Daily Market Outlook (6 ก.ค.60)

Daily Market Outlook (6 ก.ค.60)

ปัจจัยภายนอกสวนทางกันเอง

คาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวไม่ได้ไกลวันนี้จากปัจจัยภายนอกที่สวนทางกันเอง รายงานประชุม Fed ล่าสุดมีความเห็นต่างทั้งเรื่องเวลาของการขึ้นดอกเบี้ยและเวลาของการลดขนาดงบดุลของ Fed เอง ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐก็ออกมาทั้งดีและไม่ดี ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดจากยูโรโซนและญี่ปุ่นดีมาก แต่จากจีนอ่อนลงไป ซึ่งสะท้อนโดยอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลังสหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์และราคาทองคำที่ทรงตัว ราคาน้ำมันขยับขึ้นเช้านี้หลังร่วงแรงเมื่อคืน ปัจจัยภายในประเทศค่อนไปทางบวก ธปท.คงดอกเบี้ยและนโยบายการเงิน แต่ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปีนี้ขึ้นเป็น 3.5% ปีหน้าเป็น 3.7% จาก 3.4% และ 3.6% เดิม จำนวนผู้ใช้สนามบินหลักพุ่ง 7.7% ใน 5 เดือนแรก เป็น 56.2 ล้านคน

หุ้นเด่นวันนี้: MINT (40.50 บาท; ซื้อ, ราคาเป้าหมาย IAA ปี 60 43.50 บาท)

บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั้นแนล เป็นบริษัทประกอบธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารระดับโลกซึ่งจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตัวเลขการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขาขึ้นและมาตรการใช้จ่ายลงทุนของภาครัฐ คาดว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาไทยน่าจะเติบโตได้ 8% ปีนี้สู่ 35.2 ล้านรายจากนักท่องเที่ยวรัสเซียที่มากขึ้นและนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมา MINT ครอบครองโรงแรมในพอร์ตจำนวน 155 แห่ง หรือ 19,794 ห้องและร้านอาหาร 2,017 และร้านค้าปลีก 329 ร้านใน 32 ประเทศ การเติบโตของรายได้ในปีนี้ผลักดันโดยรายได้ต่อห้อง (RevPar) ที่เพิ่มขึ้นเพราะมีการปรับปรุงโรงแรมในเครือทั่วโลกและจากจำนวนห้องพักเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับธุรกิจอาหาร มีแผนขยายจำนวนร้านอาหารเพิ่มขึ้นและเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย จีน สิงคโปร์และออสเตรเลีย ซึ่งจะช่วยยอดขายร้านอาหารโดยรวม (TSS) เติบโตได้ ตามค่าเฉลี่ยของสมาคมนักวิเคราะห์ประมาณการกำไรของ MINT หดตัวก่อน 14% ในปีนี้แต่กลับมาเติบโต 14% ในปี 2561 Price Pattern ของ MINT มีความแข็งแกร่งอย่างมากในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal โดย Price Pattern ก็ได้บ่งบอกถึงการทำ New High อีกด้วย โดยมีเป้าหมายแรกเพื่อทดสอบ High เดิมที่ 43 บาท และมีเป้าหมายแรกของการทำ New High อยู่ที่ 45.50 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ MINT มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 40 บาท (แนวต้าน: 7.65, 7.70, 7.75; แนวรับ: 7.55, 7.50, 7.45)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• คงดอกเบี้ยนโยบายตามคาด วานนี้ กนง.โหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% (Bangkok Post)

• กนง.ปรับคาดการณ์เติบโตเศรษฐกิจปีนี้ขึ้น เป็น 3.5% จาก 3.4% หลังจากที่ปรับการเติบโตส่งออกของปีนี้เป็น 5% จาก 2.2% นอกจากนี้ ยังได้ปรับการเติบโตนำเข้าของปีนี้เช่นกันเป็น 10.9% จาก 7.2% ส่วนหนึ่งหนุนโดยการเติบโตของส่งออก นอกจากนี้ กนง.คาด GDP จะเติบโต 3.7% ในปี 61 ปรับขึ้นจากประมาณการก่อนหน้าที่ 3.6% (Bangkok Post)Comment: ตัวเลขคาดการณ์การเติบโต GDP ปี 60 ใหม่ของ กนง. เป็นไปตามประมาณการของเราที่ 3.5% เช่นกัน

