เร่งร่างหลักเกณฑ์ Cash Rebate ทันใช้ปี 60

เร่งร่างหลักเกณฑ์ Cash Rebate ทันใช้ปี 60

บอร์ดภาพยนตร์ ไฟเขียว มาตรการส่งเสริมการถ่ายทำหนังต่างประเทศในประเทศไทยในรูปแบบของการคืนเงิน (Cash Rebate) เร่งมือกำหนดรายละเอียด ทันใช้ปี60

 พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 5/2559 ว่า ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยในรูปแบบของการคืนเงิน (Cash Rebate)หลัง จากเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2559 คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขสำหรับมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเรียบ ร้อยแล้วตาม ที่กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ล่าสุดกรมการท่องเที่ยวจัดประชุมคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์วิธีการฯ เพื่อจัดทำ (ร่าง) ประกาศหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขสำหรับมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่าง ประเทศในประเทศไทยและรายละเอียดแบบฟอร์มการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์จาก มาตรการดังกล่าวและวันที่ 6 ก.ย.นี้จะดำเนินการประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาเรื่องราคากลางของค่าใช้จ่าย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย

“ มาตรการ Cash Rebate นี้ จะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปีหน้า (2560) และเชื่อว่าในปีแรก มาตรการนื้จะดึงดูดภาพยนตร์ต่างชาติให้เข้ามาถ่ายทำในยประเทศมากขึ้น จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าเพิ่มประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท จากปัจจุบัน ซึ่งจะมีรายได้จากภาพยนตร์ต่างชาติเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญ จะเป็นทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศได้เรียนรู้ประสบการณ์ทำงานจากต่างชาติ ทั้งนี้ ในปีแระจะคืนเงินอยู่ที่ร้อยละ 15 ” รองนายกฯ กล่าว

พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว อีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมรายงานความคืบหน้าเพื่อทราบในการดำเนินการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาการแก้ไขปรับ ปรุงพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ เมื่อเร็วๆนี้ โดยมีสาระสำคัญที่จะแก้ไข อาทิ 1. เพิ่มคำว่าและวีดิทัศน์ในมาตราที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์” 2. เปลี่ยนผู้แทนคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยจากผู้แทนการท่อง เที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ 3. กฤษฎีกาขอให้พิจารณาการกำหนดบทบัญญัติเรื่องกองทุนฯ ให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และ4.ที่ ประชุมเห็นควรย้ายหมวดที่เกี่ยวข้องกับกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และ วีดิทัศน์ จากเดิมหมวด 6/1 ที่อยู่ในหมวดการอุทธรณ์เป็นหมวด 4/1 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมฯ ตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ นอกจากนั้น ที่ประชุมต้องการปรับแก้ให้ร่าง พ.ร.บ.ครอบคลุมสื่อประเภทออนไลน์ด้วย  

พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว ว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุญาตให้การจัดเทศกาลภาพยนตร์สวีเดน ประจำปี 2559 ตามที่สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย แจ้งขอนำภาพยนตร์ 7 เรื่องมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์สวีเดน วันที่ 7-11 ก.ย. ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร และอนุญาตให้จัดเทศกาลภาพยนตร์นิวซีแลนด์ ตามที่สถานทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย แจ้งขอนำภาพยนตร์ 3 เรื่องมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์นิวซีแลนด์ วันที่ 6-9 ต.ค. ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว ต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาภารกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทศกาล ภาพยนตร์ระหว่างประเทศตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2559 มติเห็นว่าภารกิจการพิจารณายกเว้นการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ไม่ต้องผ่านการตรวจ พิจารณาเป็นภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และมีมติให้จัดทำ (ร่าง) คำสั่งฯ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาพยนตร์ระหว่างประเทศ โดยมีรองปลัด วธ. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ ทั้งนี้ จากการประชุมหารือได้ข้อสรุป ดังนี้ 1. ภารกิจการตรวจพิจารณาและอนุญาตเผยแพร่ภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ เป็นภารกิจของวธ. รวม ถึงภารกิจการพิจารณายกเว้นการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ไม่ต้องผ่านการตรวจพิจารณา และได้รับอนุญาตตามมาตรา 27(4) ภาพยนตร์ที่ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศตามเทศกาลกำหนด ดังนั้นการพิจารณาการเผยแพร่ภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศ ของอนุกรรมการเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศ ถือเป็นภารกิจของ วธ. จากเดิมเป็นหน้าที่กรมการท่องเที่ยว