4อาการต้องห้ามออกกำลังกาย เตือนเสี่ยงป่วยหนักกว่าเดิม

4อาการต้องห้ามออกกำลังกาย เตือนเสี่ยงป่วยหนักกว่าเดิม

แพทย์แนะข้อสังเกต 4 อาการต้องห้าม ไม่ควรออกกำลังกาย "มีไข้ ท้องเสีย อดนอน ติดเชื้อรุนแรง" เตือนอย่าเสี่ยงจะป่วยหนักกว่าเดิม

รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในรายการกรองข่าววันเสาร์ เอฟเอ็ม 102 ถึงการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย ว่า การออกกำลังการที่ดีต้องเหมาะสมกับเพศ วัย และช่วงอายุ ในทางการแพทย์มีข้อสังเกตที่ไม่ควรออกกำลังกาย ดังนี้. 1 มีไข้ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงกว่า 38 องศา หากไปออกกำลังกายจะยิ่งมีการเผาผลาญอาหาร ไขมัน น้ำ เท่ากับร่างกายจะมีความร้อน 2 เด้ง สมอง กล้ามเนื้อ หัวใจมีปัญหา อาจล้มได้รับบาดเจ็บ มีน้ำมูกใสเป็นหวัดธรรมดาไม่มีปัญหา

2. ท้องเสีย ผู้ที่ถ่ายท้องเกิน 2 ครั้ง ไม่ควรออกกำลังกายเพราะร่างกายสูญเสียเกลือแร่และน้ำ การออกกำลังกายจะทำให้เลือดข้นเกินไป ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้ 3. อดนอน ร่างกายอ่อนเพลีย พลังงานจะถูกนำไปใช้งานผิดประเภท อาจทำให้วูบหมดสติ หากจำเป็นต้องออกำลังกายควรลดลง 30% แม้แต่นักกีฬาที่เชื่อมั่นว่ามีความฟิตก็เกิดปัญหาเมื่อออกกำลังกายหลังอดนอน 4. มีการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง เช่น เจ็บคอ ต่อมทอลซินอักเสบ เป็นฝีหรือหนองเม็ดโต ออกกำลังกายหลักอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ

รศ.นพ.ปัญญา กล่าวด้วยว่า. ผู้ที่ออกกำลังกายควรวอร์มอัพร่างกายให้เพียงพอก่อนออกกำลังกาย ในแต่ละวันสภาวะร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรทดสอบตัวเอง “ทอล์คเทส” หรือพูดกับตัวเองประโยคยาวๆหลังออกกำลังกาย 5-10 นาที ถ้าเราออกกำลังกายพอดีจะพูดประโยคยาวๆจะออกมาเป็นคำพูดชัดเจน ถ้าพูดประโยคยาวๆไม่ได้ หายใจไม่ทัน แสดงว่าออกกำลังกายหนักเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไว้ ปอดหัวใจทำงานหนักต้องลดการออกกำลังกายลง

สำหรับผู้มีโรคประจำตัวไม่เหมาะกับการออกกำลังกายหนักๆ เช่น ยกน้ำหนัก ควรเลือกออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ส่วนช่วงเวลาในการออกกำลังกาย เช่น เช้า บ่าย เย็น ไม่มีผลแตกต่างกัน ยกเว้นผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายตอนเย็นจะส่งผลให้นอนหลับได้ง่าย ส่วนการวิ่งสายพานกับการวิ่งกลางแจ้งไม่ได้ส่งผลแตกต่างใดๆต่อร่ากาย สามารถเผาผลาญพลังงานได้เท่าๆกัน