ศธ.-คลัง-เอกชน หารือร่วมแก้ไขปัญหาลดหย่อนภาษี

ศธ.-คลัง-เอกชน หารือร่วมแก้ไขปัญหาลดหย่อนภาษี

ศธ.-คลัง-เอกชน หารือร่วมแก้ไขปัญหาลดหย่อนภาษี เผยคลังเสนออาจจะเพิ่มให้อีก 5% รวมที่มีอยู่เป็น 17%

ปัจจุบันภาคเอกชนที่มาร่วมมือกับภาครัฐในการจัดการศึกษา ประสบปัญหาในการลดหย่อนภาษี ซึ่งในกฎหมายกำหนดไว้ชัดว่าการขอยกเว้นภาษีเงินได้บริจาคให้สถานศึกษานั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อเงินนั้นไปสู่สถานศึกษาโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาในการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐ โดยเฉพาะด้านการศึกษามีภาคเอกชนมาทำงานถึง 2 ชุด ได้แก่ ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ หรือ อี2 และด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ หรือ อี 5  

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (12 มิ.ย.) ศธ.ได้หารือเรื่องดังกล่าวร่วมกับนายอานุภาพ จามิกรณ์ ที่ปรึกษารมว.การคลัง คณะทำงานประชารัฐภาคเอกชนทั้ง 2 ชุด พร้อมด้วยผู้บริหารของ ศธ. ซึ่งภาคเอกชนได้สะท้อนปัญหาที่พบในการขอลดหย่อนภาษี 3 เรื่องหลัก คือ 1.การลดหย่อนค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น การจัดอบรมครู จ้างครูมาช่วยสอน 2.กรณีบริษัทนำเงินมาจ่ายกองกลาง เช่น บริษัทสนับสนุนเงินเพื่อปรับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา หรือ รีแบรนดิ้งอาชีวศึกษา ก็เป็นการลงเงินที่ส่วนกลางทำให้ไม่สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ และ3.กรณีลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเดินสายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในลักษณะเป็นสายกลางไม่ได้เข้าสู่โรงเรียนโดยตรง เป็นต้น จากประเด็นเหล่านี้จะดำเนินการเช่นไรได้บ้าง เพราะ

นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าเรื่องนี้จะต้องยึดหลักประมวลรัษฎากร แต่ก็มีความเห็นว่าควรไปศึกษาข้อกฎหมายเพื่อดูว่าจะสามารถปรับอะไรได้บ้างหรือไม่ โดยปัจจุบันบริษัทเอกชนที่บริจาคให้แก่การศึกษาจะได้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ หากเกินสามารถขอลดหย่อนเพิ่มได้ 2% ของกำไรสุทธิ ซึ่งตรงนี้ทาง ก.การคลังก็บอกว่าอาจจะขยายเพิ่ม  5% ของกำไรสุทธิ รวมแล้วในอนาคตภาคเอกชนอาจจะสามารถขอลดหย่อนภาษีได้ถึง 17%  ซึ่งให้เฉพาะสถานประกอบการที่มีกำไรเท่านั้น เพราะตามหลักการของ สามารถพึ่งพาตนเองได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตรงนี้เป็นประเด็นที่ต้องหารือในรายละเอียด จัดทำกรอบแนวทาง นอกจากนี้ ก.การคลัง ต้องทำกฎหมายรองของประมวลรัษฎากร ด้วย ซึ่งกระบวนการนี้ยังต้องใช้เวลา 5-6 เดือน
สำหรับประเด็นการบริจาคเงินเข้ากองทุนนั้น เนื่องจากในมาตรา 54 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนดให้จัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อผู้ยากไร้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ให้เสร็จภายใน 1 ปี ดังนั้น จะอาศัยช่องทางนี้เขียนกฎหมายให้ครอบคลุมโดยระบุว่า โดยรัฐจัดสรรเงินให้กองทุน หรือใช้มาตรการ หรือกลไกทางภาษี ให้ผู้บริจาคได้ลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น