ยังไม่ผ่าน 1500 จุด

ยังไม่ผ่าน 1500 จุด

สรุปสภาวะตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ( 20ต.ค. – 26 ต.ค. 2559)

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯแกว่งตัวในกรอบแคบ DJIA -0.02%, DAX +0.60%, CAC ฝรั่งเศส +0.32% และ FTSE -0.91% เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนในประเด็นเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศ สหรัฐฯ และรอทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น สหรัฐฯ และอังกฤษ

สรุปสภาวะตลาดหุ้นจีน ( 20ต.ค. – 26 ต.ค. 2559)

ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น 1.02% ภายหลังจากตัวเลข GDP ของจีนเติบโตตามตลาดคาดการณ์ไว้ แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า GDP จีนเติบโตจากภายในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเชื่อมั่นในการลงทุนสูงขึ้น อย่างไรก็ตามหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลง เนื่องจากราคาน้ำมัน NYMEX หลุด US$50 /barrel

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 20ต.ค. – 27 ต.ค. 2559)

SET INDEX ปรับตัวลดลง ณ ที่ระดับ 1498.15 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.87 จุด 0.80% ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายที่บางเบาเนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนในประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น สหรัฐฯ และอังกฤษ

สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (28 ต.ค. – 3 พ.ย.)

ทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า ประเมินกรอบแกว่งระหว่าง 1,480-1,520 จุด ใกล้เคียงกับในสัปดาห์นี้ เพียงแต่มูลค่าการซื้อขายคาดว่าจะกลับมาเบาบางเฉลี่ย 4.5 หมื่นล้านบาท/วัน +/- หลัง SET INDEX ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดรอบนี้บริเวณ 1,350 จุด ราว 10% นับตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. เป็นต้นมา อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างรอดูผลการดำเนินงาน 3Q59 ที่ทยอยประกาศอยู่ในเวลานี้ว่าจะเป็นอย่างไร มีโอกาสถูกปรับประมาณการขึ้นหรือไม่ เพราะ ณ ปัจจุบันบริเวณ 1,490-1,500 จุด คิดเป็น PER17 ราว 14x ใกล้เคียงกับระดับค่าเฉลี่ย +1SD ของ 1Yr Forward PER ตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 14x เช่นกัน ทำให้เกิด Sector Rotation ตั้งแต่สัปดาห์นี้ ต่อเนื่องถึงสัปดาห์หน้า กลุ่มที่รายงานงบออกไปเรียบร้อยแล้วก็จะเกิดแรงขายสะท้อนงบ และหมุนไปยังหุ้นที่ยังไม่ประกาศแต่แนวโน้มผลการดำเนินงานจะออกมาเด่น

สำหรับปัจจัยเด่นในสัปดาห์หน้า นอกเหนือจากการทยอยประกาศงบการเงินแล้ว การประชุมเฟดในวันที่ 3 พ.ย. เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ตลาดจับตาดูเช่นกัน แม้ว่าตลาดจะฟันธงไปแล้วว่าเฟดจะพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนัดสุดท้ายของปีนี้เดือนธ.ค.ก็ตาม แต่มุมมองของเฟดต่อเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม

กลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำให้ กลับมาเน้น “เก็งกำไร” รอบสั้นกับหุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีประเด็นเชิงบวกเฉพาะตัว หรือผลการดำเนินงานใน 3Q59 จะออกมาเติบโตเด่น yoy และ/หรือ qoq ขณะที่หุ้นหลัก Big Cap จะเข้าสู่ช่วงพักฐาน เหมาะกับการทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะ 6 เดือนข้างหน้า

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า

1. ติดตามรายงานเศรษฐกิจเดือนก.ย.ของธปท. วันที่ 31 ต.ค. ให้น้ำหนักกับกำลังซื้อภายในประเทศฟื้นตัวได้ต่อเนื่องหรือไม่

2. ติดตามการประชุม BoJ วันที่ 1 พ.ย. ประเด็นที่ต้องติดตามคือ รายละเอียดการบริหาร Yield Curve ที่ BoJ ประกาศไปก่อนหน้านี้ เพราะเป็นสิ่งที่ตลาดยังไม่เข้าใจถึงแนวทางดังกล่าว และจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น

3. ติดตามการประชุม BoE วันที่ 3 พ.ย. ตลาดประเมินว่า BoE จะยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในช่วงนี้ จนกว่าจะเห็นแนวทางการเจรจาของรัฐบาลอังกฤษต่อกรณี Brexit ที่จะ
เริ่มขั้นตอนอย่างเป็นทางการภายในเดือนมี.ค. 2560

4. ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต – บริการ ของจีน / ผลผลิตภาคอุตฯ ของญี่ปุ่น / ดัชนี PMI ภาคการผลิต – บริการ ของสหรัฐฯ / ดัชนี PMI ภาคการผลิต – บริการ และอัตราการว่างงานของอียู