“กฤษดา”ลาออก ผอ.ไทยพีบีเอส

“กฤษดา”ลาออก ผอ.ไทยพีบีเอส

“กฤษดา” ประกาศลาออกผอ.ส.ส.ท. รับผิดชอบกรณีซื้อตราสารหนี้ "ซีพีเอฟ" หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วน

วันนี้ (15 มี.ค.) นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีซื้อตราสารหนี้ “ซีพีเอฟ” ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วน และกระทบความรู้สึกประชาชนและเครือข่าย

นายกฤษดา กล่าวว่าแม้ว่าการดำเนินงานกรณีซื้อตราสารหนี้ จะถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่เมื่อกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างมาก รวมทั้งเครือข่ายที่เคยทำงานร่วมกับไทยพีบีเอส ซึ่งตนเองได้รับฟังข้อกังวลจากทุกฝ่ายและน้อมรับคำแนะนำ พร้อมขออภัยต่อการดำเนินการที่กระทบความรู้สึกของทุกคนเป็นอย่างมาก และขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจาก ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส

ทั้งนี้ ตามพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กรณี ผู้อำนวยการ ลาออก ส่งผลให้รองผู้อำนวยการ ต้องพ้นจากตำแหน่งไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ (15 มี.ค.) ไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ คำชี้แจงกรณีกำรซื้อตราสารหนี้ บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน) โดยระบุว่า

 
จากกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นจากสังคม ถึงการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องขององค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ด้วยการนำสินทรัพย์สภาพคล่อง (รายได้ที่ยังไม่ถึงกำหนดใช้จ่าย)
ไปซื้อตราสารหนี้ เพื่อทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องนั้นสร้างรายได้และถูกนำไปพัฒนาองค์กร ซึ่งกรณีนี้มีผู้ชมผู้ฟังส่วนหนึ่ง ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการลงทุนดังกล่าว และกังวลว่าจะกระทบความเป็นอิสระในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะ ผู้บริหาร ส.ส.ท. ขอขอบคุณในทุกข้อคิดความเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ผู้บริหาร ส.ส.ท. รู้สึกเสียใจ และขออภัยที่สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนที่ติดตามไทยพีบีเอสมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ส.ส.ท ขอเรียนชี้แจงว่า การบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้การบริหารเงินรายได้ที่รอถึงกำหนดจ่าย มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด โดยมีการจัดการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เป็นเงื่อนไขกากับการลงทุน คือ ลงทุนในตราสารหนี้ ที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ A (จัดอันดับโดย TRIS) ซึ่งหมายถึงตราสารที่มีความเสี่ยงในระดับต่า มีความสามารถ
ในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นในเกณฑ์สูง กลไกการใช้ดุลยพินิจ กลไกการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง ระเบียบ ส.ส.ท.กาหนดให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่จัดทากรอบ นโยบายลงทุนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายอนุมัติในทุกปีงบประมาณ

โดยเสนอขออนุมัติพร้อมกับงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว ฝ่ายบริหารจึงดาเนินการบริหารจัดการในรูปแบบต่างๆ ภายใต้กรอบที่กฎหมายกาหนด รวมทั้งเงินฝากในสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ (พันธบัตรและหุ้นกู้) ซึ่งการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ก็ดำเนินการตามกรอบนโยบายลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย และการตัดสินใจเลือกลงทุนในตราสารหนี้บริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น ฝ่ายบริหารจะมีการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น ไม่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญหรือตราสารทุน ประเภทอื่นๆ อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุผลการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำกว่า และบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันในหลักการของสื่อสาธารณะ ที่ให้ความสาคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรอบด้าน เสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อคิดความเห็นต่าง ๆ ต่อการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องของส.ส.ท. จึงเป็นสิ่งที่
ฝ่ายบริหาร ส.ส.ท ตระหนัก และเล็งเห็นว่าจาเป็นต้องมีการพิจารณา "ทบทวนกรอบนโยบายลงทุน" รวมทั้งการยุติการลงทุนในตราสารหนี้บางบริษัทที่อาจจะส่งผลให้ภาคประชาชนและสังคมโดยรวมเกิดข้อสงสัยและความคลางแคลงใจ โดยจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. พิจารณาโดยเร็วที่สุด