'เกษตรกรรมอัจฉริยะ' ดึง “คลาวด์-เซ็นเซอร์” เพิ่มผลผลิต

'เกษตรกรรมอัจฉริยะ' ดึง “คลาวด์-เซ็นเซอร์” เพิ่มผลผลิต

‘ฟูจิตสึ’ หนุนเกษตรกรญี่ปุ่น เขตอิวาตะ ลุยเทคโนโลยีเสริมเพาะปลูก พลิกรูปแบบสู่ “เกษตรกรรมอัจฉริยะ” หนุนเกษตรกรใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมต่อกับตลาด ผู้ผลิต และธุรกิจเรือนเพาะชำด้วยระบบคลาวด์-เซ็นเซอร์

โครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ ประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการร่วมมือกันสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจ เพื่อการเกษตรเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้ โดยใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้อันหลากหลายโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทฟูจิตสึ โอริกซ์ และมาสึดะ ซีด ร่วมจัดทำโครงการนวัตกรรมทางเกษตรกรรม

โครงการนี้ เปิดตัวเมื่อต้นปี 2559 มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองธุรกิจใหม่ ที่เกิดจากการร่วมมือกันของผู้ประกอบธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งจะรวมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ แล้วก่อตั้งโซ่คุณค่าด้านเกษตรกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างฐานเกษตรกรรมที่แข็งแกร่งในเขตอิวาตะ

นายมาซายูกิ คุราชินา ผู้จัดการทั่วไป แผนกธุรกิจการเกษตรบริษัท โอริกซ์ คอร์ปอเรชั่น และ กรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท มาสึดะ ซีด จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ต้องการผลักดันพืชผลและเมล็ดพันธุ์อันหลากหลายของญี่ปุ่นเข้าสู่ตลาดระดับโลก โดยการวางตัวโครงการใหม่นี้ให้เป็นห้องแสดงสินค้าพืชผลและเมล็ดพันธุ์ นั่นเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วมกัน

ปัญหาด้านโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ในตลาดการส่งออกผลผลิตการเกษตรอันแข็งแกร่งของญี่ปุ่น การส่งออกของโภคภัณฑ์ทางการเกษตรที่เจริญเติบโตของญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากความนิยมในอาหารญี่ปุ่น ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ส่งผลให้ตัวเลขส่งออกในปี 2558 อยู่ที่ 443,200 ล้านเยน หรือเพิ่มขึ้น 24.2% จากปีก่อน

ดัน ‘นวัตกรรม’ พลิกโฉม
อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมการเกษตรของญี่ปุ่น มีอนาคตที่สดใสมากทีเดียว แต่หากวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนขึ้นก็จะพบว่า อุตสาหกรรมนี้มีปัญหาทางด้านโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข หากยังต้องการที่จะเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต ปัญหาแรก คือ องค์กรการเกษตรส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และขาดแคลนทรัพยากร เพื่อใช้ลงทุนในการพัฒนานวัตกรรม และการผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เจริญเติบโตสูงขึ้น

นอกจากนี้ อีกปัญหาสำคัญ คือ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นปัจจุบันเริ่มชราภาพลงไปทุกวัน และหากคนรุ่นใหม่ๆ ไม่ต้องการที่จะทำงานในอุตสาหกรรมนี้ จำนวนเกษตรกรก็จะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาพื้นที่ทางการเกษตรถูกละทิ้งหรือไร้การเพาะปลูก และผลลัพธ์ที่ได้ คือ ผลิตผลทางการเกษตรจะมีจำนวนน้อยลง และส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจระดับภูมิภาคธุรกิจการเกษตรได้กลายมาเป็นธุรกิจระดับโลก และมีการแข่งขันกันที่สูงขึ้น

ทั้งหมดนี้ หมายความว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศญี่ปุ่นต้องลุกขึ้นมาพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเกษตรของตนเองใหม่อีกครั้งเชื่อมต่อกับตลาด ผู้ผลิต และธุรกิจเรือนเพาะชำด้วยบริการระบบคลาวด์เพื่อธุรกิจอาหารและเกษตรกรรม “Akisai” ของฟูจิตสึ จึงได้เข้าไปเกี่ยวข้องในโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะมากมาย เพื่อมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2555

โครงการเหล่านี้มีเป้าหมายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้และข้อมูลต่างๆ และจากผู้ประกอบการหลายราย นำไปสู่การพัฒนาระดับภูมิภาค ผ่านภาคการเกษตรที่มีความเข้มแข็งขึ้น สิ่งนี้สร้างความท้าทายให้ฟูจิตสึมาก เพราะบริษัทได้ก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจเกษตรกรรมในฐานะเจ้าของกิจการ ไม่ใช่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพียงอย่างเดียว

โดยโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะใหม่ในเขตอิวาตะนี้ เป็นหนึ่งในโครงการริเริ่มด้านเกษตรกรรมอัจฉริยะแรกๆ ที่ฟูจิตสึเข้าไปร่วมดำเนินการ และได้เปิดตัวโดยมีเป้าหมายในการสร้างรากฐานเกษตรกรรมให้มีความเข้มแข็ง

ขณะที่ บริษัท โอริกซ์ คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับบริษัท มาสึดะ ซีด จำกัด และฟูจิตสึ ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้น และดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2559 บริษัท โอริกซ์มีธุรกิจหลัก คือ ให้บริการทางด้านการเงินที่ล้ำสมัย และยังมีการให้บริการธุรกิจแขนงอื่นในหลายภาคส่วน เช่น อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน

บริษัทมาสึดะ ซีด จำกัด ทำธุรกิจด้านเรือนเพาะชำพืชที่มีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์หลากหลายชนิดในตลอดกว่า 90 ปีที่ผ่านมา ส่วนฟูจิตสึมีประสบการณ์การปรับใช้โซลูชั่นด้านเกษตรกรรม โดยใช้เทคโนโลยีให้ลูกค้ามายาวนานคุณสมบัติของโครงการนี้ คือ การเข้าไปช่วยสร้างระบบนิเวศใหม่ อันนำมาซึ่งความเข้มแข็งและองค์ความรู้ที่หลากหลาย

สู่กระจายสินค้าแบบอัจฉริยะ
จากผู้ประกอบธุรกิจหลายๆ ราย ทั้งนี้เพื่อสร้างโซ่คุณค่าทางเกษตรกรรมซึ่งส่งผลให้มีการร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบจำลองธุรกิจใหม่ขึ้นมา จุดแข็งของโอริกซ์ คือความเชี่ยวชาญการประเมินความต้องการของผู้ให้บริการด้านอาหารและอุตสาหกรรมค้าปลีกได้ มีเครือข่ายการกระจายสินค้าทางการเกษตรสำหรับลูกค้าระดับประเทศที่หลากหลายผ่านบริการทางการเงินของบริษัท

จุดแข็งนี้ นำไปใช้ประโยชน์ร่วมกับวิธี ‘Market-in’ ซึ่งจะมีการวางแผนการผลิต โดยอ้างอิงจากความต้องการลูกค้า ซึ่งตั้งเป้าว่า หากวิธีการนี้สามารถระบุประเภทของผักที่ผู้บริโภคต้องการในร้านค้าปลีกต่างๆ ได้ จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตตอบรับความท้าทายในการผลิตพืชผลใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายขึ้น

โครงการนี้จะยังสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจเรือนเพาะชำพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการทำการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาด้านการเกษตรอีกด้วย โดยปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวยังคงเป็นความลับที่ยังไม่ได้รับเปิดเผยอยู่ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นมีการติดต่อกับตลาดนานาชาติน้อยมาก และพันธุ์พืชที่เกษตรกรเหล่านี้ถูกเฝ้าบ่มเพาะด้วยความยากลำบากก็ยังไม่ได้รับการเปิดเผยในตลาดดังกล่าว

อย่างไรก็ดี โครงการใหม่นี้ควรแก้ปัญหาโดยการเป็นตัวแทนระหว่างตลาด ผู้ผลิต และธุรกิจเรือนเพาะชำ ซึ่งการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วมกันนี้เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจเรือนเพาะชำอย่างมาก เห็นได้จากที่ตอนนี้มีหลายบริษัทติดต่อบริษัท มาสึดา ซีด เพื่อเข้าร่วมเป็นผู้ค้าในโครงการใหม่ แล้วตั้งรูปแบบเกษตรกรรมใหม่ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่

โครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ จะจัดตั้งรูปแบบเกษตรกรรมใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เซ็นเซอร์ระบบเครือข่าย และระบบคลาวด์อย่างเต็มที่ โดยจะเริ่มจากการตอบสนองอุปสงค์ของตลาดที่มีความต้องการมะเขือเทศ พริกหยวก และผักคะน้าอย่างมาก

ระบบ‘เซ็นเซอร์’ในโรงเพาะปลูก
สำหรับ โรงงานเพาะปลูก จะประกอบด้วยเรือนกระจกขนาดใหญ่หลายหลังจะสร้างไว้ในเมืองอิวาตะ จังหวัดชิซูโอกะ เป็นจังหวัดที่มีปริมาณแสงแดดมากกว่าเฉลี่ยของประเทศถึง15% ต่อปี จึงเหมาะแก่การปลูกพืชในเรือนกระจกอย่างยิ่ง ในการวัดอุณหภูมิความชื้นระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และความเข้มข้นของสารไฮโดรโปนิกส์จะมีการใช้เซ็นเซอร์ที่จะติดตั้งไว้ในเรือนกระจกเหล่านี้ข้อมูลที่เซ็นเซอร์นี้จับได้จะส่งไปจัดเก็บที่คลาวด์ของระบบอาหารและเกษตรกรรม “Akisai” ของฟูจิตสึ

การติดตามอุณหภูมิในห้องเรือนกระจกแบบเรียลไทม์จากทางไกล รวมทั้งการเปิดและปิดหน้าต่างการเริ่มและหยุดพัดลมดูดอากาศ การควบคุมอุณหภูมิ อากาศ และฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่มีการดำเนินการจากทางไกล ทั้งหมดจะค่อยๆ ช่วยสร้างความเข้าใจทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปลูกพืชผักในอนาคต ข้อมูลประสิทธิภาพการเพาะปลูกที่มีการจัดเก็บไว้ใน Akisai จะรวมการตั้งค่าเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดเอาไว้ด้วย

นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อมเรือนกระจกเข้าด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาธุรกิจการออกใบอนุญาตที่จะให้ได้มาซึ่งผลิตผลและคุณภาพที่มีความเสถียร

นายทาเคชิ ชูโดะ (Takeshi Sudou) รองผู้จัดการหน่วยงาน สำนักวางแผนนวัตกรรมแบบเปิดด้านเกษตรกรรมและอาหาร ประจำหน่วยธุรกิจด้านนวัตกรรมของฟูจิตสึ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของบริษัทคือการเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญที่สนับสนุนนวัตกรรมด้านเกษตรกรรมในประเทศญี่ปุ่น ผ่านการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วมกัน และเพื่อให้มีส่วนช่วยในการทำให้เศรษฐกิจระดับภูมิภาคกลับมาคึกคักอีกครั้งผ่านภาคการเกษตรหน้าจอติดตามดูสภาวะของเรือนเพาะชำ

ที่มา : ฟูจิตสึ