กรมชลฯแจงเหตุชาวนาเปิดศึกแย่งน้ำ ที่ประตูระบายน้ำบ้านดอนทอง

กรมชลฯแจงเหตุชาวนาเปิดศึกแย่งน้ำ ที่ประตูระบายน้ำบ้านดอนทอง

รองอธิบดีกรมชลฯ แจงเหตุเอาอีกแล้วแล้งนี้! ชาวนาเปิดศึกแย่งน้ำ ที่ประตูระบายน้ำบ้านดอนทอง สระบุรี

เมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ประตูระบายน้ำบ้านทองย้อย หมู่ที่ 4 ต.ดอนทอง อ.หนองโดน จ.สระบุรี นายวิหาร วงษ์เขียว กำนัน ต.ดงตะงาว อ.ดอนพุด นายสิงห์ทอง คำแย้ม กำนัน ต.ไผ่หลิ่ว อ.ดอนพุด จ.สระบุรี พร้อมชาวนา จาก อ.หนองโดน อ.บ้านหมอ และ อ.ดอนพุด กว่า 100 คน เพื่อขอให้ กรมชลประทาน ปล่อยน้ำเข้าทุ่งนา เกิดปัญหาภัยแล้ง ดินแยกแตกระแหง ตันข้าวกำลังตั้งท้อง กำลังแห้งเหี่ยวเฉา ต้องการน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว เป็นการด่วน 

นายสิงทอง คำแย้ม กำนัน ต.ไผ่หลิ่ว อ.ดอนพุด พร้อมชาวนา กล่าวว่า ชาวนาในพื้นที่ ได้เพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว ใน 3 อำเภอ มากกว่า 10,000 ไร่ ขณะนี้ต้นข้าวกำลังตั้งท้อง ต้องการน้ำแต่ ชลประทาน ไม่ปล่อยน้ำ ทำให้ดินแห้ง แยกแตกระแหง ต้นข้าวแห้งเฉา ใกล้ยืนต้นตายทั้งทุ่ง ชาวที่ปลูกข้าวไปแล้วได้รับความเดือดร้อน หากชลประทานไม่ปล่อยน้ำให้ ไปจนถึงสิ้น เดือน กุมภาพันธ์ นาข้าเสียหายทั้งหมด 

ด้านนายฤทธิ์ธฏ วงษ์มอญ นายช่าง โครงการชลประทานเริงราง อำเภอบ้านหมอ จ.สระบุรีเดินทางเข้าเจรจา กับกลุ่มชาวนาที่มาวมตัวกัน ประตูระบายน้ำบ้านทองย้อย ต.ดอนทอง ว่า ทางรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี และหน้าคณะ คสช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงมหาดไทย เคยประกาศไปแล้วว่า ให้ชาวนางดทำนาปรัง ในต้น ปี2560 นี้ 

แต่ชาวนา ก็ลงมือเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทำให้เกิดการขาดน้ำ เพราะ น้ำต้นทุนไม่เพียงพอกับความต้องการของชาวนา ในพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดการแห้งแล้ง ต้นข้าวขาดน้ำ นายฤทธิ์ธช วงษ์มอญ ช่างชลประทาน รับปากกับชาวนาว่า จะเปิดระบายน้ำให้ ในวันที่ 17-22 กุมภาพันธ์รวม 6วันเท่านั้น และจะปิดประตูน้ำในวันที่ 23 ก.พ.60 เป็นต้นไป ชาวนาจึงสลายตัว

ทั้งนี้ (5มี.ค.2560) นายณรงค์ ลีลานนท์ รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมชลประทาน ได้ส่งหนังสือชี้แจง "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ระบุว่า พื้นที่ที่ระบุในข่าวอยู่บริเวณปลายคลองส่งน้ำ 23 ขวา ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเริงราง สำนักงานชลประทานที่ 10 ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีแผนการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2559/60 จำนวน 1200 ไร่ แต่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของเจ้าหน้าที่โครงการพบว่าเกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้วจำนวน 3200ไร่ โดยพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 2000 ไร่นั้นอยู่นอกแผน เกษตรกรสูบน้ำจากคลองระบายน้ำสายใหญ่เริงรางไปใช้ในการเพาะปลูกข้าวดังกล่าว

ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเริงราง ได้ทำการชี้แจงสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกรไปแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา โดยโครงการจะส่งน้ำให้เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น ในเบื้องต้นกำหนดวันที่ 17-22 กุมภาพันธ์ 2560 และขอความร่วมมือเกษตรกรงดการเพาะปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีจำนวนจำกัด และส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำจนเกิดความเสียหายได้