บริษัทเอเชียเผยธุรกิจดีขึ้นเหตุใช้ระบบไอทีแห่งอนาคต

บริษัทเอเชียเผยธุรกิจดีขึ้นเหตุใช้ระบบไอทีแห่งอนาคต

เดลล์ เผยผลศึกษาความเกี่ยวข้องอย่างระหว่างนวัตกรรมไอทีและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก

การศึกษาจัดทำขึ้นโดยบริษัทวิจัยไอดีซี มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 2,500 คน จาก 11 ประเทศทั่วโลก เน้นให้เห็นถึงการปรับปรุงธุรกิจที่วัดผลได้ 8 ประการ เป็นผลจากการนำระบบไอทีที่พร้อมรองรับอนาคตมาใช้ โดยติดตามผล 3 ปี ตั้งแต่ 2555-2558

การจัดอันดับของไอดีซี จัดให้ 16% ของบริษัททั้งหมด เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบัน ส่วนอีก 32% เป็นองค์กรที่ตระหนักถึงอนาคต โดย 1 ใน 3 ของกลุ่มนี้เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นที่อนาคต อีก 18% เป็นองค์กรผู้สร้างอนาคต โดยกลุ่มองค์กรผู้สร้างอนาคตเป็นองค์กรที่พร้อมรับอนาคตมากที่สุด และเป็นผู้นำการใช้แพลตฟอร์มที่ให้ความคล่องตัว รวมถึงบิ๊กดาต้า 

ส่วนองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบัน ถูกมองว่าเป็นองค์กรที่ยังคงมุ่งเน้นที่การใช้ระบบไอทีแบบดั้งเดิมหรือยังอยู่ในช่วงแรกของการเดินทางสู่เทคโนโลยี

“ดัชนีองค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่พร้อมรับอนาคตมากที่สุด สามารถนำระบบโครงสร้างแบบควบรวม คลาวด์ โซลูชันบิ๊กดาต้า และระบบวิเคราะห์ มาช่วยเพิ่มความคล่องตัว ขยายขีดความสามารถระบบงาน รวมถึงเรื่องสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจได้ประสบผลสำเร็จ" นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ เดลล์ คอร์ปอเรชัน (ประเทศไทย) และผู้จัดการทั่วไป เดลล์ อินโดจีนกล่าว

ตามเอกสารไวท์ เปเปอร์ ได้จับคู่ 4 ขั้นตอนในการเดินทางสู่ความพร้อมสำหรับอนาคต โดยเน้นให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า “องค์กรที่เป็นผู้สร้างอนาคต” ในเอเชียแปซิฟิก มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างเด่นชัด ขณะที่ “องค์กรที่เน้นเฉพาะปัจจุบัน” ค่อนข้างจะมีข้อได้เปรียบน้อยกว่า 

องค์กรธุรกิจที่ให้ความใส่ใจกับขั้นตอนของการเดินทางและนำวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้ในบริบทที่ตรงความต้องการเฉพาะสำหรับธุรกิจ ก็จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนด้านเทคโนโลยี

บิ๊กดาต้า สร้างข้อมูลธุรกิจเชิงลึก

องค์กรธุรกิจ ต้องมองเห็นความเป็นไปในธุรกิจได้อย่างทันท่วงทีในแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ผลสำเร็จทางธุรกิจ เนื่องจากปัจจุบันมีจุดทัชพอยต์หลากหลายมากขึ้นในการเข้าถึงลูกค้า อีกทั้งมีวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้องค์กรจำนวนมากมองหาโซลูชันที่จะมาช่วยเชื่อมโยงแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ รวมถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้องค์กรมีข้อมูลพร้อมใช้อยู่ใกล้เพียงปลายนิ้วมือในเวลาที่ต้องการ เพื่อใช้รองรับการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แต่เดิมโซลูชันที่ว่านี้ยังไม่มีในตลาด และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาช่วยวางแนวคิดพร้อมกับพัฒนาให้เป็นรูปร่างขึ้นมา

