ชาวประมงแม่น้ำโขง เดือดร้อนหนัก หลังจีนระเบิดหิน

ชาวประมงแม่น้ำโขง เดือดร้อนหนัก หลังจีนระเบิดหิน

ชาวประมงแม่น้ำโขง 3 อำเภอชายแดน เดือดร้อนหนักหลังจีนระเบิดหินในแม่น้ำโขง ปริมาณปลาลดลงกว่าร้อยละ 70 หวั่นสูญพันธ์ุ

ผู้สื่อขาวรายงานว่า  หลังจากที่ได้มีการระเบิดกลุ่มเกาะแก่งหินในแม่น้ำโขง เฟสแรกตั้งแต่ท่าเรือ ซือเหมา มลฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้ มาจนถึงสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งทำให้กลุ่มนักอนุรักษ์ เป็นห่วงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลต่อหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะพันธ์ปลาในแม่โขงที่จะหายไป ทำให้อาชีพประมงซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวริมฝั่งโขง ต้องได้รับความเดือดร้อนจนางรายคต้องเลิกและหันไปทำอาชพอื่น

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว นักอนุรักษ์ธรรมชาติ และวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า การระเบิดหินในแม่น้ำโขง ในประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเริ่มจากสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ ไปจนถึง อ.เวียงแก่นนั้นจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ไม่เพียงแต่ในประทศไทยเท่านั้น แต่จะกระทบทั้ง ฝั่งโขง ซึ่งจะกระทบต่อวิถีชิวิตของชาวบ้านทั้ง ไทย และสปป.ลาวที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรง ซึ่งแม่น้ำโขงมีกระแสน้ำที่แรงอยู่แล้วในปัจจุบันแก่งหินในแม่น้ำโขงเป็นเขื่อนตามธรรมชาติ ที่ช่วยชลอความรุนแรงของกระแสน้ำ และยังเป็นที่อาศัยของปลาชนิดต่างๆในแม่น้ำโขง แต่หากเอาหินในแม่นำโขงออกไป ผลกระทบอันดับแรกเลยก็คือพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงที่จะหายไป เพราะแหล่งอาหารของปลาชนิดต่างๆ ก็จะหายไป เมื่อไม่มีอาหารปลาก็ย้ายถิ่นฐานและจะหายไปในที่สุด

ด้านนายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า การได้ระบผลกระทบของการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างที่ดำเนินการ และหลังจากที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ซึ่งการดำเนินโครงการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงได้เริ่มโครงการเฟสแรกตั้งแต่ ปี 2544 - 2546 โดยเริ่มตั้งแต่ ท่าเรือซือเหมา มลฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้มาจนถึงสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งได้ดำเนินการระเบิดเกาะแก่งออกจำนวน 20 จุด ซึ่งหลังจากที่ได้มีการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงในเฟสแรกแล้วพบว่ามีผลกระทบต่อระบบนเวศในแม่น้ำโขงอย่างชัดเจน เช่นการลดจำนวนลงของปลาในแม่น้ำโขง กระแสน้ำที่รุนแรงชึ้น ผลกระทบต่อตลิ่ง ริมฝั่งแม่น้ำโขง และอาจจะทำให้เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาว ที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นเขตแดน เปลี่ยนไป

สำหรับเฟส 2ที่กำลังจะมีการดำเนินการนั้นมีทั้งหมด 51 จุด โดยอยู่ในประเทศไทย 8 จุด คือ เชียงแสน 2 จุด เชียงของ 4 จุด และเวียงแก่น 2 จุด ซึ่ง 8 กลุ่มเกาะแก่งดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ 94 กิโลเมตร ผลกระทบในช่วงที่ดำเนินการระเบิดเกาะแกงในแม่น้ำโขง จะเริ่มมีผลกระทบต่อทัรพยากรทางธรรมชาติ ทั้งพันธ์ปลา พืชแม่น้ำโขงเมื่อดำเนินการระเบิดแล้วเสร็จก็จะมีการปรับปรุงตลิ่ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง โดยแปลงสภาพให้มีสภาพเหมือนกับคลองชลประทาน ซึ่งส่งผลประทบต่อหาดดอนที่อยู่ริม 2 แม่น้ำโขง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อนก 17 สายพันธ์และกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนริมฝั่งโขง ทั้งการหาปลาไม่สามารถวางข่ายได้ เนื่องจากกฎในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนไปเพื่ออำนวยความมสะดวกให้กับเรือสินค้า และกระทบต่อเรือขนาดเล็กที่ไม่สามารถแล่นได้เพราะกระแสนน้ำที่แรงขึ้น ประกอบกับเรือสินค้าที่มีขนาดใหย๋แล่นอยู่ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ ทำให้เกิดอันตรายต่อการเดินเรือ

