ขาดปัจจัยใหม่หนุน

ขาดปัจจัยใหม่หนุน

สรุปสภาวะตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ( 15 ก.พ. 2560 – 22 ก.พ. 2560)

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นเยอรมันและสหรัฐฯปรับตัวขึ้น DJIA +0.79% นำโดยกลุ่มค้าปลีกหลังผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด, DAX +1.74% เมื่อตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาดีกว่าคาด แต่ FTSE100 0.00% จากความกังวลด้านนโยบายของ BREXIT และ CAC ฝรั่งเศส -0.59% เมื่อผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี Le Pen ชูนโยบาย Frexit และกำลังได้รับคะแนนความนิยมที่สูงขึ้น

สรุปสภาวะตลาดหุ้นจีน ( 15 ก.พ. 2560 – 22 ก.พ. 2560)

ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้น +1.50% นำโดยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และธนาคารหลังแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนเริ่มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เมื่อยอดการส่งออก และอัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่ระดับที่เหมาะสม

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 15 ก.พ. 2560 – 22 ก.พ. 2560)

SET INDEX แกว่งตัวในกรอบแคบกดดันโดยกลุ่มหุ้นกลุ่มธนาคาร และกลุ่ม ICT อาทิ เมื่อนักลงระมัดระวังในการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อรอติดตามตัวเลข GDPของไทยใน 4Q59 และ ติดตามรายงานการประชุม FED เดือน กุมพาพันธ์ โดยกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นเด่นประคองดัชนีในรอบนี้หลัง ราคาน้ำมันดิบ Nymex ปรับตัวขึ้นใกล้เคียงระดับ $55 /barrel ปิด ณ วันที่ 22 กุมพาพันธ์ที่ระดับ 1,572.04 จุด ปรับตัวลง -1.33 จุด -0.08%

สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (24 ก.พ. - 2 มี.ค.)

เราคงมุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าเป็น “กลาง” เป็นสัปดาห์ที่ 4 ประเมินกรอบแกว่างระหว่าง 1,555-1,580 จุด มูลค่าการซื้อขายไม่ถึง 5.0 หมื่นล้านบาท/วัน เพราะขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนการลงทุน อีกทั้งเริ่มใกล้สิ้นสุดการประกาศงบการเงิน 4Q59 ในช่วงสิ้นเดือนก.พ. โอกาสที่ SET INDEX จะซึมตัวลงเพื่อทดสอบแนวรับ 1,550-1,555 จุดมีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามสัปดาห์หน้า คือ ถ้อยแถลงของประธานาธิบดี Trump ต่อสภาคองเกรส วันที่ 27 ก.พ. อาจเห็นภาพของนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน / การปรับโครงสร้างภาษี / การค้าระหว่างประเทศ/ ความปลอดภัยของประเทศกับนักท่องเที่ยวจากชาติมุสลิม ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ติดตามการประชุมครม.อาจมีการพิจารณามาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจตะวันออก EEC

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์หน้า

1. การทยอยประกาศงบการเงิน 4Q59 ของบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเช้าวันที่ 1 มี.ค.

2. การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนม.ค.ของไทย วันที่ 28 ก.พ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก

3. การปรับน้ำหนักดัชนี MSCI ณ ราคาปิดวันที่ 28 ก.พ.

4. ติดตามรายงาน Beige Book ของสหรัฐฯ วันที่ 1 มี.ค.

5. ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต – บริการ ของอียู และอังกฤษ / GDP ใน 4Q59 ของสหรัฐฯ / ดัชนี PMI การผลิต – ส่งออกของจีน