ดัชนีองค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต พบว่าองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบันไม่ได้มีกลยุทธ์ด้านบิ๊กดาต้าและการวิเคราะห์ (BDA) หรือมีแต่น้อยมาก และข้อมูลที่ได้จากบีดีเอก็แทบไม่ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น 

กลับกัน องค์กรผู้สร้างอนาคต ได้นำกลยุทธ์บีดีเอมาใช้ทั่วทั้งองค์กร นอกจากนี้ที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจก็สนใจอย่างจริงจังกับผลวิเคราะห์ที่ได้จากข้อมูลบิ๊กดาต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียแปซิฟิก 98% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจที่อยู่ในองค์กร “ผู้สร้างอนาคต” สามารถเข้าถึงบีดีเอ เวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญได้ทันที เมื่อเทียบกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 58% เท่านั้น

คลาวด์ ช่วยใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐาน

ไวท์ เปเปอร์ ยังพบว่าหน่วยงานด้านธุรกิจที่อยู่ในองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบัน ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ด้านไอทีบนคลาวด์ได้ แต่ใช้ซอฟต์แวร์เชิงการบริการ (SaaS) รวมถึงแพลตฟอร์มเชิงการบริการ (PaaS) และระบบโครงสร้างพื้นฐานเชิงการบริการ (IaaS) เป็นส่วนๆ แทน 

กลับกัน ผู้สร้างอนาคต สามารถเก็บรักษาแคตตาล็อก รวมถึงตรวจสอบ รักษาความปลอดภัยและควบคุมข้อมูลผ่านคลาวด์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นกว่า 50% ขององค์กร “ผู้สร้างอนาคต” แจ้งว่าการนำคลาวด์มาใช้ ช่วยให้วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในธุรกิจได้ และหลายองค์กรพบว่าใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

เหล่านี้ ช่วยให้ผู้ตอบแบบสอบถามหลายรายสามารถติดตามการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงานได้ นำไปสู่การเพิ่มผลิตผลทางธุรกิจและได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทั่วทั้งองค์กร

ตัวอย่างขององค์กร “ผู้สร้างอนาคต” ที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ เพื่อช่วยให้ใช้ทรัพยากรไอทีและข้อมูลได้อย่างเต็มประโยชน์ ก็คือโรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ ที่ให้บริการดูแลสุขภาพในประเทศไทย โดยมีเครือข่ายด้านการอำนวยความสะดวกและมีมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพจำนวน 3,000 คนไว้คอยให้บริการ

โครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม ช่วยใช้สินทรัพย์เต็มประสิทธิภาพ

ระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบผสมผสาน กลายเป็นสิ่งที่เพิ่มความซับซ้อนและนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูงขึ้น เสียเวลามากขึ้นในการบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบ อีกทั้งยังทำให้ส่งมอบการบริการได้ช้าลง และเมื่อองค์กรขยายใหญ่ขึ้น เทคโนโลยีใหม่มักจะทำงานไม่เข้าขากับระบบโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ใช้อยู่ ต้องอัพเกรดแบบรื้อถอนหรือเปลี่ยนใหม่ ทำให้ต้องเรียนรู้ระบบใหม่มากขึ้น และระบุช่วงเวลาคืนทุนที่แน่นอนไม่ได้

ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็น “ผู้สร้างอนาคต” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นให้เห็นถึงประโยชน์หลัก 4 ประการที่องค์กรได้รับจากการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์ คอนเวิร์จ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พนักงานไอทีทำงานได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น รวมถึงเรื่องของความคล่องตัวที่เพิ่มมากขึ้นและมีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานตามการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้

มุมมองเชิงลึกพัฒนาสู่ความพร้อม

ผลลัพธ์ที่ได้นั้นชัดเจน การนำเทคโนโลยีล้ำหน้าที่ให้ความพร้อมสำหรับอนาคตมาใช้ช่วยให้ได้รับประโยชน์ทางธุรกิจ แต่องค์กรที่วางโครงสร้างเพื่อให้พร้อมสำหรับอนาคตมากที่สุด ก็คือองค์กรที่เป็นผู้สร้างอนาคต ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากที่สุดเช่นกัน 

