'ศรีสุวรรณ' ร้อง 'สตง.' ตรวจสอบเรือดำน้ำ

'ศรีสุวรรณ' ร้อง 'สตง.' ตรวจสอบเรือดำน้ำ

"ศรีสุวรรณ" ยื่นหนังสือจี้ "สตง." ตรวจสอบการจัดซื้อเรือดำน้ำ ชี้ซื้อโดยไม่คำนึงถึงฐานะการคลังของประเทศ หวั่นอาจมีเรื่องไม่ชอบมาพากล

ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือต่อ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโร ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อให้ตรวจสอบในกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กองทัพเรือจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน S-26T จำนวน 1 ลำ ที่เป็นมูลค่ากว่า 13,000 ล้านบาท โดยนายศรีสุวรรณกล่าวว่า เรื่องนี้อาจมีความไม่ชอบมาพากล ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำ เงินคงคลังมีน้อย แต่เมื่อรัฐบาลเห็นความสำคัญของความมั่นคงโดยการจัดซื้อเรือดำน้ำ โดยไม่คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจประเทศที่ตกต่ำ และไม่ได้ชี้แจงแถลงไขต่อประชาชน ซึ่งนอกจาก 36,000 ล้านบาทแล้ว ทางรัฐบาลยังต้องหาเงินเพิ่มในการจัดหากองกำลังประจำอู่เรือดำน้ำ และงบประมาณในการซ่อมแซม ในส่วนของการทำข้อกำหนัดของผู้ว่าจ้าง (TOR) อาจจะเขียนในลักษณะเอื้อต่อผลประโยชน์ทับซ้อน หรือบริษัทประเทศจีนหรือไม่อย่างไร โดยเรื่องนี้เองประชาชนก็มีความสงสัย แม้ว่า พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง จะยังไม่บังคับใช้จนกว่าเดือน ส.ค. แต่เราก็ยังมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัศดุ 2535 บังคับใช้อยู่ จึงอยากให้ สตง. ช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้ ว่าการซื้อเรือดำน้ำครั้งนี้เป็นอย่างถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ หากพบความผิด ก็ขอให้ดำเนินการทันที

“เรามีกฎหมายว่าด้วยวินับการเงินการคลัง อีกทั้งมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ใช้แล้ว ซึ่งมีหลายมาตรที่เขียนบังคับไว้ ว่าการใช้จ่ายงบประมาณต้องมีประสิทธิภาพ และต้องเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และต้องเป็ยประโยชน์ ต่อราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ในรอบประเทศภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยก็ไม่ได้มีความขัดแย้งทางกรเมืองกับใครจนต้องสะสมยุทโธปกรณ์ นอกจากนี้ระดับความลึกของอ่าวไทยเราก็ลึกเพียง 45 - 80 เมตร ดังนั้นการเอาเรือดำน้ำมาใช้ศักยภาพได้เพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้ต้องให้ทาง สตง. ดูในรายละเอียดว่าวัตถุประสงค์การจัดซื้อสอดคล้องกับยุทธบริเณหรือไม่ นอกจากนี้ต้องตรวจสอบอีกว่าการจัดซื้อครั้งนี้จะเพิ่มภาระให้ในอนาคตหรือไม่ ตนไม่อยากให้เรื่องนี้ซ้ำกับกรณี GT200 เรือเหาะ ที่เอามาใช้แล้วไม่เกิดประสิทธิภาพ”

นอกจากนี้นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า ก่อนที่ตนจะเดินทางยื่นเรื่องร้องเรียน ก็มีคนจากฝ่ายความมั่นคงโทรมาหาตน โดยขอร้องให้ตนยกเลิกการร้องเรียนเรื่องเรือดำน้ำ โดยไม่ได้ระบุเหตุผลประกอบ ซึ่งตนสงสัยว่าทำไมฝ่ายความมั่นคงกระอักกระอ่วนในเรื่องนี้ สิ่งที่ตนทำก็เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย และไม่ได้ยุยงให้ใครมาชุมนุม จึงขอร้องฝ่ายความมั่นคงอย่าได้คุกคามตน ไม่เช่นนั้นตนจะฟ้องกลับตามกฎหมายกับทุกสายที่โทรเข้ามา ยิ่งกดดันยิ่งปิดกั้นตน ก็ยิ่งสะท้อนว่าเขาปกครองด้วยระบอบอะไร ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประทเศแน่นอน

ขณะที่นายพิศิษฐ์ กล่าวว่าเรื่องใดก็ตามที่เข้าใช้เงินแผ่นดิน จะต้องมีการตรวจสอบกันตามปกติ กรณีการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพต่างๆ เราก็เคยมีข้อสังเกต และมีข้อเสนอแนะอยู่ เรื่องนี้เรายินดีที่จะรับไว้ประกอบการตรวจสอบของ สตง. ต้องเรียนให้ทราบว่าตั้งแต่มีข่าวออกมา สตง. ก็เริ่มทำงานการตรวจสอบแล้ว เริ่มดูว่าเหตุผลความจำเป็นในการของบประมาณซื้อเรือดำน้ำนั้นเป็นอย่างไร และมีการศึกษาผลกระทบอย่างไรบ้าง ถ้ามีข้อสังเกตใดที่ต้องรักษาผลประโยชน์ เราก็จะส่งข้อหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

“ถ้ามีข้อเสนอใดเราก็พูดได้ ในส่วนที่เป็นความลับถ้าเป็นเรื่องความมั่นคงเราก็ไม่พูดถึง แต่ในกระบวนการต่างๆเพื่อความโปร่งใสแล้ว เราตรวจสอบได้ ก็อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง ถึงจะบอกว่ากระบวนการจัดซื้อครั้งนี้มีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร การตรวจสอบก็จะมีทิศทางตั้งแต่ขั้นตอนก่ีของบประมาณมีความเหมาะสมหรือไม่ และมีแผนอะไรรองรับถ้ามีปัญหา รวมถึงแผนการดูและรักษา มีค่าใช้จ่ายใยในแต่ละปีอย่างไร ตามอำนาจของ สตง. แล้วก็ต้องตรวจสอบว่าการใช้จ่ายเงินมีประสิทธิภาพด้วย ครั้งนี้ไม่ได้มีข้อยกเว้น เพียงแต่เราไม่พูดถึงเรื่องความมั่นคง แต่ถ้าเรื่องใดเปิดเผยได้ก็ต้องทำ ที่ผ่านมาเราก็ทำเช่นนี้”นายพิศิษฐ์

เมื่อถามว่าตอนนี้ สตง. มีเอกสารอะไรบ้าง นายพิศิษฐ์ กล่าวว่าตอนนี้เรายังไม่มีเอกสารอะไร เพราะว่าเป็นเอกสารมุมแดงตามที่รัฐบาลระบุมา โดยเป็นเรื่องปกติที่เขาไม่ให้ สตง. แต่เราต้องไปตรวจสอบในสถานที่ที่เหมาะสม เพราะเราไม่สามารถรับผิดชอบถ้าเกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลความลับต่างๆในเอกสารได้ แต่เราจะส่งคนระดับผู้ใหญ่ ที่รักษาความลับทางความมั่นคงเข้าไปตรวจสอบ เพื่อประโยชน์ของการตรวจสอบ และการรักษาความลับ