หุ้นไทยเข้าสู่ฤดูกาล 'Sell in May'

หุ้นไทยเข้าสู่ฤดูกาล 'Sell in May'

หุ้นไทยเข้าสู่ฤดูกาล “Sell in May”

ตลาดหุ้นเดือนพ.ค.ของทุกปีบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะซบเซา ดัชนีจะผันผวนและอยู่ในทิศทางขาลงมากกว่าขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยกดดันเสมอเพราะหลังจากที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยรายงานผลประกอบการงวดไตรมาสแรกของทุกปี จากนั้นก็จะเป็นเทศกาลขึ้นเครื่องหมายสิทธิ์รับเงินปันผล(XD)จะทำให้หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลงกระทบไปถึงภาพรวมดัชนีด้วย

บล.เอเซียพลัส ระบุว่าตลาดหุ้นไทยจะอยู่ในช่วงปรับฐาน ซึ่งตลาดหุ้นไทยได้ปรับฐานนับจากกลางเดือน เม.ย. เป็นต้นมา กว่า 2.1% แต่หากนับเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือน พ.ค. พบว่า ลดลงมากถึง 1.8% แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเหตุผลที่เกิดอย่างนี้ เพราะแนวโน้ม SET Index ในเดือน พ.ค. จะเกิดเหตุการณ์ “Sell in May” ซึ่งซ้ำรอยในอดีต

ทั้งนี้จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี บ่งชี้ว่า เดือน พ.ค. เป็นเดือนที่ SET Index มักจะปรับตัวลดลงมากที่สุดของปี โดยลดลงเฉลี่ยถึง 1.97% และปรับตัวลดลง 3 ใน 5 ปี โดยมีปัจจัยกดดันหลัก ๆ 3 ประการคือ

เดือน พ.ค. เป็นช่วงประกาศงบบริษัทจดทะเบียนไตรมาสแรก 1/2560 และนี่เป็นเหตุผลทำให้มีการขายทำกำไรในรายหุ้นที่ได้มีการเข้าลงทุนไว้ก่อนหน้านี้

หลังประกาศงบมักตามมาด้วย การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ จะทยอยประกาศจ่ายเงินปันผล พร้อมกับ เครื่องหมาย XD ซึ่งจะตกในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2560 จึงเป็นอีกเหตุผลทำให้ราคาหุ้นปรับลดลงหลัง XD

จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ต่างชาติขายสุทธิเฉลี่ยหุ้นไทยในเดือนนี้สูงถึง 9.55 พันล้านบาท และเป็นการขายสุทธิถึง 4 ใน 5 ปี ในภาวการณ์ปัจจุบันตลาดหุ้นสหรัฐผิดหวังต่อการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ของทรัมป์ ฯ ที่จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาฯ สหรัฐ พร้อมกับคะแนนนิยมของนายทรัมป์ฯ ลดน้อยลง

หากพิจารณาดัชนีราย กลุ่มฯ ที่ปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งแรกของเดือน พ.ค. พบว่ากระจายไปทุกกลุ่มทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ดังปรากฏในภาพ โดยหุ้น Market Cap ใหญ่ อย่าง ธนาคารพาณิชย์ยังได้รับ ผลกระทบซ้ำจากการที่รัฐขอให้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) แต่คาดว่ากระทบต่อประมาณการกำไรฯ ปีนี้ราว 2.5% เท่านั้น

แนวโน้มตลาดในช่วงครึ่งหลังของเดือน พ.. น่าจะยังมีอิทธิพลจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว ซึ่งทำให้ยังอยู่ในลักษณะซึมต่อ แต่ก็ไม่มากนัก สอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี ที่ SET Index มักปรับลง 3 ใน 5 ปี เฉลี่ยราว 0.5% โดยกลุ่มที่ underperform กว่าตลาดฯ ในช่วงครึ่งแรกของเดือน จะกลับมา outperform ได้ดีกว่าในช่วงครึ่งเดือนหลัง เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มยานยนต์ กลุ่มโรงพยาบาล เป็นต้น

หากมองข้ามไปในเดือน มิ.. เชื่อว่า SET Index น่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังจากที่ปรับฐานมาระยะหนึ่ง สอดคล้องกับจากสถิติย้อนหลัง 5 ปี SET มักปรับตัวขึ้น 4 จาก 5 ปี เฉลี่ยราว 0.5% โดยกลุ่มฯ ที่มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดฯ คือ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มโรงพยาบาล และกลุ่มยานยนต์

บล.ทิสโก้ ประเมินว่า แม้กำไรในไตรมาส 1 นี้จะดีกว่าคาดตลาดคาดถึง 18% แต่ตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ภาพรวมประมาณการกำไรของตลาดยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมกลับพบว่า มีจำนวนบริษัทถูกปรับประมาณการกำไรลงมากกว่าการปรับประมาณการขึ้น โดยเป็นบริษัทขนาดกลาง-เล็ก และกลุ่มที่มีจำนวนบริษัทสุทธิเป็นการปรับประมาณการกำไรลงมากที่สุด คือ กลุ่ม อาหาร 8 บริษัท ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล 6 บริษัท และขนส่ง 5 บริษัท

นอกจากประมาณการกำไรของบริษัทขนาดกลาง-เล็กมีแนวโน้มปรับลงแล้ว ยังไม่เห็นปัจจัยที่จะดึงดูดกระแสเงินทุนต่างประเทศให้ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น จากแม้หุ้นต่างประเทศทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ จะเสี่ยงปรับฐานในระยะสั้น แต่เรามองโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) เปิดกว้างกว่า จากความเสี่ยงทางการเมืองในยุโรปที่ลดลงต่อเนื่อง และความคืบหน้าแผนปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า

หากจะเทียบกับบรรดาตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) การประเมินมูลค่าหุ้นไทยก็ค่อนข้างตึงตัว สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวและค่าเฉลี่ยในแถบภูมิภาคนี้ (ทั้งคู่อยู่ที่ Fwd. PER ที่ 14.6-14.7x) (3) คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า (13-14 มิ.ย.) กดดันบาทอ่อนค่า ซึ่งฝ่ายกลยุทธ์ทิสโก้คาดการณ์เบื้องต้น เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 จะขยายตัวต่ำที่สุดของปีนี้ เพราะฉะนั้น จึงมองหุ้นไทยมีแนวโน้มแกว่งซิกแซกลง หรือยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวแย่กว่าตลาดหุ้นต่างประเทศและตลาดหุ้นภูมิภาคต่อไป (Underperform) อย่างน้อยในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า