'สุรเชษฐ์' ติดตามแผนพัฒนาการศึกษา โรงเรียนพื้นที่ชายแดน

'สุรเชษฐ์' ติดตามแผนพัฒนาการศึกษา โรงเรียนพื้นที่ชายแดน

รมช.ศึกษาฯประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดน จุดที่ 5 ของจังหวัดพิษณุโลก พะเยา น่าน อุตรดิตถ์

วานนี้ (27 พฤษภาคม) ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดินทางมาร่วมรับฟังสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดน จุดที่5ของจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพะเยา จังหวัดน่านและจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่บริเวณชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน3ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และราชอาณาจักรกัมพูชา

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า วันนี้ได้มาติดตามการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดน ในการร่วมกันแก้ไขตามลำดับ แต่เราต้องมีการตรวจสอบว่าปัญหาเหล่านั้นจะได้รับการแก้ไขอย่างไร เราจึงต้องมีการสำรวจความต้องการว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งปัญหาในพื้นที่ชายแดนมีหาบประการ ทั้งสภาพพื้นที่การเดินทางที่ยากลำบาก ปัญหาเรื่องการใช้ภาษาไทย ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคม เราจะต้องมีการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เราต้องดูที่จุดแข็งและโอกาสของแต่ล่ะพื้นที่ ในวันนี้เราได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดนภาคเหนือที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลา ของจังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งในภาพรวมทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการไปทีละส่วนในพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และราชอาณาจักรกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่27จังหวัด105อำเภอ เพื่อเร่งรัดเป็นเรื่องเร่งด่วนให้เกิดเป็นรูปธรรมในปี 2560 แต่แผนการดำเนินการนั้นเราทำไว้ในช่วง พ.ศ.2560 – 2564

โดยจุดแข็งและโอกาสของทั้ง4จังหวัดที่นำเสนอ เน้นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนในพื้นที่ชายแดนโดยเล็งเห็นความสำคัญว่า การศึกษาคือชีวิต การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศและเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นส่วนช่วยในการเพิ่มความเท่าเทียมในสังคม

โดยผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดหวัด ผู้แทนจาก สพฐ. ประธานอาชีวศึกษา ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาอกชน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพะเยา จังหวัดน่านและจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 200 คน