'หมอธี' ชื่นชมกัมพูชาตื่นตัวการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

'หมอธี' ชื่นชมกัมพูชาตื่นตัวการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

“ธีระเกียรติ” ชื่นชมกัมพูชาตื่นตัวการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ มีนโยบายใช้หนังสือยืมเรียน แต่ลงทุนปีละ1.5 หมื่นล้านบาท ไทยลงทุนสูงกว่า30เท่า

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการเดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชา ในฐานะประธานสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ได้เยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน(ร.ร.)Preah Sisowath High School ซึ่งเป็นร.ร.ระดับมัธยมศึกษาต้นแบบ และหารือร่วมกับนายฮอง จูน นารน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและกีฬาของกัมพูชา พบว่าขณะนี้กัมพูชากำลังเดินหน้าในการปฏิรูปการศึกษาของผู้เรียนในทุกระดับอย่างมาก มีการลงทุนทั้งในด้านคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะครูมีมาตรการจูงใจให้คนมาเป็นครู ทุ่มงบประมาณจ่ายเงินเดือนสูงมากกว่าอาชีพอื่นๆ 2-3 เท่า ซึ่งกัมพูชามีร.ร.ประมาณ 10,000 โรง มีครูกว่า1 แสนคน และนักเรียนระดับการศึกษาพื้นฐาน 3 ล้านคน ลงทุนงบประมาณเพื่อการศึกษาประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ประเทศไทย มีร.ร.ประมาณ 30,000โรง ครูกว่า 4 แสนคน และนักเรียน7-8 ล้านคน ใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 5 แสนล้านบาท สูงกว่ากัมพูชาถึง 30 เท่า ความหมายของตนคือ อยากสะท้อนให้เห็นภาพว่าเราต้องย้อนดูตัวเองว่าใช้เงินงบประมาณได้คุ่มค่าแล้วหรือไม่

\'หมอธี\' ชื่นชมกัมพูชาตื่นตัวการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

“เวลานี้กัมพูชามีการตื่นตัวและตั้งใจอย่างสูงในการพัฒนาปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง นำทรัพยากรที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นจากที่ผมไปเยี่ยมชมร.ร.ภาพบรรยากาศการเรียนในห้องแล็ป ในบางการทดลองก็ไม่ได้ใช้ขวดแก้วสำหรับการทดลอง แต่นำขวดพลาสติกมาใช้แทน หรือกระทั่งจอโปรเจคเตอร์ ก็นำผ้ามาขึงทำเป็นจอแทนด้วย ตรงนี้เป็นการประยุกต์นำสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ผมว่าเป็นเรื่องดีที่เราควรเรียนรู้เพราะไอเดียใหม่ๆก็ได้มาจากประสบการณ์ของเขา ซึ่งผมเห็นโรงเรียนของเราที่มีปัญหาในลักษณะนี้ เช่น โรงเรียนขนาดเล็กก็น่าจะต้องหันมามองว่าจะประยุกต์อุปกรณ์ใดที่มีมาแทน ไม่ เพราะหากมัวแต่งบฯเพราะบางทีอาจไม่เพียงพอ”นพ.ธีระเกียรติ กล่าว

\'หมอธี\' ชื่นชมกัมพูชาตื่นตัวการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ได้ถามทางกัมพูชาถึงเรื่องหนังสือเรียนด้วย ว่ามีวิธีการอย่างไร ซึ่งก็พบว่ากัมพูชาก็ใช้วิธีการให้นักเรียนยืมเรียนซึ่งและไม่เคยมีปัญหา เพราะฉะนั้น การที่ตนมีนโยบายปรับระบบการบริหารจัดการหนังสือเรียนในโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ จากที่แจกเด็กรายคนมาเป็นวิธีการซื้อเข้าโรงเรียนและให้ยืมเรียนนั้น จะช่วยให้เราประหยัดงบประมาณ จากที่จ่ายปีละ 5 พันล้านบาทได้มาก เพราะซื้อทดแทนเฉพาะที่ขาด ชำรุด ขณะเดียวกัน งบฯที่เหลือก็นำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในส่วนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เวลานี้มีเสียงสะท้อนคัดค้านนโยบายดังกล่าว อยากให้มองว่าถ้าเราให้ยืมเรียนถึงเวลาจัดซื้อโรงเรียนก็สามารถเลือกซื้อหนังสือที่ดีมีคุณภาพได้ เป็นประโยชน์ อีกทั้ง นโยบายนี้จะเริ่มในปีการศึกษา 2561 เพราะฉะนั้น เอกชนยังมีเวลาอีก 1 ปีในการเตรียมตัวพัฒนาเนื้อหารูปเล่มหนังสือได้น่าสนใจเป็นทางเลือกให้โรงเรียนเลือกซื้อได้