Daily Market Outlook (30 พ.ค.60)

Daily Market Outlook (30 พ.ค.60)

ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป

คาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบด้วยไม่มีตัวชี้นำจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดเมื่อวาน แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปกลับมาใหม่กรีซอาจไม่ชำระหนี้เงินช่วยเหลือถ้าเจ้าหนี้ไม่ช่วยเพิ่ม ความเสี่ยงเบี้ยวหนี้ และอาจต้องออกจาก EU พุ่ง อาจมีการเลือกตั้งอิตาลีก่อนกำหนดทำให้ฝ่ายสนับสนุนการออกจาก EU อาจได้ชัยชนะเพิ่มความเสี่ยงของอิตาลีออกจาก EU การเลือกตั้งอังกฤษ 8มิ.ย. น่าจะสูสีมากทำให้เกิดคำถามว่า การตัดสินใจให้มีการเลือกตั้งเร็วกว่ากำหนดของ May นั้นอาจจะผิดพลาด ปัจจัยภายในประเทศมีทั้งบวกและลบ สภาพัฒน์และกระทรวงการคลังคาดเศรษฐกิจขยายตัวปานกลางต่อในไตรมาส 2/60 จำนวนเที่ยวบินในทุกสนามบินทะลุ 76 ล้านเที่ยวใน 7 เดือนที่ผ่านมาเติบโตแข็งแกร่ง 7% แต่ ธอส.คาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวใน กทม.และปริมณฑล

หุ้นเด่นวันนี้: GLOBAL (ราคาปิด 14.70 บาท; NR; ราคาเป้าหมาย Bloomberg 17.82 บาท)

เราเลือก บมจ. สยามโกลบอลเฮ้าส์ เป็นหุ้นเด่นวันนี้ เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสจากอัตรากำไรคาดจะพลิกกลับมาดีขึ้นสำหรับปี 60-61 หนุนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ดีขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ GLOBAL มีการเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่องและพึ่งเปิด 4 สาขาในจ.ประจวบฯ อุตรดิตถ์ อ่างทองและเลยในไตรมาส 1/60 แม้ว่าการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องจะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นในช่วงแรกเช่น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารรวมถึงดอกเบี้ย แต่ก็จะช่วยหนุนการเติบโตของรายได้ในระยะยาวได้ รายได้จากการเปิดสาขา 12 สาขาในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจะถูกรับรู้รายได้เต็มปีในปีนี้ มีสาขาพัทลุงที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดได้ในไตรมาส 3/60 สัดส่วนสินค้า (Product mix) ที่ดีขึ้นจากการเพิ่มสินค้าของตนเองและสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นรวมถึงการบริหารแหล่งจัดซื้อทำให้อัตรากำไรดีขึ้นในไตรมาส 1/60 เราจึงคาดว่าอัตรากำไรน่าจะดีขึ้นไตรมาสต่อไตรมาสต่อไป ในขณะเดียวกันบริษัทคงมองหาการลงทุนในประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งยังล้าหลังในโครงสร้างพื้นฐานอยู่มาก โดยหวังจะเปิดสาขาแรกในกัมพูชา จากประมาณการของ Bloomberg consensus คาดกำไรสุทธิเติบโต 21% และ 20% YoYในปี 60 และปี 2561 ตามลำดับ หุ้นซื้อขายที่ PE 31 เท่าในปี 60 และลดลงเป็น 26 เท่าในปี 61 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต 5 ปีเท่ากับ 50 เท่าอยู่มากพอสมควร Price Pattern ของ GLOBAL ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily & Monthly Buy Signal รอเพียงการกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่เท่านั้น ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง GLOBAL มีเป้าหมายหลักอยู่ที่ 15.80 บาท ทั้งนี้ GLOBAL มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 14.40 บาท (แนวต้าน: 14.80, 14.90, 15.00; แนวรับ: 14.60, 14.50, 14.40)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• หน่วยงานรัฐมองเศรษฐกิจจะยังโตต่อ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดเศรษฐกิจในไตรมาส 2/60 จะขยายตัวต่อจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 3.3% โดยมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นเกิดขึ้นหลังจากเดือนเม.ย. แสดงแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง หนุนโดยยอดส่งออกและการบริโภคภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศเติบโตอย่างแข็งแกร่ง (Bangkok Post)

