KBANK - ถือ

KBANK - ถือ

คาดกำไรครึ่งแรก ถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญฯที่มากขึ้น

ประเด็นการลงทุน

เมื่อวานนี้เราได้เข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์ของ KBANK โดยมี ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการ โดยผู้บริหารได้กล่าวถึงแนวโน้มการดำเนินงานธนาคาร 2560 ซึ่งคาดว่าจะกลับมาสู่ภาวะการฟื้นตัวอย่างช้าๆตามการคาดการณ์ของธนาคารปี 2560 โดยแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จะปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาส 3/59 และจะลดลงที่ 3.3-3.4% ณ สิ้นปี 2560 เนื่องจากการสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ (credit cost) ที่สูงที่ 200-225bps ในปีนี้ โดยเราคาดว่า KBANK จะมุ่งเน้นไปยังการปรับโครงสร้างหนี้เสียเนื่องทำให้ KBANK มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่สูงในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ก่อนที่จะเข้าสู่โหมดการเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 หากภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เรายังคงรอผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 ก่อนที่จะปรับประมาณการกำไรและเปลี่ยนคำแนะนำ ดังนั้นเรายังคงคำแนะนำ “ ถือ” สำหรับ KBANK

นโยบายมุ่งเน้นคุณภาพสินทรัพย์ = การเติบโของกำไรเพียงเล็กน้อย

KBANK มองว่าสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แตะจุดสูงสุดที่ 3.4% ในไตรมาส 3/59 และจะลดลงอยู่ในช่วง 3.3-3.4% ในปี 2560 จากการปรับโครงสร้างหนี้เสียที่ (TDR) ทั้งนี้ยอดการปรับโครงสร้างหนี้เสียจะอยู่ประมาณ 1.62 แสนล้านบาท หรือ 9.5% ของสินเชื่อโดยรวม ณ สิ้นปี 2559 โดยมีอัตราการล้มเหลวการปรับโครงสร้าง 20% โดยผู้บริหารคาดว่ายอดหนี้ปรับโครงสร้างจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% ของสินเชื่อณ สิ้นปี 2560 นั่นหมายความว่า KBANK อาจจะตั้งค่าสำรองฯที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นจากปีที่แล้วเพื่อควบคุมสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในช่วง 3.3-3.4% ในปีนี้ เราคาดว่าการสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ (credit cost) จะอยู่ที่ 2.1% จากสินเชื่อโดยรวมที่ 3.6 หมื่นล้านบาทในปี 2560 เทียบกับเป้าหมายของธนาคารปี 2560 ที่ช่วง 2.0-2.3%เราคาดว่าแนวโน้มกำไรในช่วงครึ่งแรกของปี 2560จะใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาก่อนที่จะเริ่มการเติบโตอย่างช้าๆในช่วงครึ่งหลังปี 2560 เมื่อภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเต็มที่

ธนาคารคงเป้าการเติบโตของสินเชื่อ 4-6% แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในภาวะกดดัน

เราเชื่อว่า KBANK จะทำยอดสินเชื่อเติบโตที่ 4-6% ปี 2560 ตามเป้าหมายได้ หลักๆมาจากสินเชื่อบรรษัทและสินเชื่อรายย่อย โดยธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อ SME และบรรษัทเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4-6% เท่ากัน ขณะที่สินเชื่อรายย่อยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 5-7% ทั้งนี้ผู้บริหารคาดว่าเป้าหมายส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 3.3-3.5% (จาก 3.5% ในปี 2559) ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน เนื่องจากขั้นตอนการปรับโครงสร้างหนี้เสียและอัตราล้มเหลวในการปรับโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นหากภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจช้ากว่าที่คาดการณ์ ส่วนเราประเมินสินเชื่อปีนี้เติบโต 7% ด้วยสันนิษฐานส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.48% ซึ่งมากกว่าตัวเลขของธนาคาร เรายังคงเห็นความเสี่ยงในการการปรับลดการเติบโตของการปล่อยสินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลง ถ้าหากเศรษฐกิจปี 2560 แย่กว่าที่เราประมาณการ


....การควบคุมค่าใช้จ่ายในปี 2560 = โหมดระมัดระวัง

เราเชื่อว่า KBANK จะมุ่งเน้นไปยังมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายโดยการจัดสรรสินทรัพย์ถาวร, การควบรวมเครือข่ายสาขา, การบริหารทรัพยาการมนุษย์ และกลยุทธ์ด้านการตลาด เราเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยหักลบการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯปีนี้ และการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่ต่ำในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 โดยธนาคารคาดว่าการเติบโตของรายได้ที่ใช่ดอกเบี้ยจะเป็นเพียงแค่ 5% ในปี 2560 ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาดการณ์เล้กน้อยที่ 7.5%

คาดกำไรเพิ่มเล็กน้อยครึ่งแรก 2560 และกำไรเติบโตในระดับปานกลางครึ่งหลังของปี

เราคาด KBANK จะรายงานกำไรเติบโตเล้กน้อย YoYในช่วงครึ่งแรกของปี 2560ก่อนจะเติบโตในปานกลางในช่วงครึ่งปีหลัง จากสินเชื่อที่เติบโตดีขึ้นและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ ที่ลดลงจากในช่วงครึ่งแรกปี 2560 ธนาคารจะกระจายการบริการในกลุ่ม AEC+3 และฟินเทค (หรือเรียกว่า KBTG) เพื่อสร้างฐานการเติบโตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระยะยาว โดยการบริการดังกล่าวจะเป็นตัวขีบเคลื่อนการเติบโตในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ดังนั้นการลงทุนในต่างประเทศและระบบไอทีใหม่จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทัง้นี้เราคาดว่าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับปี 2560 จะเพิ่มขึ้นจาก 43% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 44% ในปี 2560 และ 47% ในปี 2561