KBANK - ถือ

KBANK - ถือ

คาดสำรองหนี้สูญฯยังสูงใน 6 เดือนข้างหน้า

ประเด็นการลงทุน

เราเชื่อว่า KBANK ให้ความสำคัญกะบการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ในช่วง 9 เดือนที่เหลือปี 2560 ดังนั้นธนาคารจะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วเพื่อรักษาอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.4% หรือน้อยกว่านั้นและเพิ่มอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จาก 134% ในปลายเดือนมี.ค. มาอยู่ที่ 145-150% ในสิ้นปี 2560 ดังนั้นกิจกรรมส่วนใหญ่ธนาคารจะเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 แต่ KBANK อาจเปลี่ยนไปสู่โหมดการเติบโตในไตรมาส4/60 หากแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว ดังนั้นเราอยากจะจะรอดูผลการดำเนินงานไตรมาส2/60 ก่อนจะปรับประมาณการกำไรและคำแนะนำอีกครั้ง โดยในขณะนี่ เราคงให้คำแนะนำ ถือ

การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่เพิ่มขึ้น=กำไรอาจโตไม่มากนักปีนี้

จากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ ธนาคารคงต้นทุนการเงิน (Credit cost) ปี 2560 อยู่ในช่วงระหว่าง 200-225bps ของสินเชื่อรวม (เราคาดอยู่ที่ 210bps) เราคาดว่ากำไรรวม 9 เดือนแรกของปี 2560 จะทรงตัว YoY และ ขยายตัวในไตรมาส4/60 ซึ่งได้แรงหนุนจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ลดลง (คาดการณ์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น) การปรับโครงสร้างหนี้ที่มี ปัญหาของสินเชื่อรวมทำได้ดีขึ้น ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา KBANK มีการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจาก 9.5% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2559 มาอยู่ที่ 11%
ในปลายเดือนมี.ค. และประมาณ 1 ใน 3 ของปรับโครงสร้างทั้งหมด (5.8 หมื่นล้านบาท) อาจต้องทำให้ธนาคารมีต้นทุนการปรับโครงสร้างมากขึ้นเนื่องจากมีคุณภาพที่แย่กว่ากลุ่ม

คาดสินเชื่อเติบตามเป้าแต่, แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยยังคงถูกกดดัน

ผู้บริหารกล่าวว่าสินเชื่อจะเติบโตประมาณ 4-6% ทั้งสินเชื่อ SME และสินเชื่อบรรษัทมีเป้าจะสูงขึ้น 4-6% ทั้งปีขณะที่มีเป้าหมายธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้น 5-7% อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 3.3-3.5% (3.5% ในปี 2559; 3.3% ในไตรมาส 1/60) เนื่องจากจำนวณหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น และ การปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้มีการบันทึกหนี้สูญมากขึ้น สมมติฐานปี 2560 ของเราคิดที่สินเชื่อเติบโต 7% และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.48% - เป็นกรอบบนของประมาณการของ KBANK อย่างไรก็ตาม เราเห็นความเสี่ยงต่อ
ประมาณการของเราหากเศรษฐกิจแย่กว่าคาด

มีความเสี่ยงเชิงลบต่อรายได้ค่าทำเนียมหากเศรษฐกิจไม่โตตามคาด

KBANK รายงานรายได้ค่าทำเนียมน่าผิดหวังที่ 1.44 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/60 ลดลง 6% YoY และต่ำกว่าประมาณการทั้งปี2560 ของบริษัทที่คาดว่าจะโต 5% (และเราประมาณการของเราที่ 7%) หากเศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ อาจมีความเสี่ยงเชิงลบต่อประมาณการของเรา เนื่องจากเราต้องปรับประมาณการรายได้ค่าทำเนียมลง อย่างไรก็ตาม KBANK อาจสามารถลดต้นทุนอื่นๆเพื่อหักล้างกับรายได้ค่าทำเนียมที่อ่อนตัว ผู้บริหารคาดอัตราต้นทุนต่อรายได้ปี 2560 อยู่ที่ 45% ซึ่งสูงขึ้นจาก 43% ในปีที่แล้ว แต่อัตราส่วนดังกล่าวอยู่เพียง 40% ในไตรมาส 1/60 เราประเมินอัตราต้นทุนต่อรายได้ที่ 44% สำหรับปี 2560 และ 48% ในปี 2561 เรามองว่าการใช้นโยบาย Promptpay จะส่งผลเชิงลบต่อรายได้ค่าทำเนียมปี 2560 ของ KBANK ไม่มากนัก เนื่องจากลูกค้า ที่มีบัญชี K-Promptpay มีประมาณ 3 ล้านบัญชี จาก บัญชีเงินฝากของธนาคารที่ 11 ล้านบัญชี