• จดทะเบียนโรงงานใหม่หกเดือนแรกลดลง 1.7% เหลือ 2,042 โรงงาน เงินลงทุนรวม 1.26 แสน ลบ. เป็นเพราะนักลงทุนกังวลเศรษฐกิจโลกและไทย อย่างไรก็ดี กรมโรงงานอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่าการลงทุนจะกลับมาในอนาคตจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) (Bangkok Post)

• ผู้โดยสารห้าเดือนแรกเพิ่ม 7.71% หรือไปถึง 56.2 ล้านรายผ่านท่าอากาศยานหลักของประเทศ เป็นเพราะการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนหลังจากที่มีการเข้มงวดเรื่องทัวร์ศูนย์เหรียญตั้งแต่เมื่อ ก.ค.ปีที่แล้ว (Bangkok Post)


ต่างประเทศ:

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลงเมื่อวันพุธ จากความกังวลเกี่ยวกับยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐที่ลดลงในขณะที่ยืนใกล้ระดับสูงสุดในช่วงที่ผ่านมาจากมุมมองว่านโยบายทางการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกกำลังเป็นไปอย่างเข้มงวดมากขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่าง ๆ อยู่ใกล้ระดับสูงสุดเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปิดที่ระดับ 2.332% หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 2.357% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 ปีแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 1.598% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ระดับ 1.414% ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีเมื่อวันจันทร์ที่ 1.426% (Reuters)

• ดอลลาร์สหรัฐเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อวันพุธ เนื่องจากรายงานการประชุมล่าสุดของเฟดแสดงความเห็นต่างของคณะกรรมการเฟดเกี่ยวกับทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐด้วยสัญญาณเงินเฟ้ออ่อนตัวลง ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวที่ระดับ 96.237 หลังปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ในไตรมาส 2/60 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลง 4.71% QoQซึ่งเป็นการลดลงเทียบเป็นรายไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาส 3/53 เงินยูโรเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ระดับ 1.1348 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลง 0.1% เทียบกับเงินเยนสู่ระดับ 113.14 เยน (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดผสมผสานเมื่อวันพุธ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ดิ่งลง 4% จากความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันส่งออกจากโอเปคที่สูงขึ้นได้ฉุดราคาหุ้นกลุ่มพลังงานลงและเป็นผลให้ดัชนีดาวโจนส์และ S&P500 ปิดในกรอบแคบ ๆ ส่วนดัชนีแนสแดคได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (Reuters)

• คณะกรรมการเฟดมีความเห็นต่างมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มของเงินเฟ้อและผลกระทบของเงินเฟ้อต่อทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต จากรายงานการประชุมเฟดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13-14 มิ.ย. ที่ผ่านมา รายงานการประชุมดังกล่าวเผยให้เห็นว่ามีเจ้าหน้าที่เฟดบางรายมองว่าราคาหุ้นอาจสูงเกินจริงเมื่อเทียบกับการประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นมาตรฐาน ถึงแม้ว่าการเติบโตของกำไรสุทธิในไตรมาส 1/60 จะแข็งแกร่งก็ตาม (Reuters)

• ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐลดลงผิดคาดเดือนพ.ค. แต่ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐานแข็งแกร่งกว่าที่มีรายงานก่อนหน้านี้ เป็นการชี้ว่าภาคการผลิตยังคงเติบโตดีพอควร ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานลดลง 0.8% หลังจากตัวเลขแก้ไขล่าสุดในเดือนเม.ย. ลดลง 0.3% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกัน 2 เดือน ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดว่ายอดสั่งซื้อภาคโรงงานจะลดลง 0.5% ในเดือนพ.ค. หลังจากตัวเลขก่อนหน้าในเดือนเม.ย. ลดลง 0.2% ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 4.8% YoY อย่างไรก็ตาม ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาวุธและเครื่องบิน ขยับขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ค. หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนเม.ย. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 1.1% คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เกี่ยวกับเหมืองแร่ บ่อน้ำมันและแหล่งก๊าซเพิ่มขึ้น 8.5% (Reuters)

ยุโรป:

• หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเมื่อวันพุธ หนุนโดยหุ้นกลุ่มสินค้าบริโภค นำโดย Adidas เนื่องจากแนวโน้มกำไรที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ร่วงจำกัดการปรับตัวขึ้นของตลาด (Reuters)

• เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาส 2/60 เติบโตแตะนิวไฮในรอบ 6 ปี ดัชนี final Markit Eurozone PMI Composite Output เดือน มิ.ย.ร่วงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 56.3 จุด แต่ยังดีกว่าคาดการณ์ที่ 55.7 และต่ำกว่าตัวเลขเดือน เม.ย. และ พ.ค. เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดัชนีสำหรับทั้งไตรมาส 2/60 อยู่ที่ 56.6 จุด ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 1/54 (IHS Markit)

เอเชีย:

• ฝนตกหนักในญี่ปุ่น: มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คนและอีก 400,000 คนถูกบังคับให้ออกจากบ้านหลังฝนตกชุกในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นเป็นวันที่สองในวันพฤหัสบดี ส่วนจังหวัดฟุกุโอกะที่เกาะ Kyushu ทางตะวันตกเฉียงใต้มีฝนตกถึง 774 มิลลิเมตร (30.5 นิ้ว) ในเวลา 9 ชั่วโมงในวันพุธซึ่งเป็นเวลาประมาณ 2.2 เท่าของปริมาณฝนที่ตกตามปกติในเดือนกรกฏาคม (NHK)

• ภาคบริการของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 22 เดือน ดัชนีกิจกรรมภาคบริการของ Nikkei Japan Service Business เพิ่มขึ้นเป็น 53.3 ในเดือนมิถุนายน จาก 53.0 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี ภาคบริการที่แข็งแกร่งเช่นนี้ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต Nikkei Composite Output เริ่มมีการขยายตัวที่ระดับ 52.9 ในเดือนมิถุนายนลดลงเพียงเล็กน้อยจากระดับ 53.4 ในเดือนพฤษภาคมแม้ว่าจะมีการผลิตการผลิตที่ชะลอลง(IHS Markit)

• กิจกรรมทางธุรกิจของจีนขยายตัวในอัตราชะลอตัวเป็นเวลา 1 ปี: Caixin China Composite PMI ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของธุรกิจจีนทั้งหมดในช่วงปลายไตรมาส 2/60 ที่ 51.1 ในเดือนมิถุนายน ดัชนีผลผลิตคอมโพสิตลดลงจาก 51.5 ในเดือนพฤษภาคม เป็นสัญญาณว่าอัตราการขยายตัวที่ช้าที่สุดในรอบปี ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจของธุรกิจบริการทั่วไปของ Caixinประเทศจีนมียอดขาย 51.6 ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ 52.8 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งส่งสัญญาณถึงการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมที่สองเป็นเวลา 13 เดือน (หลังจากเดือนเมษายนปี 2560) ในขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยในอัตราที่ลดลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (IHS Markit)


สินค้าโภคภัณฑ์:

• ราคาน้ำมันร่วง 4% วันพุธ กลับตัวจากที่เป็นบวกรายวันต่อเนื่องเยอะสุดในรอบกว่าห้าปี เพราะ OPEC ส่งออกมากขึ้นและดอลลาร์ที่แข็งค่าหนุนการขาย น้ำมันดิบเบรนท์ร่วง 1.82 ดอลลาร์ (-3.7%) ปิดที่ 47.79 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าลดลง 1.94 ดอลลาร์ (-4.1%) ปิดที่ 45.13 ดอลลาร์สหรัฐบาร์เรล OPEC ส่งออกน้ำมัน 25.92 บาร์เรลต่อวันใน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 4.5 แสนบาร์เรลต่อวันจาก พ.ค. และมากกว่าปีที่แล้วอยู่ 1.9 ล้านบาร์เรล ในช่วงหลังการซื้อขายหลักน้ำมันเป็นลบลดลงหลังจากตัวเลขจากสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกาเผยว่าน้ำมันดิบในสต็อกของสหรัฐลดลง 5.8 ล้านบาร์เรลรายสัปดาห์รอบถึงวันที่ 30 มิ.ย. สู่ 503.7 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดการณ์ว่าจะถอนออก 2.3 ล้านบาร์เรล (Reuters)

• ทองคำคงที่วันพุธ หลังจากรายงานประชุม Fed สะท้อนว่าผู้ดำเนินนโยบายเสียงแตกกันมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อและดอลลาร์ก็ยังคงที่ ทองคำตลาดจรลบ 0.02% ปิด 1,223.37 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำสหรัฐล่วงหน้าบวก 0.2% ปิดที่ 1,221.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (Reuters)