KTC - ซื้อ

KTC - ซื้อ

ปีแห่งการเน้นลูกค้าคุณภาพ...

ประเด็นการลงทุน

เราคาด KTC จะมีเน้นแคมเปญการตลาดที่น่าสนใจมากขึ้นในปี 2560 เพื่อดึงลูกค้าที่มีคุณภาพจากค่ายผู้ประกอบการบัตรเครดิตอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้ KTC สามารถทำสินเชื่อรวมเติบโตได้มากกว่าที่เราคาดไว้ที่ 5% และเพิ่มยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตให้โตกว่า 7% ในปี 2560 อย่างไรก็ตาม โปรแกรมค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มในปีนี้จะชดเชยกับผลประโยชน์ที่
กิจการได้หากสินเชื่อที่เติบโตมากกว่าที่เราคาด ดังนั้น เราจึงคงประมาณการกำไรปี 2560 ของ KTC ที่ 2.9 พันล้านบาท, สูงขึ้น 16% อย่างไรก็ ตามหากเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วเกินคาด, โดยเฉพาะในครึ่งหลังปี 2560, เราอาจเห็นอัพไซด์ที่มากขึ้นจากสินเชื่อเติบโตที่มากกว่า 5%, ภายใต้ต้นทุนด้านการตลาดที่เพิ่มขึ้นและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ต่ำกว่าคาด
ดังนั้น เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ”

คาดสินเชื่อเติบโตปี 2560 เติบโตได้ดี...

หลังจากที่สินเชื่อบัตรเครดิตโต 11.5% YoY และ สินเชื่อบุคคลเติบโต 18.2% YoY ในปีที่แล้ว, KTC ได้เปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นลูกค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นในปี 2560 ซึ่งอาจทำให้ยากในการที่บริษัทจะสามารถบรรลุเป้าหมายสินเชื่อเติบโตที่ 10% ในปี 2560 เราคาดบริษัทจะเติบโตเพียง 5% ในปีนี้ และรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโตรวม 7% ซึ่ง
KTC มีรายการการใช้จ่ายบัตรเครดิตเติบโต 13% ในปีที่แล้ว (ต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัทที่ 15%) เรามองว่า KTC ยังมีอัพไซด์หากบริษัท สามารถบรรลุเป้าหมายสินเชื่อเติบโตที่ 10% อีกทั้งเราประเมินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปี 2560 เป็นไปในทางเดียวกันกับสินเชื่อเติบโต โดยเราคงประมาณการ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยรับสุทธิปี 2560 ที่ 23.8% เพิ่มจาก
23.1% ในปีที่แล้ว

... ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดสูงขึ้นเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว...

เรามองว่าการแข่งขันที่สูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะทำให้ KTC เพิ่มต้นทุนด้านการตลาดปี 2560 เพื่อบรรลุเป้าหมายสินเชื่อเติบโต อีกทั้งต้นทุนการติดตามหนี้ อยู่ในเทรนขาลงจากปีที่แล้ว ทำให้เราคาดว่า KTC จะมีต้นทุนด้านการตลาดปี 2560 ที่ 1.2 พันล้านบาท (สูงขึ้นจาก 900 ล้านบาทในปีที่แล้ว) อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่สูงกว่าที่เราคาดอาจส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2560 ของเรา อย่างไรก็ตามเราคาดว่าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ปี 2560 จะลดลงเหลือ 48%, ลดลงจาก 50% ปีที่แล้ว เนื่องจากการดำเนินงานมีประสิทธาพมากขึ้น

...อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 473%=ความสามารถลดสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯลงได้...

อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 473% อาจสูงเกินไป เรามองว่า KTC ยังมีโอกาสอยู่มากที่จะปรับลดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯในปี 2560 และปี 2561 เนื่องจาก KTC ไม่มีนโยบายปรับตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯเป็นรายได้ในปีนี้และปีหน้าแม้ภาวะเศรษฐกิจจะดูดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เราเห็นด้วยกับนโยบายนี้ และมองว่าจะเป็นปัจจัย
หนุนอัพไซด์กำไรของบริษัทหากบริษัทปรับลดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯในปี 2560 และ 2561 ลงต่ำกว่าที่เราคาดหากเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว เราคาดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯปี 2560 ของบริษัทจะเพิ่มขึ้น 13% YoY เป็น 4.2 พันล้านบาท (คิดเป็นต้นทุนสินเชื่อ 8.5% ของสินเชื่อทั้งหมด) อีกทั้งเรามองว่าการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯปี 2561 ของบริษัทจะอยู่ที่ 4.2 พันล้านบาทเช่นกัน, ทรงตัวจากปีนี้