Daily Market Outlook (27 ต.ค.59)

Daily Market Outlook (27 ต.ค.59)

ตลาดผันผวนจากผลประกอบการบจ.สหรัฐและหลายเหตุการณ์สำคัญข้างหน้า

คาดหุ้นไทยวันนี้ไม่ไปไหนไกลในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคจากผลประกอบการบจ.สหรัฐที่มีทั้งดีและไม่ดี แม้ว่าโดยรวมแล้วกำไรในไตรมาส 3/59 ของบจ.ใน S&P 500 ดีกว่าคาดและดีขึ้นเรื่อยๆ ราคาน้ำมันร่วงต่อจากความไม่แน่ใจว่าผู้ผลิตน้ำมันจะร่วมมือกันลดการผลิตในเดือน พ.ย.ได้ ตัวเลขและเหตุการณ์สำคัญเบื้องหน้าที่ทำให้ตลาดยังคงผันผวนคือตัวเลข GDP สหรัฐที่จะประกาศพรุ่งนี้ การประชุม Fed สัปดาห์หน้า และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ภายในประเทศ ตัวเลขส่งออกโตเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือน ก.ย. เป็นปัจจัยบวกอย่างมาก ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เดือน ส.ค. ที่ 42.6% บ่งชี้ว่ารัฐบาลยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังได้อีกมาก


หุ้นเด่นวันนี้: TTCL (ราคาปิด 23.20 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมายปี 60 ของ AWS 28.50 บาท)

TTCL วางกลยุทธ์ในการมุ่งไปสู่การขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน บริษัทยังคงมีความเชี่ยวชาญด้านงานรับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร (EPC) ในธุรกิจปิโตรเคมี และปิโตรเลียม เราคาดว่าไตรมาส 3/59 นี้ TTCL จะพลิกมามีกำไรราว 150 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 34% YoYและ 57% QoQจากการฟื้นตัวของทั้งธุรกิจรับเหมา EPC และธุรกิจโรงไฟฟ้า 120เมกะวัตต์ ในเมียนมาร์ซึ่งแก้ปัญหาด้านเครื่องจักรแล้วเสร็จตั้งแต่ปลาย มิ.ย.59 TTCL เข้าสู่ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มประเทศญี่ปุ่น ลงทุน 25 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 3,000 ล้านบาทภายใต้สัญญาสัมปทาน 20 ปี นอกจากนี้ TTCL เพาเวอร์โฮลดิ้ง (TTPHD) ซึ่งถือหุ้น 70% โดย TTCL วางแผนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ซึ่งหมายถึง TTCL มุ่งมั่นที่จะผลักดัน TTPHD ในการดำเนินธุรกิจและการแสวงหาเงินทุนในตลาดโลกไม่เพียงแต่ในประเทศโรงไฟฟ้าถ่านหินประเภท Ultra Super Critical Coal(USCC) ขนาด 1,280 เมกะวัตต์ ในเมียนมาร์ เผชิญกับปัญหาการเริ่มโครงการล่าช้า เนื่องจากรอการอนุมัติ PPA ของรัฐบาลเมียนมาร์ คาดว่าจะทราบผลในสิ้นปี 2559 นี้ และการก่อสร้างคาดว่าเริ่มได้ราวไตรมาส 2/60 เมื่อเริ่มเดินหน้าโรงไฟฟ้านี้ได้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับ TTCL เราให้ราคาเป้าหมายในปี 2560เท่ากับ28.50 บาทซึ่งได้มาจากวิธี sum-of-the-parts (SOTP) ยังไม่รวมโรงไฟฟ้า 1,280 เมกะวัตต์ราคาหุ้นปัจจุบันยังมีอัพไซด์ 23% เราคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2559 เติบโต 34% และปี 2560 เติบโตอีก 8% เราเชื่อว่าธุรกิจของ TTCL ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว คาดว่าธุรกิจ EPC จะฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากที่ลูกค้ากลุ่มปิโตรเคมีทั้งในและต่างประเทศ กลับมาใช้จ่ายเงินลงทุนหลังจากชะลอตัวไปในช่วงปี 2558 มุมมองทางเทคนิค Price Pattern ของ TTCL มีความแข็งแกร่งทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง จากการเกิดทั้ง Daily & Weekly Buy Signal โดยหาก Price Pattern ของ TTCL สามารถปิดตลาดรายเดือนได้เหนือ 24.80 บาท ก็จะกลับมาเกิด Monthly Buy Signal ครั้งใหม่ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแนวโน้มหลักจากแนวโน้มขาลงไปสู่แนวโน้มขาขึ้น โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 24.30 บาท และมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 30.25 บาท มีจุด Stop Loss ระยะสั้นของรอบนี้อยู่ที่ 18 บาท (Resistance: 23.30, 23.80, 24.40; Support: 22.80, 22.30, 21.70)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• ส่งออกเดือนก.ย. โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองกระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือน ก.ย. 59 โดยการส่งออกมีมูลค่า 19,460 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.4% YoYโดยมาจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตร ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,914 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 5.6%
YoY ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ก.ย.59 เกินดุล 2,546 ล้านดอลลาร์ฯ สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้นและมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนสุดท้าย (Bangkok Post/The Nation)

• คลังประเมินหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับที่บริหารจัดการได้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้างสิ้นสุดเดือน ส.ค. 59 จำนวน 5.95 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 42.6% ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเมื่อเดือน ก.ค. ก่อนหน้าที่ 5.96 ล้านล้านบาท (42.9% ของ GDP) ทั้งนี้อัตราส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่แข็งแรง และต่ำกว่าเพดานที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ภายใต้กรอบความยั่งยืนที่ 60% และเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้จนถึงในปีสูงสุดในปี 2562 ที่จะขึ้นไปถึงระดับ 53% ซึ่งจะมาจากการลงทุนก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจคของภาครัฐ (Bangkok Post)

• SCC(506.00 บ. ซื้อ ราคาเป้าหมาย AWS 638.00 บ.) รายงานกำไรสุทธิงวด 3Q59 ในระดับสูงอยู่ที่ 1.41 หมื่นลบ. (-12% QoQ, +57% YoY) สูงกว่าที่เราและตลาด (Bloomberg consensus) คาดไว้เล็กน้อยว่าจะอยู่ที่ 1.30 หมื่นลบ. และ 1.32 หมื่นลบ. ตามลำดับ โดยความแตกต่างมาจากผลของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีจำนวน 1.8 พันลบ. ขณะที่รายการอื่นๆ เป็นไปตามคาด (SET/ Bloomberg) ความเห็น: เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิ ราคาเป้าหมาย รวมถึงคำแนะนำ ซื้อ ไว้เช่นเดิม โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงานฉบับเต็มวันนี้

• BDMS(21.60 บ. ซื้อ ราคาเป้าหมาย AWS 32.00 บ.) แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติให้บริษัทย่อย เปาโลเมดิค จำกัด เข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท เมโยโพลีคลินิค จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลเมโย โดยคิดเป็นมูลค่าดีลทั้งสิ้นไม่เกิน 1.4 พันลบ. และคาดว่าจะทำรายการแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค. 60 (SET) ความเห็น: ถือเป็นไปตามแผนของ BDMS ที่จะขยายเครือข่ายตามเป้าหมายที่ 50 โรงพยาบาลภายในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า โดยการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลขึ้นเป็น 44 แห่ง จากเดิม 43 แห่ง เบื้องต้นเรายังคงประมาณการไว้เช่นเดิมที่มองว่ากำไรปกติจะสามารถเติบโตได้ 15.9% และ 6.5% ในปีนี้และปีหน้าตามลำดับ

ต่างประเทศ

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลงเมื่อวันพุธ ตามตลาดยุโรปและอังกฤษ ซึ่งโดยปกติการซื้อขายจะเงียบก่อนการประมูลพันธบัตรและตัวเลข GDP สหรัฐที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 0.085% อัตราผลตอบแทนส่วนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.156% ราคาพันธบัตรในยุโรปได้รับแรงกดดันจากปริมาณพันธบัตรในการประมูลที่อิตาลี เยอรมนี และโปรตุเกส (Reuters)

• ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ เมื่อวันพุธ สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของเฟดและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ หลังจากที่ใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ล่าสุดปิดลดลง 0.09% อยู่ที่ระดับ 98.634 หลังจากแตะที่ระดับ 99.119 เมื่อวันอังคารซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่วันที่ 1 ก.พ. ดัชนีดังกล่าวได้ปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนนี้ ทำให้เป็นเดือนที่ดีที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดผสมผสานเมื่อวันพุธ โดยได้แรงหนุนจากหุ้นโบอิ้งช่วยให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก แต่หุ้นแอปเปิล ยังคงกดดันดัชนี Nasdaqและ S&P500 บริษัทโบอิ้งซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดของโลก รายงานกำไรรายไตรมาสที่เพิ่มขึ้นแม้จะมียอดขายที่ลดลง ส่วนบริษัทแอปเปิล ได้รายงานยอดขายไอโฟนลดลงติดต่อกัน 3 ไตรมาส รายงานกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนมีผลอย่างมากต่อตลาดหุ้นสหรัฐในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 8 พ.ย. และการประชุมนโยบายเฟดในสัปดาห์หน้าได้เพิ่มความผันผวนให้ตลาด (Reuters)

• กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนใน S&P500 ที่ประกาศในช่วงที่ผ่านมาเป็นอัพไซด์ โดยประมาณการอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2.2% จากที่ประมาณการว่าจะลดลง 0.5% เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ และเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อวันอังคาร ทั้งนี้ จากบริษัทที่ได้รายงานผลประกอบการ มี 74% ที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งมากกว่า 70% ของบริษัทที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าที่คาดการณ์ในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา จากข้อมูลของ Thomson Reuters I/B/E/S (Reuters)