การนำเทคโนโลยีเช่น คลาวด์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม(Converged Infrastructure)และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่(BDA)มาใช้ ก็จะทำให้องค์กรทุกขนาดธุรกิจ เปลี่ยนไอทีให้กลายเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจได้ในเชิงรุก และได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น

เทคฯเปลี่ยนโฉมที่ทำงาน 

เดลล์ ยังเผยผลการศึกษาเรื่องคนทำงานแห่งอนาคต the Future Workforce Study ที่เดลล์และอินเทลร่วมสนับสนุนการจัดทำ 

ผลการศึกษาระบุว่าแนวโน้มเทคโนโลยีโลกกำลังเปลี่ยนโฉมสถานที่ทำงานสมัยใหม่ โดยแสดงให้เห็นว่าพนักงานหลายคนเชื่อว่าสถานที่ทำงานปัจจุบันใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีล่าสุดอย่างไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็คาดหวังให้พนักงานเหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลายคนมองว่าการทำงานจากนอกสถานที่ทำงานได้ เป็นการให้ประโยชน์ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิตและผลิตผลของงาน

เกือบครึ่งของพนักงานทั่วโลกเชื่อว่าสถานที่ทำงานในปัจจุบันยังไม่มีความสมาร์ทพอ ขณะที่อีก 42% ของพนักงานรุ่นใหม่ประสงค์จะออกจากงานหากเทคโนโลยีในออฟฟิศไม่ได้มาตรฐานตามที่คาดหวัง 

เครื่องมือที่ช่วยในการประสานการทำงานร่วมกัน เช่นCollaborative Toolsต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ให้นวัตกรรมใหม่เช่นIoTและเทคโนโลยีเสมือนจริงจำพวกVR (Virtual Reality)จะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสถานที่ทำงานในอนาคตอันใกล้

การศึกษาเรื่องนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นจากพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาเกือบ 4,000 คน จากองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ใน 10 ประเทศ โดยเผยว่ากว่าครึ่ง (57%) ของพนักงานทั้งหมดเชื่อว่าตัวเองจะได้ทำงานกับออฟฟิศที่มีความสมาร์ทภายใน 5 ปีข้างหน้า 

ขณะที่อีก 51% เชื่อว่าเทคโนโลยีที่ดีขึ้นจะทำให้การประชุมแบบที่ต้องมาพบปะเจอหน้ากลายเป็นเรื่องซ้ำซ้อนเกินความจำเป็นในอีก 5 ปีข้างหน้า

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ที่หลังไหลเข้ามามากมาย ส่งผลกระทบอย่างจริงจังต่อคนทำงาน เพราะทำให้พนักงานคาดหวังจากนายจ้าง ซึ่งสถานที่ทำงานที่ไม่ได้นำความล้ำหน้าเหล่านี้มาใช้จะกลายเป็นผู้ล้าหลัง 

“สถานที่ทำงานกำลังมาถึงจุดเปลี่ยน” คนทำงานในปัจจุบันมีความคาดหวังมากขึ้นว่านายจ้างจะนำเทคโนโลยีล่าสุดเหล่านี้มาผสานรวมเข้ากับชีวิตการทำงานของคนเหล่านี้ได้อย่างรื่นไหลและให้ความปลอดภัย” 

นายจ้างได้รับประสบการณ์ตรงโดยพบว่าเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้งานดีขึ้น พร้อมกับต้องการนำความก้าวหน้าใหม่ๆ เหล่านี้มาเพิ่มประสิทธิผลของงานยิ่งขึ้นไปอีก ในขณะที่เรื่องนี้อาจนับเป็นความกังวลใจอยู่บ้าง แต่ก็เป็นโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจในการที่จะทำให้บริษัทก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าในการเป็นสถานที่ทำงานแห่งอนาคตและสร้างคนทำงานแห่งอนาคตได้