ชาวบ้านให้ใจ 'นิสิตนักศึกษา' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

ชาวบ้านให้ใจ 'นิสิตนักศึกษา' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

"..ออกค่ายผลิตสารคดีโทรทัศน์ครั้งแรกก็สนุกมาก กับการเข้าไปหาข้อมูล เพื่อนทุกคนก็เต็มที่มาก รู้สึกประทับใจคนในชุมชนต.ทุ่งไชยอย่างมาก.."

เรียนรู้จากการลงพื้นที่จริงสำหรับ ค่ายผลิตสื่อสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน เพื่อฝึกนิสิตนักศึกษาลงมือผลิตสื่อสารคดีโทรทัศน์ในชุมชน แล้วนำเสนอผลงานออกฉายผ่านหนังกลางแปลง ที่บริเวณสนามข้างองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งไชย ต.ทุ่งไชย อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงวันที่ 5-9 เมษายน ที่ผ่านมา

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

โดยมี นิสิตสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ประมาณ 120 คน และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บุรีรัมย์) จำนวน 9 คน ได้เข้าร่วมลงพื้นที่ปฎิบัติทำงานจริง ซึ่งแบ่งกลุ่มออกเป็น 13 กลุ่ม ในการหาข้อมูลกับชาวบ้าน ลงภาคสนามเพื่อถ่ายทำ และตัดต่อให้กลายเป็นสารคดีโทรทัศน์ความยาว 5-10 นาที เพื่อออกฉายในรูปแบบหนังกลางแปลงให้ชาวบ้านได้รับชมร่วมกัน ซึ่งได้รับเสียงตอบรับต่างชื่นชมยินดีว่าผลงานนิสิตนักศึกษาทำได้ดีในหลายๆ กลุ่ม

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

สำหรับประเด็นสารคดีที่ได้จากชุมชนนั้น มีตั้งแต่ภาษาส่วยของคนดั้งเดิมได้หายไป ภูมิปัญหาชาวบ้านเรื่องการทำเสื้อจากผ้าไหมที่มีราคาแพงตั้งแต่3,500-45,000 บาท และความเชื่อเรื่องผีฟ้า และการจับปลาข่อใหญ่ในหนองน้ำ เพื่องานเทศกาลปลาช่อนรสดีข้าวจี่รสเด็ดของตำบลดังกล่าวด้วย

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สาคร หัวหน้าภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งหัวหน้าโครงการดังกล่าว ระบุว่า อยากให้นิสิตได้เรียนรู้จากลงพื้นที่จริงจะได้อะไรที่มากกว่าในห้องเรียนอย่างแน่นอน และได้ทำงานเป็นกลุ่ม เจอปัญหาจริงๆ เพื่อฝึกการแก้ปัญหาเพื่อนำไปใช้ในชีวิตและการทำงานต่อไป

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

ขณะที่ อาจารย์ ดร.บรรพต วงศ์ทองเจริญ, อาจารย์วิทวัส สหวงศ์, อาจารย์เลอสันต์ ฤทธิขันธ์ จากสาขาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่นำนักศึกษามาร่วมลงพื้นที่ด้วยก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้ วิทยากรร่วมค่าย อย่าง นิติราษฎร์ บุญโย บรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ และคอลัมนิสต์เนชั่นสุดสัปดาห์, อาจารย์อดิสรณ์ อันสงคราม นักวิชาการและนักผลิตสื่อด้านโทรทัศน์ และอาจารย์สันติ สิงห์สุ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

และความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อย่าง สมมาศ ถาวร นายก อบต.ทุ่งไชย, มา นามบุตร ประธานสภา อบต.ทุ่งไชย, กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. และประธานกลุ่มสตรีฯ ช่วยอนุเคราะห์สถานที่และให้ความรู้ข้อมูลของชุมชน เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้คัดเลือกประเด็นทำสารคดี

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

สำหรับความรู้สึกของน้องๆ นิสิตนักศึกษานั้น "น้องพิมพ์" พัชริดา เจิดดีสกุล นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการประชาสัมพันธ์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บอกว่าดีใจค่ะ รู้สึกดีมากๆ ที่ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากในห้องเรียนจากที่นี่ ได้ลงมือทำทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง สนุกดี ก็ถือเป็นการฝึกฝนตัวเองไปในตัว อีกทั้งยังได้ใช้เวลาการทำงานกับเพื่อนๆ ทำให้สนิทกันมากขึ้นได้เรียนรู้กันอย่างใกล้ชิด