• รัฐพิจารณาจัดเก็บภาษีลาภลอย สศค. อยู่ระหว่างร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีลาภลอยจากเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เบื้องต้นในกฎหมายมีแนวคิดจะจัดเก็บภาษีในอัตราไม่เกิน 5% ของมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่ดินจะไม่ต้องเสียภาษีดังกล่าวตราบใดที่ยังไม่มีการถ่ายโอนกรรมสิทธิ (Bangkok Post)ความเห็น: ประเด็นดังกล่าวน่าให้อารมณ์เชิงลบต่อกลุ่มอสังหาฯ

• อสังหายังน่าห่วง คาดยอดโอนปีนี้ลด3% หวั่นแรงงานถูกลอยแพ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่าขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลชะลอตัว แต่ยังไม่มีสัญญาณการเกิดฟองสบู่ โดยประเมินในกรณีสถานการณ์ปกติจะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในปี 60 ประมาณ 116,000 หน่วย ลดลงจากปีก่อน 6.9% ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 170,000 หน่วย ลดลง 3% เช่นเดียวกับมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์น่าจะอยู่ที่ 431,000 ล้านบาท ลดลงเท่ากันที่ 3% อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจับตาในครึ่งปีหลัง คือปัญหาการจ้างงานที่ลดลง หากมีการเกิดขึ้นมากจะกระทบต่อบรรยากาศในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทันทีเพราะสถานะทางรายได้เปลี่ยนไป (เดลินิวส์)

• 7 เดือนคนใช้สนามบินเพิ่มกว่า 7%ทอท.โชว์ยอดผู้โดยสาร 7 เดือนทะลุ 76 ล้านคน พุ่งพรวดทุก เร่งศึกษาแผนพัฒนาดอนเมืองเฟส 3 รับนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 40 ล้านคน มูลค่า 32,000 ล้านบาท คาด พ.ย.60 สรุปแผนเสนอบอร์ดพิจารณาอนุมัติได้ (ไทยโพสต์, มติชน)

ต่างประเทศ:

• ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าในวันนี้ เทียบกับเงินยูโรและปอนด์สเตอริงซึ่งได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในอังกฤษและแนวโน้มที่อิตาลีจะมีการเลือกตั้งก่อนกำหนด ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.3% สู่ระดับ 97.706 ห่างจากที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนครึ่งที่ 96.797 เมื่อสัปดาห์ก่อน (Reuters)

สหรัฐ:

• ตลาดการเงินในสหรัฐปิดทำการเมื่อวันจันทร์ เนื่องจากเป็นวันรำลึกทหารผ่านศึก (Reuters)

ยุโรป:

• หุ้นยุโรปร่วงเล็กน้อยวานนี้ ถูกฉุดโดยหุ้นกลุ่มการเงินและเนื่องจากตลาดหลักๆ ที่ปิดทำการ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐ และจีน (Reuters)

• คะแนนนิยมเทเรซา เมย์ ลดฮวบลง โดยโพลสำรวจหนึ่งเผยคะแนนของเมย์ที่เคยนำหน้า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6 จุด จาก 9 จุดในสัปดาห์ที่แล้ว และ 18 จุด ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความแตกต่างของผู้นำทั้ง 2 พรรคคือการจัดการการเจรจาที่บรัสเซลส์ โดยเมย์กล่าวว่าเธอจะไม่มีการพูดคุยกับ EU เกี่ยวกับ Brexitถ้าไม่มีข้อเสนอที่ดีพอ ขณะที่หัวหน้าพรรคแรงงาน Jeremy Corbynกล่าวว่าเขาจะทำให้แน่ใจว่าข้อตกลงบรรลุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (Reuters)

• กรีซอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินรอบหน้า รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ครั้งใหม่ให้แก่กรีซในสัปดาห์ก่อนแต่จะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวในการประชุมเดือนมิ.ย. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กรีซเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเนื่องจากกรีซมีกำหนดชำระหนี้คืนในเดือนก.ค. นี้ ดังนั้น หากกรีซไม่สามารถชำระหนี้ในครั้งนี้ได้ โอกาสในการผิดนัดชำระจะเกิดขึ้น และอาจจะมีการหารือกันเกี่ยวกับการออกจากสหภาพยุโรปของกรีซอีกครั้ง (Reuters)

เอเชีย:

• ยอดขายปลีกในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.2% YoYในเดือนเมษายนตามข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยเมื่อวันอังคารเมื่อเทียบกับประมาณการเฉลี่ยของนักเศรษฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น 2.3% การใช้จ่ายครัวเรือนลดลง 1.4% YoYแต่เพิ่มขึ้น 0.5% MoMในเดือนเมษายนในแง่ราคาที่ปรับขึ้นจริง ค่ามัธยฐานของนักเศรษฐศาสตร์อยู่ที่ 0.7% YoYแต่เพิ่มขึ้น 1.1% MoM (Reuters)

• อัตราว่างงานของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ระดับ 2.8% ในเดือนเมษายน และความพร้อมในการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือน ก. พ. ปี 2560 อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ อัตราส่วนงานต่อผู้สมัครเพิ่มขึ้นเป็น 1.48 จากระดับ 1.45 ในเดือนมีนาคม (Reuters)

• จีนจะนำกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเข้มงวดสำหรับบริษัทที่อยู่ในประเทศเพื่อต่อสู้กับการคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการก่อการร้ายทางไซเบอร์และการแฮ็คข้อมูล กฎหมายดังกลว่าวห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการออนไลน์เก็บและขายข้อมูลของผู้ใช้บริการ และสิทธิผู้ใช้ที่จะลบข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ผู้ที่ละเมิดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกปรับอย่างหนัก (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• ราคาน้ำมันขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันจันทร์ ฟื้นจากการปรับตัวลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ตลาดยังคงระมัดระวังเนื่องจากตัวเลขขุดเจาะน้ำมันสหรัฐที่เพิ่มขึ้นหักล้างโดยการลดกำลังการผลิตของ OPEC ราคาเบรนท์เพิ่มขึ้น 37 เซนต์อยู่ที่ 52.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมาเบรนท์ลดลงเกือบ 3% ขณะที่น้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 42 เซนต์อยู่ที่ 50.22 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (Reuters)

• การผลิตน้ำมันสหรัฐปรับตัวขึ้น 10% นับตั้งแต่กลางปี 59 ในระหว่างที่ OPEC และประเทศอื่นๆ รวมถึงรัสเซียพยายามลดกำลังการผลิตอยู่ ตัวเลขผลิตน้ำมันสหรัฐซึ่งอยู่เหนือ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวันอยู่ใกล้กับระดับผู้ผลิตหลักอย่างรัสเซียและซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้ ข้อมูล Baker Hughes เผย จำนวนแท่นขุดเจาะสหรัฐเพิ่มขึ้นมา 19 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว อยู่ที่ 722 แท่น ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 58 และยาวนานที่สุดด้วย (Reuters)

• ทองคำบวกใกล้จุดสูงสุดในรอบหนึ่งเดือนวันจันทร์ ระหว่างช่วงวันหยุดที่ซื้อขายเบาบาง ด้วยดอลลาร์ที่อ่อนค่าช่วยให้ทองวิ่งอยู่แถววันก่อนที่เป็นบวก ทองแตะจุดสูงสุดนับแต่ 1 พ.ค. วันศุกร์ที่ 1,269.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพราะกังวลท่าทีแข็งกร้าวของทรัมป์ต่อผู้นำโลกในที่ประชุม G7 ทำให้ผู้ลงทุนหันมาถือทอง ทองคำตลาดจรปิด 1,266.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำสหรัฐล่วงหน้าปิดลบ 0.2% ที่ 1,265.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (Reuters)