'ไทย - เมียนมาร์' สร้างฝายร่วมกัน แบ่งน้ำใช้

'ไทย - เมียนมาร์' สร้างฝายร่วมกัน แบ่งน้ำใช้

ชาวบ้าน ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย จ.เชียราย หลายหมู่บ้านได้ร่วมกัน ไปสร้างฝายไม้ไผ่ชั่วคราว กั้นลำน้ำสายชายแดนไทย-เมียนมาร์

 ติดหมู่บ้านป่าซางงาม ต.เกาะช้าง ฝั่งตรงกันข้ามเป็น จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมาร์ เพื่อทดน้ำไปใช้สำหรับการทำนาปรังในฝั่งไทย โดยชาวบ้านได้นำอุปกรณ์เป็นไม้ไปกั้นลำน้ำสาย ซึ่งในช่วงนี้ยังมีระดับน้ำปานกลางสามารถใช้เพื่อการเกษตรได้ แต่เนื่องจากเป็นเขตแดนไทย-เมียนมาร์ ทำให้การสร้างฝายที่ผ่านมาเกิดข้อขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ และชาวบ้านฝั่งเมียนมาร์ โดยมีการรื้อถอนฝายที่ชาวบ้านฝั่งไทยไปสร้างเอาไว้

โดยล่าสุดนั้นทางการท้องถิ่นเมียนมาร์ได้แจ้งว่า การทำฝายที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากการปรึกษาหารือระหว่างกันเสียก่อน ทำให้กลุ่มชาวบ้านได้เข้าแจ้งต่อทางฝ่ายปกครอง อ.แม่สาย และหน่วยประสานงานชายแดนไทย-เมียนมาร์ ระดับท้องถิ่นหรือทีบีซีให้ได้รับทราบจนกระทั่งมีการเจรจากันจนได้ข้อยุติ และทางการเมียนมายินยอมให้มีการสร้างฝายได้ในที่สุด

การเจรจาเพื่อสร้างฝายกั้นน้ำระหว่างไทย-เมียนมาร์ โดยมีนายอูติน วิน ส่วย ผู้ว่าการ จ.ท่าขี้เหล็ก เดินทางไปพบปะหารือกับตัวแทนเกษตรชาวไทยด้วยตัวเอง พร้อมกับนำตัวแทนจากฝ่ายท่าขี้เหล็ก เข้าาร่วมประชุมหารือ ซึ่งทางนายอูติน วิน ส่วย ได้แจ้งถึงเหตุผลของทางการท้องถิ่นเมียนมาร์ให้ได้รับทราบ ขณะที่เกษตรกรฝ่ายไทยก็แจ้งถึงความจำเป็นในการนำน้ำไปใช้ในนาปรัง เพราะปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่ฤดูแล้งที่ไม่มีฝนตก และที่ผ่านมาในอดีตก็มีการกั้นน้ำไปใช้โดยตลอดโดยไม่เคยมีปัญหาด้วย ผลการเจรจาดังกล่าวพบว่าทั้ง 2 ฝ่ายมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทำให้ทางนายอูติน วิน ส่วย แจ้งว่าทางการท้องถิ่นเมียนมายินยอมให้มีการสร้างฝายได้ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องสร้างร่วมกันระหว่างราษฎรชาวเมียนมาร์และไทย นอกจากนี้ขอให้มีการทำหนังสือแจ้งถึงฝ่ายเมียนมาร์ด้วย ส่วนฝายที่เคยมีการสร้างไปก่อนหน้าที่จะมีการเจรจากันในครั้งนี้ ก็ขอให้รื้อถอนโดยทันทีเพื่อจะได้ร่วมกันสร้างใหม่ด้วย

นายทองสุข ใจพิพัฒน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรต้องกรน้ำเพื่อการเกษตร cจึงเคยทำหนังสือแจ้งไปยังทางการท้องถิ่นเมียนมาร์แล้วแต่ตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาแต่ยังไม่มีการตอบรับ จึงได้เร่งไปสร้างฝายเพื่อไม่ให้กระทบกับนาข้าวของชาวนาซึ่งมีรวมกันกว่า 12,000 ไร่ และมีเกษตรกรทำนารวมกันกว่า 904 ราย ดังนั้นจึงได้มีการเจรจากันดังกล่าวและจากข้อตกลงนี้ ชาวนาไทยก็ขอทำฝายกั้นน้ำไปจนเดือน พ.ค.เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะได้ร่วมกันรื้อถอนออกไป เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ตามปกติ