บริษัทจดทะเบียนแห่ 'ลดพาร์

บริษัทจดทะเบียนแห่ 'ลดพาร์

บริษัทจดทะเบียนแห่ลดพาร์  "หวังเรียกความสนใจ"

กรุงเทพธุรกิจ สำรวจตั้งแต่ต้นปี บริษัทจดทะเบียนได้มีการปรับราคามูลค่าที่ตราไว้ (พาร์ลดลง โดย บริษัทดำเนินการแล้ว และอีก 1 บริษัทอยู่ระหว่างให้ผู้ถือหุ้นพิจารณา ประกอบด้วยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT เปลี่ยนแปลงพาร์จาก 10 บาท เป็น 1 บาท บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) THE เปลี่ยนแปลงจาก 1 บาท เป็น 50 สตางค์ บริษัท ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน) TBSP เปลี่ยนแปลงจาก 10 บาท เป็น 1 บาท บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) MALEE เปลี่ยนแปลงจาก 1 บาท เป็น 50 สตางค์ บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) SSSC เปลี่ยนแปลงจาก 10 บาท เป็น 1 บาท บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ILINK เปลี่ยนแปลงจาก 1 บาท เป็น 50 สตางค์ บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) NYT เปลี่ยนแปลงจาก 1 บาท เป็น 50 สตางค์

ขณะที่บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) WHAUP ประกาศลดพาร์หลังจากเข้าจดทะเบียนเพียง 2 เดือน

จรีพร จารุกรสกุล รองประธานกรรมการ บริษัทดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ให้ความเห็นว่า สาเหตุการแตกพาร์ของบริษัทจากเดิม 5 บาทให้เหลือ 1 บาทนั้น เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจหุ้นของบริษัท แต่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องการซื้อขายที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ไม่สามารถเข้าลงทุนได้

ช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้โรดโชว์พบนักลงทุนในต่างประเทศ นักลงทุนได้ให้ความสนใจลงทุนและได้รับการตอบรับที่ดี แต่สถาบันต่างชาติมีความเห็นว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าลงทุนได้ เนื่องจากสภาพคล่องการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำเกินไป”

จากการติดตามข้อมูลของบริษัทพบว่า สภาพคล่องการซื้อขายหุ้นของบริษัท หากตัดช่วงหลังเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ 4 วันหลังเข้าเทรดและช่วงที่มีกระแสข่าวแตกพาร์มูลค่าการซื้อขายหุ้นเบาบางเพียงวันละ 1 ล้านหุ้น ซึ่งในฟรีโฟลทของบริษัท มีสัดส่วนที่ 30% เนื่องจากบริษัทแม่ไม่มีนโยบายในการขายหุ้นออกมา หากเป็นอย่างนี้ต่อไปหุ้นอาจไม่ได้รับการสนใจ

บริษัทจึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจ ว่าจะเดินตามแผนของบริษัทหรือไม่ โดยการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งการแตกพาร์ครั้งนี้จะไม่กระทบ กับปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ส่วนข้อกังวลของตลาดหลักทรัพย์นั้น บริษัทน้อมรับมาพิจารณา

อย่างไรก็ตามด้านปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นประเมินว่า ยังมีทิศทางที่ดีโดยภายใน 2 ปีข้างหน้าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีก 200 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันมีใบอนุญาตขายไฟฟ้าแล้ว 540 เมกะวัตต์ และเริ่มการขายไป 370 เมกะวัตต์ และในปี 2562 จะเดินเครื่องได้ครบ 540 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการทำโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มขึ้นในอนาคต

ขณะที่ไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน บอกว่า การแตกพาร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น แม้จะมีการแตกพาร์ที่ค่อนข้างเร็วแต่มองว่าไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากผลการดำเนินงานของบริษัทไม่ได้เปลี่ยนแปลง

การแตกพาร์ของบริษัทจดทะเบียนนั้น ส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้ไม่น่ากังวล เนื่องจากราคาหุ้นกับการดำเนินงานจะแยกออกจากกัน การแตกพาร์ไม่ได้ทำให้ผลการดำเนินงานบริษัทเปลี่ยนแปลงไป”

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการแตกพาร์ส่วนใหญ่ต้องการให้มีสภาพคล่องการซื้อขายรวมถึงความต้องการดึงดูดให้นักลงทุนรายบุคคลเข้ามาสนใจบริษัท ซึ่งนักลงทุนต้องพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเป็นหลัก