SCB - ซื้อ

SCB - ซื้อ

คาดกำไรไตรมาส 3/59 ฟื้นตัวแข็งแกร่ง

ประเด็นการลงทุน

เราเชื่อว่า SCB จะประกาศการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งในครึ่งหลังของไตรมาส 2/59 และปีหน้า หนุนโดยการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่าน (transformation program), การบริหารคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นทำให้สามารถปรับลดตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ และ การเติบโตของสินเชื่อที่ดี (จากการเติบโตภายในและการซื้อกิจการ) โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทรงตัวที่ 3.3% ซึ่งจากภาพแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลัง 2559 ที่ยังคงดูดี และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเป็นไปในทางที่ดี ทั้งนี้เราเห็นแนวโน้มการปรับเพิ่มของอัพไซด์จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้นและรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นจากดีลของ IB ในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 และปี 2560 แต่ทั้งนี้เรายังคงคาดการณ์กำไรของเราในเชิงอนุรักษ์นิยมที่ 5.05 หมื่นล้านบาท ในปี 2559 (เพิ่มขึ้น 7%) และ 5.85 หมื่นล้านในปี 2560 (เพิ่มขึ้น 16%) จากการฟื้นตัวของกำไรที่แข็งแกร่งกอรปกับมูลค่าที่ถูก ด้วย PBV ปี 2560 ที่ระดับ 1.4 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยของธนาคารที่ 1.8 เท่า ดังนั้นเรายังคงแนะนำ “ซื้อ”

คาดกำไรโต 44% YoY ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯลดและ NIM เพิ่มขึ้น

เราคาดว่า SCB จะประกาศกำไรไตรมาส 3/59 ที่แข็งแกร่งที่ 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% YoY และ 1% QoQ ทั้งนี้การเติบโตของกำไรที่สูงมาจากการตั้งค่าสำรองหนี้สูญฯที่ปรับตัวลดลงและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น โดยเราคาดว่าทางธนาคารจะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯในไตรมาส 3/59 ที่ 4.5 พันล้าน ลดลง 72% YoY และ 47% QoQ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 3/59 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.30% เพิ่มขึ้น 20 bps YoY จากการบริหารต้นทุนทางการเงินที่ดี (สังเกตว่า SCB ตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญฯในไตรมาส 3/58 ที่ 1.1 หมื่นล้าน จากกรณีของบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี (SSI)) เราคาดว่าอัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จะอยู่ที่ 2.8% ในไตรมาส 3/59 ใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว ทังนี้เรามองว่าอัตราต้นทุนต่อรายได้ในไตรมาส 3/59 จะเพิ่มขึ้นเป็น 40.3% จาก38.4% ในช่วงเดียวกันกลับปีที่ผ่านมา และ 39.8% จากไตรมาสที่แล้ว

คาดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายปรับตัวดีขึ้นและแนวโน้มสำรองค่าเพื่อหนี้สูญฯลดลง

จากการที่สัดส่วนการปล่ยอสินเชื่อธุรกิจ SME ที่ต่ำกว่ากลุ่ม (อยู่เพียงแค่ 19% จากการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดเทียบกับระบะที่ 36%) เราเชื่อว่าธนาคารจะสามารถรักษาสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว (2.8%) จากการปรับโครงสร้างหนี้ที่รวดเร็ว การขายสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และการตัดจำหน่ายหนี้เสีย ในปัจจุบันเรามองว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะเปิดโอกาสให้ SCB ปรับลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดีกว่าช่วงครึ่งแรกของปี 2559 สังเกตว่าอัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/59 เพิ่มขึ้นเป็น 2.77% จากหนี้เสียของบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี (SSI) ทั้งนี้เรายังคงมองว่าธนาคารจะสามารถบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างดีและจะสามารถลดการตั้งค่าสำรองหนี้สูญในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 โดยเราคาดว่าธนาคารจะลดหนี้กาตั้งสำรองหนี้สูญฯถึง 17% อยุ่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท และลดอีก 15% เหลือ 2.1 หมื่นล้านบาทในปี 2560

อัพไซด์จากการเติบโตของสินเชื่อที่ดีและอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ดีกว่าคาด

ผู้บริหาร SCB เปิดเผยว่า ทางธนาคารคาดว่าเป้าสินเชื่อจะเติบโตที่ 4-6% (เติบโตที่ 1.5% YTD ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 หนุนโดยธุรกิจบรรษัทและธุรกิจรายย่อย) โดยคาดหมายว่าในครึ่งปีหลังทั้งสินเชื่อบรรษัทและสินเชื่อรายย่อยจะเติบโตได้ดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก จากการเริ่มฟื้นตัวของกำลังซื้อ, ดีลการควบรวมกิจการ (กลุ่มค้าปลีก), และโครงการสาธารณูปโภค ของรัฐบาลที่กำลังจะมาถึง โดยเรายังคงเป้าการเติบโตของสินเชื่อปี 2559 อย่างระมัดระวังที่ 3% และ ปี 2560 ที่ 4% อย่างไรก็ตามหากการเติบโตของสินเชื่อที่สูงขึ้นกว่าคาดส่งผลให้เกิดการอัพไซด์ทั้งในปีนี้และปีถัดไป นอกจากนี้ทางผู้บริหารยังกล่าวเพิ่มเติมถึงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารในการประชุมนักวิเคราะห์ครั้งที่แล้ว ว่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (หรืออยู่ที่ประมาณ 40% เทียบกับระบบที่ 45%) ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ SCB ประกาศอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพียง 37% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 เราคาดว่าทางธนาคารจะสามารถประกาศอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในปี 2559 ที่ 39% และ 40% ในปี 2560 หากธนาคารสามารถลดอัตราส่วนให้ลดลงดีต่ำกว่าเป้าเรา จะกลายเป็นการอัพไซด์ต่อกำไรของเราทั้งปีนี้และปีหน้า