นายประชิด จันทร์เพ็ง ผู้ประกอบการเพาะพันธ์ปลาแม่น้ำโขง กล่าวว่า หลังจากที่มได้มีการก่อสร้งเขือ่นจิ่งหงในประเทศจีน และมีการระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขงตั้งแต่ ท่าเรือซือเหมา ในมลฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้ จนถึงบริเวณ สามเหลี่ยมทองคำ ชายแดน ไทย เมียนมาร์ ลาว ทำให้เกิดผลกระทบต่อการประมงของชาวประมงริมแม่น้ำโขง ซึ่งพบว่าปลาในแม่น้ำโขงได้หายไปหลายสายพันธ์ เช่นปลาบอก ปลาเพียง ที่หายไปประมาณ 3 ปีแล้ว

นอกจากนี้พบว่าปริมาณของปลาในแม่น้ำโขงลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากก่อนที่ล่องเรือวางข่ายดักปลา 1 รอบจะได้ปลาประมาณ 10 กิโลกรัม แต่ปัจจุบัน วางข่ายล่องเรือทั้งวันได้ปลาเพียง1-2 กิโลกรัมเท่านั้น เห็นได้ชัดเจนว่าปริมาณของปลาในแม่้น้ำโขงลดลงถึง 70 เปอร์เซนต์ และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงริมฝั่งแม่น้ำโขงอย่างชัดเจนจากเดิมที่เป็นอาชขีพหลักสร้างรายได้ให้ครอบครัวส่งลูกหลานเรียนหนังสือจนจบชั้นสูงๆ แต่ปัจจุบันไม่สามารถจะหาเลี้ยงชีพได้ ออกหาปลาแต่ละครั้งแทบจะไม่พอกับค่าน้ำมันที่ได้ลงทุนไป ทำให้ชาวประมงบางรายหันไปรับจ้านายทุนปลูกไร่ทำสวน แทน แต่ด้วยความไม่ชำนาญก็ทำให้ไม่ได้ผลผลิตที่ดีพอ และราคาก็ไม่ได้สูงนัก ส่งผลให้เกิดหนี้สินตามมาจึงทำให้ได้รับความเดือดร้อนต่อการดำเนินชีวิต

 “ตอนนี้กลุ่มชาวประมงแม่น้ำโขงเองก็ได้รับควมเดือดร้อนอย่างหนักต่อปริมาณปลาที่ลดลง ในอนาคตหากจะมีการระเบิดแก่งหินอีกในแม่น้ำโขงในเขตชายแดน ไทย-ลาว ก็คงไม่เหลือพันธ์ปลาอีก เพราะทราบว่าจะทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นเหมือนคลองชลประทาน ซึ่งมีตลิ่งเป็นคอนกรีต แน่นอนว่าปลาที่เคยอยู่ก็จะต้องอพยพไปอยู่ในที่ที่มีอาหารสมบูรณ์และมีที่หลบซ่อนได้ ในอนาคตหากมีการดำเนินการระเบิดหินและขุดลอกแม่น้ำโขง ก็คงกลายเป็นคอลงชลประทานขนาดใหญ่ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติและไม่หลงเหลือพันธ์ปลาอีกต่อไป” ผู้ประกอบการเพาะพันธ์ปลาแม่น้ำโขง "กล่าว