ค่าบาทช่วงเช้า 'ทรงตัว' รอศก.สหรัฐ

ค่าบาทช่วงเช้า 'ทรงตัว' รอศก.สหรัฐ

บาทเปิดตลาดเช้านี้แข็งค่าขึ้นที่ "33.92 บาทต่อดอลลาร์" จับตาบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ หลังส่งออก-ท่องเที่ยวแกร่ง หนุนเงินไหลเข้าตลาดบอนด์ไทย ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงขึ้น

บาทช่วงเช้าทรงตัวที่ระดับ 34.94 บาทต่อดอลลาร์ ตลาดยังรอประเมินข้อมูลศก. สหรัฐ

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย กลุ่มงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาททรงตัวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.94 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงเช้าของวันที่ 26 มิ.ย. (ใกล้เคียงระดับปิดตลาดในประเทศในปลายสัปดาห์ก่อนหน่า) โดยตลาดน่าจะรอประเมินข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (ซึ่งจะรวมถึงประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นางเจเน็ต เยลเลนในวันพรุ่งนี้) ที่อาจสะท้อนจังหวะการคุมเข้มรอบถัดไปของเฟด สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 33.85-34.00 บาทต่อดอลลาร์

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ33.92 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับ 33.94 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงสุดสัปดาห์ก่อน

สัปดาห์นี้ยังเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐจะออกมาให้ความเห็นเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจและการขึ้นดอกเบี้ย และจะมีการรายงานเงินเฟ้อของเศรษฐกิจใหญ่ด้วย

ที่น่าจับตาคือในคืนวันอังคาร นาง Jenet Yellen มีกำหนดการไปสัมมนาที่กรุงลอนดอน น่าติดตามว่าประธานเฟดจะมีมุมมองกับการขึ้นดอกเบี้ยและการลดขนาดงบดุลอย่างไร โดยในปัจจุบันตลาดมองว่าการลดขนาดงบดุลจะเริ่มตั้งแต่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐในเดือรกันยายน และการขึ้นดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดในเดือนธันวาคม (โอกาส 37%)

ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ เริ่มด้วยฝั่งสหรัฐ (วันศุกร์) คาดว่าเงินเฟ้อ (PEC) ในเดือนพ.ค.จะรายงานอยู่ที่ระดับ 1.5% โดยเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ที่ระดับ 1.4% ยังชี้ว่าเฟดสามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ฝั่งยุโรป (วันศุกร์) เงินเฟ้อก็เริ่มกลับขึ้นมาแล้วเช่นกัน ตลาดคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในยูโรโซนเดือนมิ.ย. จะยังอยู่ที่ระดับ 1.3% ซึ่งอาจเริ่มสร้างคำถามว่า ECB ควรเริ่มมองหาทางหยุดนโยบายผ่อนคลายทางการเงินหรือไม่ แต่ในญี่ปุ่น (วันศุกร์) เงินเฟ้อทั่วไป (Nationwide CPI) ในเดือนพ.ค. ยังจะอยู่ในระดับต่ำที่ 0.4% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานทั้งในโตเกียวและทั่วญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ระดับ 0.1-0.2% ชี้ว่ากำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว เงินเยนที่แข็งค่า และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีทิศทางอ่อนค่าลง เป็นปัญหาที่ยังคงกดดันภาพเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในญี่ปุ่นอยู่

ฝั่งไทยจะมีการรายงานตัวเลขบัญชีดุลการชําระเงินในวันศุกร์ คาดว่าไทยจะยังคงเกินดุลที่ระดับ 2 พันล้านเหรียญในเดือนที่ผ่านมา การส่งออกที่เติบโตดีการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งและเงินทุนไหลเข้าในตลาดบอนด์ไทยยังคงเป็นสามประเด็นหลักที่ทำให้ไทยมีดุลการชำระเงินในระดับสูง แต่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อไปได้

มองกรอบเงินดอลลาร์วันนี้ที่ระดับ 33.88-33.98 บาท/ดอลลาร์
มองกรอบเงินดอลลาร์ทั้งสัปดาห์ที่ระดับ 33.70-34.10 บาท/ดอลลาร์