เปิดข้อเสนอ 'สุเทพ' ก่อนถกปลัดกห. ลั่นเริ่มที่พรรคการเมือง

เปิดข้อเสนอ 'สุเทพ' ก่อนถกปลัดกห. ลั่นเริ่มที่พรรคการเมือง

กปปส. เปิดข้อเสนอ ด้าน "สุเทพ" เผยก่อนถกปลัดกห.เรื่องปรองดอง ลั่นต้องเริ่มที่พรรคการเมือง-ควบคุมการใช้เงิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ได้ไลฟ์สด ผ่านเฟสบุ๊คนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเด็นที่จะไปหารือกับ ปลัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 17 มีนาคมนี้คือ เรื่องปฏิรูปการเมืองเรามีความเห็นตรงกันในหมู่ประชาชนว่า การเมืองในยุคสมัยใหม่ ต้องเป็นการเมืองของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชน การที่จะทำการเมืองให้เป็นการเมืองของประชานได้นั้น ต้องทำที่พรรคการเมืองก่อน เราจะต้องมีบทบัญญัติกำหนดไว้เลยว่าพรรคการเมืองนั้น จะต้องเป็นพรรคการเมืองของประชาชนเท่านั้น กล่าวคือประชาชนต้องเป็นเจ้าของพรรคการเมือง

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ในทางปฏิบัตินั้น เราต้องมีบทบัญญัติบังคับว่าประชาชนจำนวนเท่าไรถึงจะรวมตัว จัดตั้งพรรคการเมืองได้ จำนวนเท่าไรจะต้องมีตัวเลขที่มีนัยยะสำคัญเชื่อมโยงกับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศในปีนั้น ๆ ด้วย เช่น เราอาจจะต้องมีกฏหมายกำหนดว่าประชาชนไม่น้อยกว่า 1% ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ จึงจะสามรถรวมตัวกันจัดตั้งเป็นการเมืองของประชาชนขึ้นมาได้ แน่นอนในทางปฏิบัติ ตอนเริ่มต้นอาจจะเริ่มต้นที่ 2 - 3 หมื่นคนก่อน แต่ว่าก่อนที่จะส่งผู้สมัครของพรรคลงรับเลือกตั้งจะต้องมีการดำเนินการ ให้มีประชาชนเข้ามาร่วมกันเป็นเจ้าของพรรคการเมืองนั้นครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด

2. ถ้าพรรคการเมืองที่เป็นของประชาชน ประชาชนต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย เป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองที่มีทีมาขัดเจนว่าเจ้าของพรรคเป็นคนบริจาคเงินให้พรรคการเมือง ทุกปีเจ้าของพรรคต้องบริจาคเงินให้พรรค บริจาคเท่าไรมีตัวเลขชัดเจนแล้วให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเป็นค่าบำรุงพรรค เท่ากับจำนวนที่สมาชิกเจ้าของพรรคร่วมกับร่วมกันชำระ แล้วต้องมีกฏหมายควบคุมอย่างแข็งแรงในเรื่องการใช้จ่ายเงินของพรรคผิดกฏหมายไม่ได้ จะเอาเงินของประชาขนไปซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งไม่ได้หรือใช้ในทางที่เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าเมื่อไรทำแบบนั้นกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ

3.ในทางการบริหารพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของสมาชิกพรรคหรือเจ้าของพรรคเพื่อที่จะให้การคัดกรองคนที่จะมาทำหน้าที่ในการบริหารพรรคการเมืองมาจากความยินยอมพร้อมใจของเจ้าของพรรคทั้งหลายอย่างแท้จริงไม่ใช่เป็นเรื่องของคนในครอบครัวเดียวกัน กระจุกเดียวกัน แล้วมายึดอำนาจพรรคอย่างที่เราเคยเห็นในอดีต ประชาธิปไตยมันถึงเกิดขึ้นตั้งแต่ในพรรคการเมือง เวลาพรรคการเมืองจะคัดเลือกตัวบุคคล เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.เป็นนายกเทศมนตรี เป็นผู้ว่าฯกทม.ต้องให้สมาชิกพรรค หรือเจ้าของพรรคในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ จังหวัดนั้น ๆ ลงมติเลือกตัวแทนของพรรคเพื่อที่จะส่งสมัครรับเลือกตั้ง อย่างที่เรียกว่าไพมารี่โหวต เพื่อที่จะไม่ให้ผู้บริหารพรรคมีอำนาจที่จะชี้เอาคนนั้นคนนี้คนที่จะส่งสมัครได้ ต้องเป็นคนที่ประชาชนในเขตนั้นเลือกแล้วตกลงร่วมกัน กรณีนี้ให้เอาไปประยุกต์ใช้ กับการคัดเลือกตัวผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อด้วย ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อต้องยึดโยงผูกพันกับประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งและแต่ละภูมิภาคด้วย และที่เราจะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการป.ย.ป.และที่ต้องเอามาบอกนั้นในส่วนเฉพาะของพรรคการเมืองและนักการเมืองนั้นจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุง ปฏิรูปไปในแนวทางนี้เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง