'มข.-ม.วิคทอเรีย' ร่วมมือหวังพัฒนาดนตรีไทย-อีสานสู่สากล

'มข.-ม.วิคทอเรีย' ร่วมมือหวังพัฒนาดนตรีไทย-อีสานสู่สากล

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือ มหาวิทยาลัยวิคทอเรีย จากนิวซีแลนด์ หวังพัฒนาดนตรีไทย-อีสานสู่สากล

ทูตไทยประจำเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ จับมือมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันพัฒนาเครื่องดนตรีไทย-อีสานสู่สากล ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่นิวซีแลนด์ จัดอาจารย์เข้าไปสอนดนตรีไทย-อีสาน เพื่อปูพื้นฐานทางด้านดนตรีให้กับนักศึกษานิวซีแลนด์ และยังต้องการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ของต่างประเทศมายกระดับความเป็นดนตรีไทย แต่ยังคงเอกลักษณ์ของไทยไว้

โดยวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทางคณะทูต ได้มีการเชิญ ศาสตราจารย์ 2 ท่าน มาจากมหาวิทยาลัยวิคกทอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ เนื่องจากจะผลักดันเพื่อให้มหาวิทยาลัย สคูลมิวสิคที่นิวซีแลนด์ได้เห็นคุณค่าความสำคัญของดนตรีไทยทั้งแบบคลาสสิคและดนตรีแบบอีสาน

นายมาลิษ เสงี่ยมพงษ์ ทูตไทยประจำเมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ กล่าวว่าทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีศักยภาพเรื่องของดนตรีพื้นบ้าน หรือดนตรีของอีสาน จึงได้เชิญโปรเฟซเซอร์มาดูว่าจะสามารถมีความร่วมมือกันอย่างไรในอนาคต ซึ่งในขณะนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพื่อที่จะปูพื้นฐานไปสู่ความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัยในด้านดนตรีอย่างแน่นแฟ้น และลงลึกมากกว่าโครงการอื่น ๆ ที่ผ่านมา

โดยสิ่งที่วางแนวทางไว้คือ 3 จุดมุ่งหมาย คือ 1.เพื่อให้คนนิวซีแลนด์ และมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ ได้ชื่นชมและได้เห็นความสำคัญของดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซึ่งกำลังพยายามที่จะเจรจาร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อจะส่งอาจารย์ เดินทางไปสอนในสคูลมิวสิค ของวิคทอเรียยูนิเวอร์ซิตี้ เป็นเวลา 3 เดือน

โดยการเรียนการสอน ไม่เฉพาะเป็นการแลกเปลี่ยนอาจารย์ แต่เป็นการไปสอนให้เด็กนักเรียนเข้าใจถึงดนตรีไทย เพราะฉะนั้นตั้งแต่วันนี้ ทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยที่แวริงตัน จะต้องมานั่งคุยกันว่าจะใช้เครื่องดนตรีอะไร เพื่อที่จะนำไปสอน 3 เดือนแล้วให้ นักเรียนนิวซีแลนด์สามารถใช้เป็น เพื่อปูพื้นฐานทางด้านดนตรี

"พื้นฐานของนิวซีแลนด์มาจากยุโรป ฉะนั้นเครื่องดนตรีของเขาเป็นของยุโรป ก็คือพวกเครื่องเป่า แซคโซโฟน หรือฟรุ๊ท ทำให้เขาไม่มีเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ เหมือนกับประเทศไทย ซึ่งถ้าหากเขามาร่วมกันศึกษาแล้วนำเอาประวัติศาสตร์ของเครื่องดนตรีไทยไปประยุกต์ใช้ อาจจะเกิดการค้นพบเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของเขา เพราะว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยของเรายาวนานกว่าบ้านเขา ทำให้เครื่องดนตรีไทยมีจุดแข็งก็คือเรื่องประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ส่วนเป้าหมายที่ 3 คือ นิวซีแลนด์มีเทคโนโลยีเยอะ

โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ในการใช้วัตถุดิบในการผลิตเป็นโปรดักส์ อยากจะให้ทางนิวซีแลนด์นำเอา 3 D scan และ 3 D printing เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาเครื่องดนตรีของไทยให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น ให้เหมือนกับเครื่องดนตรีที่เป็นอินเตอร์ แต่ว่ายังต้องรักษาเอกลักษณ์ความเป็นเครื่องดนตรีไทยเอาไว้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่มายกระดับเครื่องดนตรีไทยให้ดีขึ้น" นายมาลิษ กล่าว

(ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ค FA Kku)