ร้านค้าอีคอมเมิร์ซต้องรับมืออย่างไร?

ร้านค้าอีคอมเมิร์ซต้องรับมืออย่างไร?

จำนวนผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นในการค้นหาสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย โดยผู้บริโภคเข้าชม สินค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 19%, ผ่านทางแท็บเล็ตเพิ่มขึ้น 35% และผ่านทางคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น 35%

ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง2ปีที่ผ่านมา ซึ่งการคาดการณ์ล่าสุดตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถโตจนมีมูลค่ากว่า 8.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

อย่างไรก็ตามตลาดอีคอมเมิร์ซเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวันสำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่แพ้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเลยทีเดียว ดังนั้นบริษัท iPrice ได้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาจึงได้จัดทำการศึกษาครั้งนี้ขึ้น 

โดยจุดประสงค์องการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยและรับทราบถึงสาเหตุการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการ บริโภคจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ 2. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในตลาดอีคอมเมิร์ซโดยทำการศึกษาและความรู้นี้ไปปรับใช้กับธุรกิจและองค์กร 3. เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับวันสำคัญต่าง ๆ

ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นจากเทศกาลสำคัญอย่างเช่นวันขึ้นปีใหม่, เทศกาลสงกรานต์ กระทั่งวันที่ 12 ธันวาคม ที่ทำให้ตลาดกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง นำมาสู่การศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนในช่วงครึ่งปีหลัง

iPrice แหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ใน 7 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์ของคนไทยโดยมีเหตุการณ์และวันสำคัญต่าง ๆ เป็นตัวแปร ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึง 17 เมษายน พ.ศ. 2560 ทำให้ทราบว่าปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้าชมสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคชางไทยในระยะเวลาดังกล่าว 

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ในวันที่ 31 ธันวาคมซึ่งเป็นวันสิ้นปี พบว่าในช่วงกลางวัน การชมสินค้าออนไลน์ดำเนินไปตามปกติ เหมือนกับวันทั่ว ๆ ไป แต่หลังจากเวลา 19.00 น. ยอดเข้าชมเมื่อเทียบกับวันที่ 1 มกราคมกลับลดลงมากกว่า 30% เพราะหลายคนเตรียมตัวจัดปาร์ตี้ หรือออกเดินทางไปข้างนอก เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะจดจ่ออยู่กับการเคานต์ดาวน์ที่กำลังจะมาถึงนั่นเอง

เทศกาลเล่นน้ำสงกรานต์

สำหรับเทศกาลสงกรานต์ที่ชาวไทยจะได้มีวันหยุดยาวเล่นน้ำยาวนานถึง 5 วันทำให้จำนวนผู้เข้าชมสินค้าออนไลน์ลดลงมากกว่าวันหยุดเทศกาลอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ผลประกอบการของอีคอมเมิร์ซก็ยังอยู่ในระดับพอใช้ เพราะก่อนช่วงเทศกาลผู้ซื้อชาวไทยมียอดสั่งสินค้าออนไลน์เกินกว่าวันปกติถึง 15% แต่จากการศึกษาพบว่า จำนวนผู้บริโภคในกลุ่มอายุ 18-24 ลดลงถึง 24% ตรงกันข้ามกับช่วงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย

12-12 Online Sale

ถึงแม้วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ยังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยเท่าใดนัก แต่วันนี้เป็นวันที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศในการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เนื่องจากเป็นโค้งสุดท้ายสำหรับการเตรียมของขวัญสำหรับเพื่อนและครอบครัว ปีที่ผ่านมาร้านค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยพร้อมใจกันลดราคาสินค้าในสต็อก รวมไปถึงอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Lazada ก็ยังจัดกิจกรรมชื่อว่า Online Revolution ขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดขายส่งท้ายปี นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่า มีผู้ค้นหาคูปองของ Lazada เพิ่มขึ้นถึง 70% ยังไม่รวมยอดสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นแบบเกินคาด

ความน่าสนใจของวันที่ 12-12 ก็คือ จำนวนผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นในการค้นหาสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย โดยผู้บริโภคเข้าชม สินค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 19%, ผ่านทางแท็บเล็ตเพิ่มขึ้น 35% และผ่านทางคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น 35%

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าผู้ค้นหาสินค้าออนไลน์ผ่านทางสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 19% เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่เป็นไอเท็มที่สะดวกในการใช้งานมากที่สุด โดยร้านค้าอีคอมเมิร์ซได้ยอดผู้เข้าชมจากคอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ตเพิ่มขึ้นอย่างละ 35% 

จากการสอบถามผู้บริโภคพบว่า สาเหตุที่พวกเขาพากันเข้าชมและสั่งซื้อสินค้าจากอุปกรณ์อื่นมากกว่าสมาร์ทโฟน เพราะง่ายต่อการดูรายละเอียดสินค้ามากกว่า รวมไปถึงการเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตในสมาร์ทโฟนยังไม่เสถียรเท่ากับแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์อีกด้วย จุดนี้เป็นอีกหนึ่งข้อคิดให้ผู้ประกอบการนำไปปรับปรุงการเข้าถึงระบบในสมาร์ทโฟนต่อไป (http://ipricethailand.com/)