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

"ออกค่ายแล้วได้อะไรบ้างจากค่ายนี้ ประสบการณ์ค่ะ เป็นการเรียนรู้ที่ดีมาก ได้ลงชุมชน พบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ได้เห็นมุมมอง ความรู้สึก บรรยากาศ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวชุมชนเอง แล้วยังได้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนๆ ทำงานจริงด้วยกัน ร่วมแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญคือได้เห็นรอยยิ้มของชาวบ้าน จากการที่เราสร้างสรรค์ผลงาน เห็นความสำคัญของสิ่งที่มีในชุมชน พร้อมทั้งสร้างความภูมิใจให้ชาวบ้านหันร่วมกันสืบสานอนุรักษ์สิ่งที่คู่กับชุมชนสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป"

"น้องเกมส์" เอกพล ทองพา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รู้สึกว่ามีความสุข สนุกสนาน ภาคภูมิใจที่ได้ทำสารคดีเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมของชาวบ้าน เพื่อสืบทอดต่อให้คนรุ่นหลัง มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมดีๆร่วมกับเพื่อนๆและน้องๆจากต่างมหาวิทยาลัย และวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และขอขอบคุณวิทยากรและคณาจารย์ที่ให้ความรู้และให้โอกาสผมได้มาออกค่ายในครั้งนี้ ผมอยากให้โครงการดีๆแบบนี้จัดขึ้นบ่อยๆ

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

"ได้ความรู้ เทคนิค และได้ประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาซื้อจากที่ไหนได้ ได้มิตรภาพใหม่ๆ ได้รับรู้ถึงประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ความเชื่อ หรือการประกอบอาชีพ ของคนในตำบลทุ่งไชย และได้จัดทำสารคดีเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมของคนตำบลทุ่งไชย เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้สืบทอดต่อไปให้คนรุ่นหลัง"

"น้องแนน" กชมน บริพันธ์ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการประชาสัมพันธ์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระบุว่า รู้สึก ตื่นเต้นในการออกค่าย ทุกครั้ง เพราะแต่พื้นที่ที่ออกค่ายจะมี ความพิเศษแต่ละที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่ ต.ทุ่งไชย จ.ศรีสะเกษ ก็เป็นการออกค่ายสารคดีครั้งแรกก็สนุกมากกับการเข้าไปหาข้อมูลเพื่อนทุกคนก็เต็มที่มาก รู้สึกประทับใจ คนในชุมชน ต. ทุ่งไชย อย่างมาก ที่ให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง น่ารักมาก

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

"ได้รู้กระบวนของการทำสารคดี ซึ่งได้รู้ตั้งแต่เริ่มจนจบ ซึ่งบอกได้เลยว่า มันมีคุณค่าจริงๆ ทั้งตัวเรื่องทั้งความภูมิใจของเราเอง มิตรภาพน่าจดจำ ที่เกิดขึ้นในระหว่าง การใช้ชีวิตอยู่ใน ต.ทุ่งไชย ขอขอบคุณ อาจารย์และก็พี่วิทยากรทุกคนที่ ช่วยเหลือ สอนจนเราผลิตสารคดีได้จริงๆ"

และ "น้องอลิส" อริศ พงษ์จันทร์ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการประชาสัมพันธ์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บอกว่ารู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมกิจกรรมกับค่ายนี้ เพราะเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่หาไม่ได้ในห้องเรียน และรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่ดีที่ให้นิสิตได้มาเห็นชุมชนมาเรียนรู้วิถีชีตบริบทของชุมชน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนนั้นแตกต่างกัน

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน

"ออกค่ายครั้งนี้ สิ่งแรกที่ได้คือ ประสบการณ์ อย่างที่บอกว่าสิ่งเหล่านี้หาไม่ได้ในห้องเรียน ได้ความรู้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือได้เรียนรู้บริบทชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน และได้รับการตอนรับที่ดีของชุมชน นั่นสื่อให้เห็นถึงความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อของคนในชุมชน"

ชาวบ้านให้ใจ \'นิสิตนักศึกษา\' สร้างสารคดีโทรทัศน์เพื่อชุมชน