• นักวิเคราะห์ประมาณการ GDP สหรัฐไตรมาส 3/59 จะขยายตัว 2.5% รัฐบาลสหรัฐจะประกาศประมาณการ GDP ไตรมาส 3/59 ในวันศุกร์นี้ จากผลสำรวจนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์ส GDP สหรัฐคาดว่าจะขยายตัวในอัตรา 2.5% ในไตรมาส 3/59 ขยายตัวเร็วขึ้นกว่าในไตรมาส 2/59 ซึ่งขยายตัวลดลงอยู่ที่ 1.4% (Reuters)

• ภาคบริการสหรัฐขยายตัวมากที่สุดในช่วง 12 เดือน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อเบื้องต้นของภาคบริการสหรัฐจากมาร์กิต อยู่ที่ 54.8 ในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นจาก 52.3 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นสัญญาณการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของผลผลิตภาคบริการในเดือนต.ค. ตัวเลขล่าสุดนี้เป็นตัวเลขสูงสุดนับแต่เดือนพ.ย. 58 และตรงข้ามกับรูปแบบการเติบโตที่ลดลงในช่วงไตรมาส 3/59 (ดัชนีฯ อยู่ที่ 51.5 โดยเฉลี่ย) (Reuters)

• สหรัฐฯ เผยยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นผิดคาดในเดือนก.ย. สะท้อนถึงภาวะความต้องการที่ยังยืนตัวได้อยู่ แม้ว่าตัวเลขในเดือน ส.ค. จะถูกปรับลดลงก็ตาม โดยยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 3.1% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 593,000 ยูนิต ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดก่อนหน้านี้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ทางกระทรวงยังได้ปรับลดตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ในเดือนส.ค. สู่ระดับ 575,000 ยูนิต จากเดิมที่ระดับ 609,000 ยูนิต (Reuters)

ยุโรป:

• ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันพุธอ่อนตัวลงเนื่องจากนักลงทุนย่อยข่าวการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยกำไรของบริษัท Novozymesที่ประกาศออกมาน้อยกว่าคาดได้ฉุดราคาหุ้นให้ปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบสองปี (Reuters)

• นักลงทุนไม่คาดหวังว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้อีก จากคำกล่าวของนาย Mario Draghiประธาน ECB ที่ตระหนักถึงการปรับเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมนับจากนี้ที่จะมีผลต่อภาคธนาคาร โดยจะไม่คงอัตราดอกเบี้ยในแดนลบไว้นานมากนัก นอกจากนี้ตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้นยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ปรับดอกเบี้ยขึ้น (Reuters)

เอเชีย:

• การเปลี่ยนแปลงนโยบายของญี่ปุ่น: ญี่ปุ่นควรพิจารณาการใช้จ่ายของภาครัฐมากขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากนโยบายการเงินโคอิจิฮามาดะที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ชินโซอะเบะกล่าวเพื่อชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เน้นไปหานโยบายการคลังจากนโยบายการเงิน(Reuters)

• หุ้นจีนปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์ในวันพุธที่ผ่านมา ผลจากความกังวลที่มีต่อสภาพคล่องตึงตัวมากขึ้นส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลัง ทำให้หุ้นทรัพยากรปรับตัวลง หักล้างความแข็งแกร่งในหุ้นที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และหุ้นอุปโภคบริโภค อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นเป็นสัญญาณของสภาพคล่องที่ตึงตัวมากขึ้น ถูกเชื่อมโยงไปที่ข่าวการพิจารณากฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในการออกผลิตภัณฑ์บริหารความมั่งคั่งของธนาคาร ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนสำหรับตลาดตราสารหนี้ (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• น้ำมันปรับตัวลดลงต่ำกว่า 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ในวันพุธที่ผ่านมา หลังเกิดความประหลาดใจในการลดลงของสินค้าคงเหลือน้ำมันดิบสหรัฐฯ และข้อสงสัยว่าโอเปกจะสามารถรวมตัวกันในหมู่สมาชิกและรัสเซียเพื่อจัดการตัดผลผลิตน้ำมันดิบ ในเดือนพฤศจิกายนลง หน่วยงาน EIA ของสหรัฐฯ รายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลง 553,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับระดับที่ Consensus คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล น้ำมันดิบเบรนท์ลดลง 86 เซนต์ (-1.7%) มาอยู่ที่ 49.93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มันลดลงต่ำถึง49.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล, ต่ำสุดนับตั้งแต่ 30 กันยายน โดยราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าสหรัฐฯ อยูที่ 49.18 เหรียญฯ ลดลง 78 เซนต์ (-1.56%) (Reuters)

• ราคาทองคำปรับตัวลดลงในวันพุธ ขณะที่นักลงทุนผู้ชอบสำหรับสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้นและน้ำมันดิบฟื้นตัวเล็กน้อย ดีมานด์ความต้องการทองคำแท่งมักจะถูกพิจารณาว่าเป็นที่หลบภัย ราคาทองคำสปอตปรับตัวลดลง 0.6% มาอยู่ที่ 1,265.75 เหรียญฯ ต่อออนซ์ ในช่วงชั่วโมงซื้อขายก่อนหน้านี้ขึ้นไปถึง 1,276.67 เหรียญฯ ต่อออนซ์ สูงสุดนับตั้งแต่ 5 ตุลาคม (Reuters)