส่วน EV/EBITDA อยู่เพียงแค่ 6.2 เท่าในปี 2560 และ 6.7 เท่าในปี 2561


สรุปผลประกอบการไตรมาส 2/60—สูงกว่าคาดอย่างมีนัยสำคัญ

DTAC รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2/60 ที่ 743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 426% YoY และ 224% QoQ ในขณะที่กำไรหลักในไตรมาสนี้อยู่ที่ 739 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% YoY และ 248% QoQ กำไรสุทธิและกำไรหลักสูงกว่าคาดคิดเป็น 175% และ 188% ตามลำดับเนื่องจากรายได้บริการที่สูงกว่าคาด และต้นทุนบริการที่ต่ำกว่าคาด (ซึ่งมาจากต้นทุนด้านกฎระเบียบและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงข่าย) และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงานที่ต่ำกว่าคาด (ซึ่งมาจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาด) ขาดทุนจากธุรกิจขายเครื่องโทรศัพท์ที่ทำการปรับปรุงใหม่ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 575 ล้านบาท หรือ คิดเป็นขาดทุนลดลง 35% YoY และ 21% QoQ เนื่องจากเงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์ที่ลดลง รายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) ในไตรมาสนี้ถือว่าเพิ่มขึ้น YoY เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2/57 เป็นต้นมา และเติบโต QoQ (ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงโลว์ซีซั่นก็ตาม) ผลกระทบที่ตามมาได้แก่ ส่วนแบ่งรายได้บริการของ DTAC เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส 2/60 รายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) เพิ่มขึ้น 2.3% YoY และ 1.1% QoQ หนุนโดยรายได้บริการโพสต์เพดที่เพิ่มสูงขึ้น (ดูรายละเอียดในหน้าที่ 4)

ยังคงเป้า EBITDA ปี 2560 เท่าเดิมถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ซในไตรมาส 4/60

บริษัทยังคงเป้าผลการดำเนินงานสำหรับปี 2560 ไว้คงเดิมซึ่งได้แก่ รายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) ทรงตัว EBITDA อย่างน้อยเท่ากับปี 2559 และงบลงทุนที่ 1.7-2 หมื่นล้านบาท เราเชื่อว่าแบรนด์ดิ้งและคุณภาพโครงข่ายของ DTAC มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 จนถึงปี 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่บริษัทเริ่มใช้งานคลื่นความถี่
2.3 กิกะเฮิร์ซของทีโอทีเพื่อที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพบริการข้อมูลในเนื้อที่ที่มีแทรฟฟิกแออัด เราประเมินว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ซเข้ามาในไตรมาส 4/60 ถ้าเป้า EBITDA สำหรับปี 2560 (ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ซในไตรมาส 4/60) ยังคงเท่ากับปีก่อนหน้า นั่นหมายถึง EBITDA สำหรับครึ่งหลังของปี 2560 (ที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ซ) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น HoH EBITDA มาร์จิ้นสำหรับไตรมาส 2/60 ซึ่งอยู่ที่ 40.5% ถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมานับตั้งแต่ไตรมาส 4/47 เป็นต้นมา แต่เราคาดว่า EBITDA มาร์จิ้นไม่น่าจะที่สูงในระดับนี้ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามปัจจัยด้านฤดูกาล และรายได้เดือนต.ค.ที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงในหลวงร.9

ไม่มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับครึ่งแรกของปี 2560

บริษัทตัดสินใจที่จะไม่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 เนื่องจากบริษัทต้องการเก็บเงินสดไว้เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความสามารถทางการเงิน สำหรับการเข้าประมูลคลื่นความถี่ของกสทช.ในปี 2561 (เมื่อคลื่นความถี่ของสัมปทาน DTAC ต้องคืนกลับไปให้กับกสทช.เพื่อทำการประมูลใหม่หลังสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทาน)