Daily Market Outlook (21 มิ.ย.60)

Daily Market Outlook (21 มิ.ย.60)

ราคาน้ำมันร่วงหนักกดดันตลาด

คาดหุ้นไทยปรับตัวลงวันนี้ในทิศทางเดียวกับหุ้นทั่วโลกจากการหลีกหนีความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ราคาน้ำมันร่วงแรงต่อเนื่องด้วยอุปทานยังเพิ่มขึ้นมากกว่าการลดกำลังการผลิตของบรรดาผู้ผลิตทั้งหลาย ซึ่งกดดันหุ้นพลังงานและตลาดโดยรวม ในขณะที่การรับหุ้น A ของจีนเข้าในการคำนวณดัชนีตลาดเกิดใหม่ของ MSCI ไม่น่ามีผลต่อตลาดเกิดใหม่อื่นๆ อย่างน้อยในระยะสั้น เพราะขนาดน้ำหนักที่จัดสรรให้หุ้นจีนเพิ่มขึ้นเพียง 0.73% เท่านั้น และกว่าจะมีผลเต็มที่ก็ มิ.ย.ปี 61 ภายในประเทศ มีเพียงการประชุมของรัฐบาล “Thailand’s Big Strategic Move” ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย.เท่านั้นที่น่าจะส่งผลบวกต่ออารมณ์ของตลาดได้

หุ้นเด่นวันนี้: INTUCH (ราคาปิด 56.00 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมาย AWS ปี 60 77.00 บาท)

บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ เป็นหุ้นที่รู้กันดีว่ามีปันผลตอบแทนที่สูงที่สุดในหมวด ICT และเป็นอันดับต้นๆ ของหุ้นทั้ง SET เพราะได้กระแสเงินสดปันผลของบริษัทลูกคือ ADVANC แม้ ADVANC จะลดอัตราการจ่ายปันผลลงเป็น 70% ของกำไรเพื่อเก็บเงินไว้ลงทุนจากเดิมนโยบายปันผล 100% เราคาดว่า INTUCH จะให้ปันผลตอบแทนสูงถึง 5.6% และ 5.9% ในปี 60 และ 61 ตามลำดับ ADVANC เป็นผู้นำตลาดบริการมือถือหากนับจำนวนเลขหมายจึงมีต้นทุนการกำกับดูแลต่อหัวที่ต่ำที่สุด การได้ใบอนุญาต 900 และ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์มาทำให้ ADVANC มีแบนด์วิธของคลื่นเหลือเฟือที่จะบริการลูกค้าให้ดีสำหรับ 3-5 ปีหน้า เพิ่มความสามารถในการรองรับการให้บริการ 4จี ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามสาย (FBB) หรือ AIS Fibreรวมถึงบริการเสริม (เช่น การถ่ายทอดรายการผ่านมือถือและอินเทอร์เน็ต) น่าจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนอีกตัวที่ทำให้เกิดรายได้ประจำและเพิ่มการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเรามองว่าADVANC มีมูลค่าแบรนด์ที่แข็งแกร่งซึ่งจะทำให้ ADVANC สามารถเก็บเกี่ยวรายได้จากการเติบโตของการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตได้เมื่อเทียบกับคู่แข่ง บริษัทลูกของ INTUCH อีกบริษัทคือ THCOM ผู้ให้บริการดาวเทียมชั้นนำระดับโลกน่าจะมีรายได้ก้อนใหม่เข้ามาจากลูกค้าใหม่รายสำคัญหลายราย อาทิ Forever Group จากเมียนมาร์ Hinduja Group จากอินเดียและล่าสุด Axiata Group จากอินโดนีเซีย และมีอุปสงค์ที่แข็งแกร่งต่อบริการเสริมความสามารถในการให้บริการมือถือด้วยดาวเทียม (mobile backhaul) ก็ยังน่าจะเติบโตได้ดีด้วย อีกทั้งมีโอกาสเติบโตอีกมากสำหรับตลาด CLMV เพราะน่าจะพัฒนาตามประเทศไทยได้ Price Pattern ของ INTUCH มีความแข็งแกร่งทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง จากการเกิดทั้ง Daily & Weekly Buy Signal โดยหาก Price Pattern ของ INTUCH สามารถปิดตลาดรายเดือนได้เหนือ 55.75 บาท ก็จะทำให้แนวโน้มหลักกลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการกลับมาเกิด Monthly Buy Signal ครั้งใหม่ เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ INTUCH มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 57.75 บาท และมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 65.25 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ INTUCH มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 54.75 บาท (แนวต้าน: 56.25, 56.50, 56.75; แนวรับ: 55.75, 55.50, 55.25)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• ที่ประชุม คสช.-ครม.เห็นชอบใช้มาตรา 44 ปลดล็อคปัญหาที่ดิน ส.ป.ก. โดยอนุญาตให้ 3 กิจการที่ได้ดำเนินการไปแล้วบนที่ดินของ ส.ป.ก.สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ กิจการทั้ง 3 ประกอบด้วย 1.การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 2.การทำเหมืองแร่ และ 3.การวางกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งมาตรา 44 ที่ประกาศใช้นี้จะมุ่งเฉพาะที่ดินที่ได้ถูกจัดสรรแล้วสำหรับ 3 กิจการนี้ (Bangkok Post) ความเห็น: ปัจจัยนี้ช่วยปลดล็อคความกังวลที่เคยคาดว่า รายได้ต่อปีของ PTTEP จะลงประมาณ 3-6% หากห้ามผลิตในพื้นที่ ส.ป.ก. เรายังคงแนะนำขาย PTTEP (ราคาปิด 89.00 บาท; ขาย; AWS TP 78 บาท) สาเหตุจากราคาน้ำมันที่ลดลง นอกจากนี้เรายัง Underweight หุ้นที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมและปิโตรเคมีขั้นต้น ซึ่งรวมถึง PTT PTTEP และ PTTGC ราคาน้ำมันที่กลับสู่ขาลงแล้วส่งผลกระทบทางลบทางตรงกับหุ้นเหล่านี้ แต่เรายังคงชอบหุ้น IVL (ราคาปิด 39.00 บาท; ซื้อ; AWS TP 46.00 บาท) ซึ่งเป็นพลังงานและปิโตรเคมีขั้นปลายน้ำ ได้ประโยชน์หากราคาน้ำมันลง

• นายกฯ ประยุทธ์ยืนยันไม่ล้มบัตรทอง 30 บาท แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ตาม (Bangkok Post)

• จี้จัดซื้อสินค้านวัตกรรม เอสเอ็มอีไทย10-30% สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้ภาครัฐควรเร่งสนับสนุนนโยบายการจัดสรรงบประมาณสั่งซื้อสินค้านวัตกรรมใช้ในภาครัฐอย่างน้อย 10-30% อย่างจริงจังตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (เดลินิวส์)

• ครม.อนุมัติงบ 212 ล้านผุดสำนักงานอีอีซี ครม.ไฟเขียวงบกลาง 212.29 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารสำนักงานอีอีซี ด้าน กนอ.เตรียม เปิดศูนย์ให้ข้อมูล สร้างความเชื่อมั่น ตอบโจทย์นักลงทุนสน ใจพื้นที่อีอีซี (ไทยโพสต์)

ต่างประเทศ:

• MSCI จะเพิ่มหุ้นจีนเข้าคำนวณดัชนีตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.61 โดย MSCI เผยว่าวางแผนที่จะเพิ่มหุ้นจำนวน 222 หุ้นซึ่งมีน้ำหนักกับดัชนีที่ราว 0.73% และจะเริ่มรีวิวหุ้น A shares ปัจจัยนี้จะทำให้หุ้นจีนที่อยู่ในดัชนีตลาดเกิดใหม่ของ MSCI คิดเป็น 40% จากปัจจุบัน 28% โดยหุ้น A shares จะประกอบด้วยหุ้นจากตลาดเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้นคิดเป็นมูลค่าราว 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ นับว่าใหญ่สุดรองจากตลาด NYSE และ Nasdaqการรวมหุ้นดังกล่าวคาดว่าจะช่วยดึงเงินทุนมากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์เข้าตลาดหุ้นจีนในช่วง 10 ปีข้างหน้า (Reuters)ความเห็น: ผลจากการรวมหุ้นน่าจะมีไม่มากนักในช่วงเริ่มแรก เพราะหุ้นดังกล่าวมีน้ำหนักเพียง 0.73% และจะมีเพียงหุ้นส่วนหนึ่งเท่านั้นที่นำเข้ามาคิดตอนเดือน ส.ค. และหุ้นจำนวนทั้งหมดจะเข้ามารวมในดัชนีตั้งแต่เดือน มิ.ย. 61 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ผลจากปัจจัยดังกล่าวคาดว่าต้องรอดูในระยะยาว

• ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐแบนราบสู่ระดับต่ำสุดนับแต่เดือนธ.ค. 50เนื่องจากความเห็นจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางปรับตัวสูงกว่าพันธบัตรระยะยาวได้ปัจจัยหนุนจากเงินเฟ้อที่ลดลง ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีและ 30 ปีแบนราบลง โดยลดลงอยู่ที่ 96 bps เมื่อวันอังคาร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดต่อนโยบายของเฟด ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.76% จากระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนเมื่อวันพุธที่แล้ว ก่อนเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สองในรอบ 3 เดือน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีซึ่งได้รับอิทธิพลมากที่สุดจากคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อ ปรับตัวลงสู่ระดับ 2.74% จาก 2.80% เมื่อวันพุธที่แล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอ้างอิงอายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 2.16% ลดลงจากระดับ 2.19% เมื่อวันจันทร์ (Reuters)

• ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าจากที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 1 เดือนเทียบกับสกุลเงินหลักในช่วงเช้าวันนี้ จากการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงสู่ระดับ 97.719 ก่อนหน้านี้ดัชนีฯ ได้ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือนที่ระดับ 97.871 เมื่อวันอังคาร ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า 0.1% เทียบกับเงินเยนที่ระดับ 111.320 เยน ส่วนเงินยูโรอยู่ในระดับทรงตัวเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.1137 ดอลลาร์สหรัฐ (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบเมื่อวันอังคาร จากราคาน้ำมันที่ดิ่งลงอย่างหนักได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานและหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ปรับตัวลงเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแผนของอะเมซอนดอทคอมที่จะกระตุ้นธุรกิจเครื่องแต่งกายของบริษัท อีกทั้งความเห็นจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายทำให้นักลงทุนเป็นกังวลเกี่ยวกับทิศทางของการใช้นโยบายกระชับทางการเงิน นายเอริค โรเซนเกรน ประธานเฟดสาขาบอสตันให้ความเห็นว่ายุคของการใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำในสหรัฐและในประเทศอื่นๆ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน ในขณะที่นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟดสาขาดัลลัสให้ความเห็นว่าเทคโนโลยีและโลกาภิวัฒน์ได้ตรึงภาวะเงินเฟ้ออย่างผิดปกติ (Reuters)

ยุโรป:

• หุ้นยุโรปร่วงวานนี้ นำโดยหุ้นที่อ่อนไหวตามราคาน้ำมัน ขณะที่ดัชนีเทียบ pan-European ปรับตัวลงจากวันก่อนหน้า (Reuters)

เอเชีย:

• รายงานการประชุม BOJ วันที่ 26-27 เม.ย. ยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะผันผวนตามนโยบายการควบคุมอัตราผลตอบแทนของ BOJ ซึ่งไม่ควรเป็นปัญหา หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายกล่าวว่า QQE ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เห็นด้วยมากที่สุดให้อัตราเงินเฟ้อต่ำ และการเติบโตของผลผลิตจะยังคงดำเนินต่อไป การส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดีและมีสัญญาณการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น (Reuters)

• ทรัมป์กล่าวว่าจีนพยายามแล้วแต่ล้มเหลวในการช่วยเหลือ NK: ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กล่าวเมื่อวันอังคารว่าความพยายามของจีนในการชักชวนให้เกาหลีเหนือควบคุมโครงการนิวเคลียร์ของตนล้มเหลว ทรัมป์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีความร่วมมืออย่างมากจากประเทศจีนเพื่อใช้อิทธิพลเหนือเกาหลีเหนือโดยอ้างอิงถึงประธานาธิบดีจีน Xi Jinpingเพื่อขอความช่วยเหลือ ผู้นำทั้งสองมีการประชุมสุดยอดระดับสูงในฟลอริด้าเมื่อเดือนเมษายนและทรัมป์ได้ยกย่อง Xi และต่อต้านการวิจารณ์การค้าของจีน มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน(Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• ราคาน้ำมันร่วง 3% สู่จุดต่ำสุดรอบ 7 เดือนวันอังคาร เพราะผู้เล่นในตลาดมองสัญญาณว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในสหรัฐ ลิเบียและไนเจีย มีผลเหนือความร่วมมือของ OPEC และนอกกลุ่มที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันโลก ท่ามกลางแรงเทขายจากกองทุน น้ำมันดิบเบรนท์ร่วง 1.09 ดอลลาร์สหรัฐปิดที่ 45.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังแตะ 45.42 ดอลลาร์ ต่ำสุดนับแต่ 15 พ.ย. น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าลบ 1.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 43.00 ดอลลาร์สหรัฐบาร์เรล โดยที่ก่อนหน้านี้แตะ 42.75 ดอลลาร์ต่ำสุดนับแต่ 14 พ.ย. ราคาอ้างอิงทั้งสองลดลงแล้วกว่า 15% จากปลาย พ.ค. ณ จุดที่ OPEC รัสเซียและผู้ผลิตอื่นขยายการลดกำลังการผลิตไปจนสิ้น มี.ค. 61(Reuters)

• ทองคำลดลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 5 สัปดาห์วันอังคาร เพราะดอลลาร์แข็งค่าจากความเห็นเชิงขึ้นดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่ Fed และความเห็นเชิงผ่อนคลายดอกเบี้ยจากธนาคารกลางอังกฤษ ทองคำตลาดจรลบ 0.03% ปิด 1,242.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ลงไปแตะ 1,241 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ต่ำสุดนับแต่ 17 พ.ค. ทองคำสหรัฐล่วงหน้าลบ 0.3% ปิดที่ 1,243.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (Reuters)