'ยูนิค-เถ้าแก่น้อย' โยกหุ้น

'ยูนิค-เถ้าแก่น้อย' โยกหุ้น

ยูนิค-เถ้าแก่น้อย ”โยกหุ้น" เจ้าของยันไม่เปลี่ยนมือ

การซื้อขายหุ้นในกระดานรายใหญ่(บิ๊กล็อต)มีความคึกคัก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง มีการทำรายการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้การโยนบิ๊กล็อตส่วนใหญ่เป็นการโยกหุ้นในกลุ่มเดียวกัน

ล่าสุดบริษัท บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) UNIQ ชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์ว่า การซื้อขายหุ้นของบริษัทในรายการซื้อขายหุ้น UNIQผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์บนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) 152,623,472 หุ้นคิดเป็น14.12 %

ผู้ทำรายการประกอบด้วย เกรียงศักดิ์ สุวิวัฒน์ธนชัย ก่อนทำรายการถือหุ้น 282,602,172 หุ้น คิดเป็น 26.14%หลังทำรายการ 137,602,172หุ้นคิดเป็น 12.73% ชัชวาลย์ พฤทธิวรสิน ก่อนทำรายการ 7,723,472 หุ้น คิดเป็น 0.71%หลังทำรายการ100,000 หุ้น คิดเป็น 0.01% ถนอมศรี สุดโต ก่อนทำรายการ 96,408,377หุ้น คิดเป็น8.92% หลังทำรายการ 2049,031,849 หุ้น คิดเป็น 23.04%

ทั้งนี้ การซื้อขายหุ้นในครั้งนี้ เป็นความพึงพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายภายในกลุ่มของ สุวิวัฒน์ธนชัย ด้วยกันเอง ทั้งนี้กลุ่มสุวิวัฒน์ธนชัยยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เหมือนเดิมโดยถือหุ้นเพิ่มเป็น 35.77% อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างคณะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและนโยบายในการบริหาร และไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นแต่ประการใด

ก่อนหน้านี้ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) TKN แจ้งว่า มีรายการขายหุ้นสามัญของ TKN ผ่านกระดานรายใหญ่ รวมกัน 30 ล้านหุ้น คิดเป็น 2.17%โดย อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ 21ล้านหุ้น อรพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ 4.5 ล้านหุ้น และ ณัชชัชพงศ์ พีระเดชาพันธ์ 4.5 ล้านหุ้น และการขายหุ้นดังกล่าวเป็นความต้องการของ

นักลงทุนในประเทศที่ติดต่อซื้อจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นหลังบริษัทผลประกอบการ รวมถึงการบริหารจัดการสินทรัพย์ของ ครอบครัวพีระเดชาพันธ์ในสัดส่วนหุ้นต่อสินทรัพย์รวมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ TKN เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ และครอบครัวได้ขายรวม12.68%แต่ยังคงถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 61.23%

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า กรณีที่มีการทำรายการบิ๊กล็อต หากเป็นการขายให้กับกลุ่มเดียวกันนั้น ไม่มีผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานหรือการบริหารงาน จึงไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท ส่วนการเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนสถาบันนั้น มองว่าน่าจะเป็นผลดีกับหุ้นทั้งภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ เนื่องจากสถาบันมักจะมีพฤติกรรมถือหุ้นระยะยาวมากกว่าที่จะเก็งกำไร และการเข้ามาซื้อของสถาบันหากลงทุนในบริษัทขนาดเล็กจะต้องซื้อลงทุนในสัดส่วนที่สูง จึงไม่สามารถสั่งซื้อหรือขายในตลาด เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อราคาหุ้น ทำให้ต้องมีการเจรจาซื้อในกระดานบิ๊กล็อต